เขื่อนบางลาง (Banglang Dam)

เขื่อนบางลาง (Banglang Dam)

"โรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง"โครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลางนับเป็นโครงการอเนกประสงค์แห่งหนึ่งตามแผนพัฒนาลุ่มน้ำปัตตานี โครงการนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบการออกแบบงานด้านวิศวกรรมศาสตร์เรื่อยมา โดยให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภูมิภาคส่วนนี้

 

เขื่อนบางลาง

Source : http://commondatastorage.googleapis.com/static.panoramio.com/photos/original/56798746.jpg

 

ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างงาน "โครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง" เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2516 โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เช่น การจัดหาแหล่งที่มาของการลงทุน การจัดท้ารายละเอียด การเรียกประกวดราคางานก่อสร้างด้านโยธาของโครงการและอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2519 แล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2524

"เขื่อนบางลาง" เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของภาคใต้ การก่อสร้างได้ส้าเร็จลุล่วงไปด้วยดี ก็ด้วยความเสียสละ ร่วมมือ ร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากราษฎรในพื้นที่ หน่วยงานราชการต่างๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ เขื่อนแห่งนี้จึงมีขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในภูมิภาคนี้ของประเทศอย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524

 

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า


ลักษณะเขื่อน เขื่อนบางลาง กั้นแม่น้ำปัตตานีที่บริเวณบ้านบางลาง ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ห่างจากตัวอำเภอเมือง 58 กิโลเมตร ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความสูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 430 เมตร กว้าง 10 เมตรอ่างเก็บน้ำมีความจุ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน 2,080 ตารางกิโลเมตร

อาคารโรงไฟฟ้า ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำปัตตานี ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 3 เครื่อง ขนาดเครื่องละ 24,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 72,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าปีละประมาณ 200 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ลานไกไฟฟ้า ตั้งอยู่บริเวณดำนหลังของอาคารโรงไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งมายังลานไกไฟฟ้าแห่งนี้ แล้วต่อไปยังสายส่งไฟฟ้าขนาด 115 กิโลวัตต์ 2 วงจร สู่สถานีไฟฟ้าแรงสูงยะลา ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตรเขื่อนบางลางได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2519 เป็นต้นมา แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524

การช่วยเหลือราษฎรอพยพ เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนบางลาง ทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ ในบริเวณท้องที่อำเภอบันนังสตา และกิ่งอำเภอธารโต ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,100ครอบครัว ต้องถูกน้ำท่วมดังนั้น กฟผ. จึงได้ร่วมมือและประสานงาน กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือราษฎร ดังกล่าว โดยจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สินในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งจัดสรรที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แก่ราษฎรครอบครัวละ 20 ไร่ โดยแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย 2 ไร่ และที่เพาะปลูก 18 ไร่นอกจากนี้แล้วยังให้ความ
ช่วยเหลือด้านการเกษตร ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหกรณ์โดยจัดตั้งวงเงินประมาณ 10 ล้านบาท ให้สมาชิกกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และผ่อนส่งระยะยาวอีกด้วย

 

ประโยชน์


น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางสามารถอำนวยประโยชน์ ในด้านการชลประทานแก่พื้นที่เพาะปลูกของจังหวัดยะลาและปัตตานี เป็นพื้นที่ 380,000 ไร่ ซึ่งน้ำที่ปล่อยออกมาสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 200 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงช่วยส่งเสริมระบบไฟฟ้าในภาคใต้ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น นับเป็นผลพลอยได้ที่มีคุณประโยชน์มหาศาล

นอกจากนี้ อ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง ยังช่วยบรรเทาอุทกภัยในบริเวณตอนล่าง ของลุ่มแม่น้ำปัตตานีที่เคยเกิดขึ้นเสมอได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญในภาคใต้ที่ช่วยเสริมอาชีพและรายได้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดยะลาอีกด้วย

 

การเดินทาง


จังหวัดยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 1,084 กิโลเมตร ส่วนเขื่อนบางลาง อยู่ห่างจากตัวเมืองยะลาไปทางหลวงสายยะลา-เบตง ที่กิโลเมตร 46+600 เข้าไปยังที่ตัวเขื่อนอีกประมาณ 12.5 กิโลเมตร

 

สถานที่ท่องเที่ยว


แม้ว่ายะลาจะเป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเลย แต่ยะลาก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ตามธรรมชาติที่น่าสนใจมากมาย อาทิ

ศาลหลักเมืองยะลา ตั้งอยู่ที่กลางวงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดยะลา และทุกๆ ปีทางจังหวัดได้จัดให้มีงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม นับเป็นงานเทศกาลประจ้าปีที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่งของภาคใต้
• สวนสาธารณะสนามช้างเผือก ตั้งอยู่กลางใจเมืองยะลาในเนื้อที่ 80 ไร่ ร่มรื่นไปด้วยดอกไม้ประดับนานาชนิด มีสระน้ำใสสะอาดและศาลากลางน้ำ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป

• สวนขวัญเมือง เป็นสวนสาธารณะที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ภายในบริเวณสวนมีทั้งทะเลสาบและสนามกีฬา

• วัดคูหาภิมุข ชาวบ้านเรียกว่า "วัดหน้าถ้้า" อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตรภายในวัดนี้มีถ้้าใหญ่อยู่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระพุทธไสยาสน์ขนานใหญ่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยศรีวิชัย รุ่งเรื่องราว พ.ศ.1300 นอกจากนี้ภายในถ้้ายังมีหินงอกหินย้อยและน้ำใสสะอาดไหลรินจากโขดหินแลดูสวยงามยิ่งนัก

• น้ำตกธารโต อยู่บนเส้นทางสายยะลา-เบตง ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 60 กิโลเมตรเป็นน้ำตกที่สวยงามมาก บรรยากาศร่มรื่นมากเหมาะแก่การพักผ่อนลักษณะภูมิประเทศแถบนี้งดงามล้วนมรอบไปด้วยภูเขาใหญ่ น้ำตกไหลพลิ้วลงมาจากยอดเขาเป็นชั้นๆ ถึง 3 ชั้น

• บ่อน้ำร้อน อยู่ที่ตำบลตาเนาะแมเราะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเบตงเพียง 10 กิโลเมตร เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีน้ำพุเดือดขึ้นมาจากพื้นดิน มีผู้นิยมไปเที่ยวพักผ่อนและอาบน้ำแร่เป็นจำนวนมาก

• อำเภอเบตง มีฉายาว่า "เมืองในหมอกและดอกไม้งาม" เป็นเมืองชายแดนที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากตัวเมืองยะลา ประมาณ 126 กิโลเมตร เป็นเมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรมของผู้คนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และภาษาไว้อย่างกลมกลืนเหมาะเจาะ เบตงเป็นอำเภอที่มีความเจริญเป็นที่ตั้งของตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีถนนเชื่อมโยงไปสู่เขตสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย

• หมู่บ้านซาไก อยู่ในพื้นที่อำเภอธารโต ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 80 กิโลเมตร บนเส้นทางสายยะลา-เบตง เป็นที่อยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองที่เราเรียกว่า"เงาะ" หรือ "ซาไก" นับเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมเพียงเผ่าเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่และดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมที่น่าศึกษายิ่งนัก

ป่าบาลา-ฮาลา หรือป่าพรหมจารี เป็นผืนป่าสุดทำยที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลือในแผ่นดินขวานทองนี้ มีพื้นที่ครอบคลุมสองจังหวัดคือ อำเภอสุคิริน อำเภอจะแนะ อำเภอศรีสาคร อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส และอำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ป่าบาลา-ฮาลา เป็นป่าดงดิบชื้น ลักษณะทั่วไปเป็นป่าเขาสูงขึ้นสลับซับซ้อนติดต่อกัน ในอดีตผืนป่าแห่งนี้ถูกปกคลุมไปด้วยกลิ่นไอของการต่อสู้ ทำให้น้อยคนที่จะไปสัมผัสกับความงามของธรรมชาติที่ซ่อนเร้นอยู่ ปัจจุบัน ป่าบาลา-ฮาลาแห่งนี้ ยังคงรักษาความงามของธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ไว้ เพื่อรอคอยผู้ที่แสวงหาได้สัมผัสแหล่งทัศนียภาพที่หลากหลายและสวยงาม

สรุป เขื่อนบางลางเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของภาคใต้ ตามแผนพัฒนาลุ่มแม่น้ำปัตตานี การก่อสร้างได้ส้าเร็จลุล่วงไปด้วยดี ก็ด้วยความเสียสละ ร่วมมือ ร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากราษฎรในพื้นที่ หน่วยราชการต่างๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กฟผ. ที่เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เขื่อนแห่งนี้จึงได้เกิดขึ้นและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในภูมิภาคนี้ของประเทศอย่างแท้จริง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก ฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

iEnergyGuru-Blue

เขื่อนบางลาง (Banglang Dam)

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *