การตรวจวัดระบบที่ใช้พลังงานความร้อน

1. หม้อไอน้ำ

ค่าที่จำเป็นต้องตรวจวัด ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนในก๊าซเสีย อุณหภูมิก๊าซเสีย  และค่าความร้อนของเชื้อเพลิงเพื่อใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ  และความร้อนสูญเสียจากการเผาไหม้ อุณหภูมิผิวของหม้อไอน้ำ อุณหภูมิแวดล้อม พื้นที่ผิว และค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) เพื่อวิเคราะห์ความร้อนสูญเสียทางผิวหนังหม้อไอน้ำ ตลอดจนอัตราการไหลและค่า TDS (Total dissolved solid) ของน้ำโบลว์ดาวน์และน้ำป้อนเพื่อใช้วิเคราะห์ความร้อนสูญเสียจากการโบลว์ดาวน์ นอกจากนี้ต้องสำรวจข้อมูลประกอบอื่นๆ  เช่น อัตราการใช้และอุณหภูมิของเชื้อเพลิง อัตราการผลิตไอน้ำ อุณหภูมิและความดันของไอน้ำที่ผลิต อุณหภูมิของน้ำป้อน อุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าห้องเผาไหม้ สภาพฉนวน ระยะเวลาการใช้งาน ฯลฯ

เครื่องมือวัดที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ เครื่องวิเคราะห์สภาพน้ำ เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ และเครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส

  • ระบบ
  • หม้อไอน้ำ
  • ค่าที่ตรวจวัด
  • • ปริมาณออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ และอุณหภูมิของก๊าซเสีย
  • • อุณหภูมิผิวผนังหม้อไอน้ำ อุณหภูมิแวดล้อม และพื้นที่ผิว
  • • อัตราการผลิต อุณหภูมิ และความดันของไอน้ำ
  • • อัตราการใช้ และอุณหภูมิเชื้อเพลิง
  • • อัตราการไหล และอุณหภูมิของน้ำป้อน
  • • อัตราการไหล และอุณหภูมิของอากาศป้อน
  • • อัตราการโบลว์ดาวน์
  • • ค่า TDS ของน้ำโบลว์ดาวน์และน้ำป้อน
  • • อุณหภูมิแวดล้อม
  • เครื่องมือ
  • • เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้
  • • เครื่องวิเคราะห์สภาพน้ำ
  • • เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
  • • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส

รูปแสดงตำแหน่งการตรวจวัดหม้อน้ำ

2. หม้อน้ำมันร้อน

ค่าที่จำเป็นต้องตรวจวัด ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนในก๊าซเสีย การทดสอบและวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ ตรวจสอบระบบควบคุม อุณหภูมิก๊าซไอเสียและค่าความร้อนของเชื้อเพลิงเพื่อใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของหม้อน้ำมันร้อนและความร้อนสูญเสียจากการเผาไหม้ สภาพห้องเผาไหม้และอุปกรณ์ อุณหภูมิผิวของหม้อน้ำมันร้อน อุณหภูมิสภาพแวดล้อม พื้นที่ผิว และค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) เพื่อวิเคราะห์ความร้อนสูญเสียทางผิวหนังหม้อน้ำมันร้อน นอกจากนี้ต้องสำรวจข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น อัตราการใช้และอุณหภูมิของเชื้อเพลิง อัตราการผลิตน้ำมันร้อน อุณหภูมิของน้ำมันร้อน ตรวจสอบการหมุนเวียนของน้ำมันร้อน (Pressure difference controller) อุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าห้องเผาไหม้ สภาพฉนวน ระยะเวลาการใช้งาน ฯลฯ

เครื่องมือวัดที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ และเครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส

รูปหม้อน้ำมันร้อน

ตารางการตรวจวัดหม้อน้ำมันร้อน

  • ระบบ
  • หม้อไอน้ำ
  • ค่าที่ตรวจวัด
  • • ปริมาณออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ และอุณหภูมิของก๊าซเสีย
  • • อุณหภูมิผิวผนังหม้อน้ำมันร้อน อุณหภูมิแวดล้อม และพื้นที่ผิว
  • • อัตราการไหลน้ำมันร้อน อุณหภูมิน้ำมันร้อน
  • • อัตราการใช้ และอุณหภูมิเชื้อเพลิง
  • • อัตราการไหล และอุณหภูมิของอากาศป้อน
  • • อุณหภูมิแวดล้อม
  • เครื่องมือ
  • • เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้
  • • เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
  • • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส

3. ระบบส่งจ่ายไอน้ำ

ค่าที่จำเป็นต้องตรวจวัด ได้แก่ อุณหภูมิผิวและพื้นที่ผิวของท่อส่งจ่าย วาล์วและหน้าแปลน อุณหภูมิแวดล้อมและค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของพื้นผิว ตลอดจนสภาพของฉนวน ซึ่งค่าทั้งหมดจะใช้ในการประเมินความร้อนสูญเสียของระบบส่งจ่ายไอน้ำ

เครื่องมือตรวจวัดที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ และเครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส

รูปแสดงตำแหน่งการตรวจวัดระบบไอน้ำ

ตารางการตรวจวัดระบบส่งจ่ายระบบไอน้ำ

  • ระบบ
  • ระบบส่งจ่ายไอน้ำ
  • ค่าที่ตรวจวัด
  • • อุณหภูมิผิวและพื้นที่ของท่อวาล์ว และหน้าแปลน
  • • อุณหภูมิแวดล้อม
  • • ตรวจสอบการทำงานของสตีมแทรป
  • • การรั่วของไอน้ำ
  • • ปริมาณคอนเดนเสท
  • • ความดันไอน้ำ
  • เครื่องมือ
  • • เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
  • • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส
  • • เครื่องวัดการทำงานของสตีมแทรป

รูปแสดงตำแหน่งการตรวจวัดเตาอุตสาหกรรม

4. เตาอุตสาหกรรม

ค่าที่จำเป็นต้องตรวจวัด ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนในก๊าซเสีย อุณหภูมิก๊าซเสีย และค่าความร้อนของเชื้อเพลิงเพื่อใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของเตาและความร้อนสูญจากการเผาไหม้อุณหภูมิผิวของเตา อุณหภูมิแวดล้อม พื้นที่ผิว และค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) เพื่อวิเคราะห์ความร้อนสูญเสียทางผิวผนังเตา ตลอดจนอัตราการไหลและอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นเพื่อใช้วิเคราะห์ความร้อนสูญเสียไปกับน้ำหล่อเย็น อัตราการป้อนวัตถุดิบ อุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ อุณหภูมิของวัตถุดิบ ค่าความร้อนที่เกิดจากการ Oxidizingและ Scale เพื่อใช้วิเคราะห์ความร้อนที่เกิดจากวัตถุดิบนอกจากนี้ต้องสำรวจข้อมูลประกอบอื่นๆเช่น อัตราการใช้และอุณหภูมิของเชื้อเพลิง อัตราการผลิต อุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าห้องเผาไหม้ สภาพฉนวน ระยะเวลาการใช้งาน ฯลฯ

เครื่องมือตรวจวัดที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ และเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ Pyrometer

ตารางการตรวจวัดเตาอุตสาหกรรม

  • ระบบ
  • เตาอุตสาหกรรม
  • ค่าที่ตรวจวัด
  • • ปริมาณออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ และอุณหภูมิของก๊าซเสีย
    • อุณหภูมิผิวผนังเตา อุณหภูมิแวดล้อมและพื้นที่ผิว
    • อัตราการป้อนวัตถุดิบและอุณหภูมิของวัตถุดิบ
    • อัตราการผลิต และอุณหภูมิของวัตถุดิบ
    • อัตราการใช้และอุณหภูมิเชื้อเพลิง
    • อัตราการไหลและอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น
    • อัตราการไหลและอุณหภูมิของอากาศป้อน
  • เครื่องมือ
  • • เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้
    • เครื่องวัดอัตราการไหล
    • เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
    • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบ Pyrometer

Bibliography
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2555). บทที่ 4 การตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน. In คู่มือการอนุรักษ์พลังงานจากกรณีตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ (pp. 4-18 - 4-23).

ienergyguru.com

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *