โรงไฟฟ้าพลังน้ำลําตะคองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา

โรงไฟฟ้าพลังน้ำลําตะคองแบบสูบกลับ

จังหวัดนครราชสีมา

 

โรงไฟฟ้าพลังน้ำลําตะคองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา

Source : http://www.koratmuseum.com/
โรงไฟฟ้าพลังน้ำลําตะคองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา

 

โรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งเดียว และแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้อ่างเก็บน้ำที่เล็กที่สุด และอยู่บนยอดเขาใช้เทคโนโลยีทีทันสมัยในการก่อสร้าง สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2547

ความเป็นมา


โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นโรงไฟฟ้า ที่นําพลังงานไฟฟ้าส่วนที่เกินจากการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย คือช่วงหลังเที่ยงคืนจนถึงเช้ามาสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ําลําตะคองที่มีอยู่เดิมแล้ว ไปพักไว้ในอ่างพักน้ําที่สร้างขึ้นใหม่บนเขา แล้วปล่อยย้ำลงมาผ่านเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าให้เพียงพอและมั่นคงยิ่งขึ้น

ที่ตั้งและลักษณะโครงการ


ตั้งอยู่ระหว่างอําเภอสีคิ้ว และอําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 70 กิโลเมตร ลักษณะโครงการที่สําคัญประกอบด้วย โรงไฟฟ้าใต้ดิน อ่างพักน้ำบนเขา อ่างเก็บน้ำตอนล่าง (อ่างเก็บน้ําลําตะคองเดิม) อุโมงค์ส่งน้ำจากอ่างพักน้ำเข้าโรงไฟฟ้า อุโมงค์ท้ายน้ําจากโรงไฟฟ้าสู่อ่างเก็บน้ำตอนล่าง

สายส่งไฟฟ้าแรงสูง


การก่อสร้างโครงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1

อ่างพักน้ำบนเขา กฟผ. ดําเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ มีความจุทั้งหมด 10.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถใช้เดินเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทั้ง 4 เครื่อง ได้รวม 8 ชั่วโมง

  • โรงไฟฟ้าใต้ดิน อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 350 เมตร ติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟ้าพลังน้ําแบบสูบกลับ เครื่องที่ 1 และ 2 กําลังผลิตเครื่องละ 250 เมกะวัตต์ รวมกําลังผลิต 500 เมกะวัตต์
  • อุโมงค์ส่งน้ำเข้าโรงไฟฟ้า จํานวน 2 อุโมงค์ เชื่อมระหว่างอ่างพักน้ำบนเขา และโรงไฟฟ้าใต้ดิน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร ความยาวอุโมงค์ 651 เมตร
  • อุโมงค์ท้ายน้ำ จํานวน 2 อุโมงค์ เชื่อมระหว่างโรงไฟฟ้าใต้ดิน และอ่างเก็บน้ำตอนล่าง มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.80 เมตร ความยาวอุโมงค์ละ 1,430 เมตร
  • ลานไกไฟฟ์าและควบคุม ตั้งอยู่ระหว่างเขา ติดตั้งอุปกรณ์ลานไฟฟ้าชนิด GIS Indoor Type
  • สายส่งไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 230 เควี 4 วงจร ต่อเชื่อมกับสายส่งของสถานีไฟฟ้าแรงสูงสระบุรี 2 และสถานีไฟฟ้าแรงสูงนครราชสีมา 2 ที่มีอยู่เดิม ระยะทางที่ต้องเดิมสายเชื่อมโยงประมาณ 7.5 กิโลเมตร การก่อสร้าง ในระยะที่ 1 เริ่มงานก่อสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544

ระยะที่ 2

  • เครื่องกําเนิดไฟฟ้า ติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟ้าพลังน้ําแบบสูบกลับ เครื่องที่ 3 และ 4 กําลังผลิตเครื่องละ 250 เมกะวัตต์ รวมกําลังผลิต 500 เมกะวัตต์
  • สายสูงไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 230 เควี 2 วงจร ต่อเชื่อมกับสถานีไฟฟ้าแรงสูงทําลาน 3 จังหวัดสระบุรี ระยะทาง 95 กิโลเมตร การก่อสร้างในระยะที่ 2 นี้ กฟผ. ได้ชะลอโครงการไว้ก่อนเนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจที่ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเปลี่ยนแปลงไป

ประโยชน์


• เพิ่มกําลังผลิตให้ระบบ ในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (Peak Load) ของแต่ละวัน ได้สูงถึง 1,000 เมกะวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าประมาณปีละ 400 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

• ระบบการทํางานแบบสะสมพลังงาน ช่วงความต้องการไฟฟ้าน้อยของแต่ละวัน โรงไฟฟ้าจะสูบน้ําไปเก็บไว้ในอ่างพักน้ําบนเขา และปล่อยกลับลงมาผลิตไฟฟ้าในช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงไฟฟ้า เพราะสามารถเดินเครื่องได้เต็มกําลังตามที่ได้ออกแบบไว้
• ช่วยลดการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าเพื่อเสริมระบบ เนื่องจากโครงการนี้ใช้เงินลงทุนต่อกําลังผลิตต่ํา กว่าโรงไฟฟ้าอื่นๆ
• เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ําที่ให้กําลังผลิตสูง แต่ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างเพียง 2 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น
• ใช้ทรัพยากรน้ําของอ่างเก็บน้ําลําตะคองให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สถานที่ท่องเที่ยว


• สวนท้าวสุรนารี ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 96 ไร่ ประกอบด้วยสวนป่ากึ่งรุกขชาติ สวนหย่อม ประติมากรรมบายศรี ศาลาพักผ่อน ทางเดินและวิ่งออกกําลังกาย พร้อมซุ้มจําหน่ายสินค้า ซึ่งสวนท้าวสุรนารีนี้ ได้เปิดให้ประชาชนเยี่ยมชมตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2544

• หลวงพ่อโต ตั้งอยู่ อ.สีคิ้ว ห่างออกไป 40 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดใหญ่เท่าตึก 2 ชั้น ภายในมีการตกแต่งสวนไว้คอยต้อนรับผู้ที่มาเยือนซึ่งเป็นที่สักการะของชาวโคราช

เส้นทางคมนาคม


โรงไฟฟ้าลําตะคองแบบสูบกลับ ตั้งอยู่บริเวณเส้นแบ่งเขตระหว่าง อ.สีคิ้ว และ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จากกรุงเทพฯ การเดินทางโดยรถยนต์ใช้เส้นทางหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ที่ จ.สระบุรี ไปจนถึง จ.นครราชสีมา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 62 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 190 กิโลเมตร

 

 


ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

โรงไฟฟ้าพลังน้ำลําตะคองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *