23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว

ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคมส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันรวบรวมเงิน จัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหา มงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง 40 ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนพ.ศ. 2451 นั้น

ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร 5 ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

พระราชประวัติ


พระบาทสมเด็จพระปริมทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า "สมเด็จเจ้าฬ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหากุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตรสิริวัฒนราชกุมาร" เป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี พระบรมราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พุทธศักราช  2396

ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกจากสำนักพระเจ้า บรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 3 ผู้ทรงรอบรู้ด้านอักษรศาสตร์ และโบราณราชประเพณีอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นทรงศึกษาภาษามคธกับพระปริยัติธรรมธาดา(เนียม) เมื่อเป็นหลวงราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต ทรงศึกษาวิชาการยิ่งปืนไฟจากสำนัก พระยาอภัยศรเพลิง (ศรี) ทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ และวิชาอื่นๆ อันสมควรแก่บรมราชกุมาร

นอก จากนี้ ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ จากชาวต่างประเทศโดยตรง คือ นางแอนนาเลียวโนแวนส์ ครูสตรีชาวอังกฤษ ต่อมาทรงศึกษากับหมอจันดเล ชาวอเมริกัน และ เมื่อเสวยราชสมบัติแล้ว พุทธศักราช 2416 ได้ทรงศึกษา ได้ทรงศึกษากับครูชาวอังกฤษ ชื่อฟรานซิส ยอร์จ แพตเตอสัน ต่อมาก็ทรงพระอุตสาหะศึกษาด้วยพระองค์เองจนมี ความรู้ภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน

ในด้านวิชารัฐศาสตร์ ราชประเพณีและโบราณคดีนั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นผู้พระราชทานการฝึกสอนด้วยพระองค์เองตลอดมา

หลัง จากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2411 เหล่าเสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเถลิงราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 1


พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ ขณะนั้นทรงพระชนมายุเพียง 14 พรรษา สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ รับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ระหว่างนั้นพระองค์ได้เสด็จประพาสต่างประเทศ คือ อินเดีย และชวา เพื่อทอดพระเนตรวิทยาการสมัยใหม่ที่ ประเทศทางตะวันตกนำมาเผยแพร่เพื่อนำเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2


เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่นคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

พระราชกรณียกิจ


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มต้นจากการพัฒนาทางรถไฟก่อนต่อมาจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทาง หรือถนนควบคู่ไปกับการพัฒนาทางรถไฟเพื่อให้ถนนหรือทางเกวียนเหล่านั้นนำ สินค้ามาป้อนทางรถไฟ การพัฒนาการคมนาคมทางบก เป็นผลให้พาหนะทางบกเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นทั้งสัตว์ พาหนะ เกวียน รถลาก รถม้า รถยนต์ รถราง และรถไฟ ทำให้ความเจริญของการพัฒนาได้กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับควาวต้องการทางการเมืองและเศรษฐกิจ

          • การรถไฟ

   
วัน ที่ 26 มีนาคม 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกในพระราชอาณาจักร สยาม (สายนครราชสีมา)

การรถไฟ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยอย่างยิ่งใหญ่คือ การรถไฟ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2431

พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ระหว่างกรุงเทพฯ และนครราชสีมา และได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไป นครราชสีมา นับว่าเป็นการสร้างทางรถไฟครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเริ่มสร้างในปีพุทธศักราช 2433 เปิดเดินรถไปได้ช่วงแรกระหว่างกรุงเทพฯ และอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2439 และสร้างเสร็จตลอดสายในปีพุทธศักราช 2444 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทางรถไฟสายนี้เป็น "รถไฟหลวง" แห่งแรกของไทยด้วย หลังจากนั้นโปรดเกล้าฯ ให้เปิดรถไฟสายใต้ ระหว่างกรุงเทพฯและเพชรบุรี 2446  รถไฟสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา 2450  ส่วนเอกชนและชาวต่างชาติได้รับพระราชทานสัมปทานสร้างทางรถไฟสายอื่นๆ อีก ทำให้เกิดความสะดวกในการสัญจรและการทำมาหากินของประชาชนมากขึ้น

          • การสร้างถนน

ห้างกิมฮัวเฮง ถนนเจริญกรุง

  ถนนราชดำเนินนอก

ในปีพุทธศักราช 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตัดถนนราชดำเนิน และถนนเยาวราช ส่วนถนนสายอื่นๆ ที่โปรดให้สร้างและบูรณะเพื่อความสะดวกในการสัญจรของราษฎร ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเจริญกรุง ถนนวังบูรพา ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนจักรเพชร ถนนมหาชัย ถนนสี่พระยา เป็นต้น

          • การสร้างสะพาน

สะพานดำรงสถิต ถนนเจริญกรุง ข้ามคลองรอบกรุง (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

สะพานหัน สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเชื่อมถนนข้ามคลอง เช่น สะพานผ่านฝ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ฯลฯ และยังได้พระราชทานทรัพย์จากเงินพระคลังข้างที่อันเป็นเงินส่วนพระองค์ให้ จัดสร้างสะพานขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษา จนถึงปีสวรรคต รวม 17 สะพาน โดยพระราชทานนามสะพานสะพานขึ้นด้วยคำว่า "เฉลิม" และตัวเลขต่อท้ายระบุพระชนมพรรษา เช่น สะพานเฉลิมศรี 42 สร้างเมื่อพุทธศักราช 2438 ขณะเจริญพระชนมพรรษา 42 พรรษา นับเป็นสะพานแรก และสะพานสุดท้ายคือ สะพานเฉลิมสวรรค์ 58 เป็นต้น

 

          • การขุดคลอง

 

ปริทัศน์บริเวณคลองมหานาค-คลองบางลำพูเมื่อราว 100 ปีมาแล้ว

คลองหลอดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โปรดให้ขุดคลองเพื่อความสะดวกในการเดินทางคมนาคมทางน้ำ และการทำมาหากินของราษฎร โดยโปรดให้ขุดคลองเก่าและทำประตูระบายน้ำ เช่น ในพุทธศักราช 2435 โปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างบริษัทขุดคลองและคูสนามดำเนินการขุดคลองในบริเวณทุ่งนาระหว่าง ลุ่มน้ำเจ้าพระยากับจังหวัดนครนายก คลองนี้ใช้ประโยชน์ทั้งทางคมนาคม และการชลประทานเพื่อการเกษตร พระราชทานนามว่า "คลองรังสิตประยูรศักดิ์" ปัจจุบันคือคลองรังสิต เป็นต้น

          • การไปรษณีย์ โทรเลข

ตึกที่ทำการโทรเลขแห่งแรกของไทย ในกระทรวงกลาโหม ด้านมุมวังสราญรมย์ (พ.ศ. 2418)

การวางสายเคเบิลโทรเลขใต้น้ำ

การไปรษณีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2426 มีการส่งจดหมายพัสดุสิ่งของเป็นครั้งแรก เฉพาะภายในกรุงเทพฯ แล้วขยายออกบริเวณตามหัวเมือง เมื่อ ปี พ.ศ. 2428

ตั้งแต่โบราณกาลการติดต่อระหว่างพระนครกับหัวเมืองยังต้องใช้คนเดินสาร ใช้เรือหรือใช้ม้าเป็นพาหนะ ซึ่งการไปรษณีย์เป็นไปอย่างล้าช้า ประกอบกับหนทางยังไม่สะดวกสบายเท่าใดนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการ สื่อสารทางไปรษณีย์  จึงได้ใช้จังหวัดนครปฐมเป็นที่เริ่มต้นการไปรษณีย์เป็นครั้งแรกของเมืองไทย ในปีพุทธศักราช 2412 หลังจากการไปรษณีย์เปิดดำเนินการแล้ว แต่การทำงานยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ เนื่องจากในขณะนั้นยังมีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก การสื่อสารทางโทรเลขจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมากระทรวงกลาโหมได้รับงานนี้มาทำเองเมื่อพุทธศักราช 2418 โทรเลขสายแรกจึงสำฤทธิผลเริ่มเปิดดำเนินการได้ โดยส่งสายระหว่างกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ รวมระยะทาง 45 กิโลเมตรและยังมีการวางสายใต้น้ำต่อไปจนถึงประภาคารที่ปากน้ำเจ้าพระยา สำหรับบอกร่องน้ำเมื่อเรือเข้าออก ส่วนสายที่ 2 จากกรุงเทพฯ-บางปะอิน สร้างเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๔๒๖ และยังขยายเส้นทางออกไปอีกหลายสาย ส่วนการไปรษณีย์ไปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช 2426 ที่ตึกริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือปากคลองโอ่งอ่าง ต่อมาในปีพุทธศักราช 2441 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมการไปรษณีย์และการโทรเลขเข้าด้วยกันเรียกว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข"

              

              (1)                                (2)                                     (3)

               

                                         (4)                                        (5)                                            (6)                                     (7)

ภาพที่ (1) เครื่องโทรศัพท์รุ่นแรก สร้างในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2420
ภาพที่ (2) เครื่องโทรศัพท์ของฝรั่งเศส พ.ศ. 2433
ภาพที่ (3) เครื่องโทรศัพท์อัตโนมัติแบบตั้งโต๊ะใช้ในประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2451
ภาพที่ (4) เครื่องโทรศัพท์แบบแมกโตมีสายเดียว มีหม้อไฟขนาดย่อมติดกับเครื่อง
ภาพที่ (5) เครื่องโทรศัพท์ใช้แมกนิโตของอังกฤษ พ.ศ. 2453
ภาพที่ (6) เครื่องโทรศัพท์อัตโนมัติแบบหมุนแป้นหมายเลขของอังกฤษ พ.ศ. 2467
ภาพที่ (7) เครื่องโทรศัพท์ของฝรั่งเศส พ.ศ.2433


กระทรวงกลาโหมได้นำวิทยาการสมัยใหม่ที่เรียกว่าโทรศัพท์มาทดลองใช้ในปีพุทธศักราช 2424 ติดตั้งทดลองใช้ครั้งแรก ตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองสุมทรปราการ การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคเกี่ยวกับโทรศัพท์ สร้างมาเป็นเวลานานกว่า 3 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2429 แล้วกรมโทรเลขก็ได้รับโอนเข้ามาตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในกรุงเทพฯ พร้อมกันนี้ก็ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไป บริษัทห้างร้างเอกชนและส่วนราชการได้มีโอกาสเช่าโทรศัพท์เพื่อเป็นธุรกิจติดต่อสื่อสารกัน จนกระทั่งทุกวันนี้


ที่มา : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (21 ตุลาคม 58). สนเทศน่ารู้ : วันปิยมหาราช. http://www.lib.ru.ac.th : http://www.lib.ru.ac.th/journal/oct/oct23_ck_index.html

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *