ISO 50001 กลไกสำคัญสู่การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ISO 50001 กลไกสำคัญสู่การลดการปลดปล่อย

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

ISO50001

ในระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2016 ได้มีการจัดงานประชุมthe seventh Clean Energy Ministerial (CEM7) ที่นครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยผู้ร่วมงานประกอบไปด้วย รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ผู้นำของธุรกิจระดับโลก
ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้นำชุมชนหกว่า 23 ประเทศ เพื่อหารือร่วมกันในการลดอุปสรรคต่อความก้าวหน้า และบ่งชี้ถึงศักยภาพในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน   ในที่ประชุมได้ออกมาตรการในการรณรงค์และส่งเสริม 3 เรื่องที่มีความสำคัญสูงได้แก่

1) การจัดหาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด(Corporate Sourcing of Renewables )

2) การส่งเสริมนำระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 มาประยุกต์ใช้งานในองค์กร (Energy Management Campaign) และ

3) การส่งเสริมด้านเทคโนโลยีการทำความเย็นในขั้นสูง (Advanced Cooling Challenge) ซึ่งงานนี้มีเป้าหมายในส่งเสริมให้โลกหันมาใช้พลังงานสะอาด โดยแผนปฏิบัติการในการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดครั้งนี้ได้รวมถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกลไกของระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 ด้วย

โดยที่ EMWG ได้ประกาศให้มีการรณรงค์ในการนำ ISO 50001 ไปใช้งานทั่วโลกตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป โดยมีเป้าหมายที่จะให้มีองค์กรทั่วโลกได้รับการรับรองระบบการจัดการพลังงานจำนวน  50,001 แห่ง ภายในปี  2020. และในการจัดงาน CEM7  ครั้งนี้ยังได้ประกาศผลผู้ชนะรางวัลยอดเยี่ยมด้านระบบการจัดการพลังงาน   The 2016 CEM Award  ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติสำหรับบริษัทที่ประสบผลสำเร็จในการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001  โดยรางวัลนี้ได้เริ่มต้นจัดขึ้นโดย the Energy Management Working Group (EMWG)  ซึ่งเห็นว่าระบบ ISO 50001 จะเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ ผลลัพธ์ของกิจกรรมนำไปสู่การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยังผลประโยชน์จากการลงทุนด้านประสิทธิภาพพลังงาน และมุ่งหวังที่จะขยายผลดังกล่าวไปทั่วโลกผ่านการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 50001

รางวัลยอดเยี่ยมด้านระบบการจัดการพลังงานไม่ได้เพียงมุ่งเน้นผลการประหยัดแต่ได้รวมถึงความพยายามขององค์กรในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการใช้พลังงาน โดยในปีนี้มีผู้ชนะเลิศ 3 บริษัท ได้แก่

  • Cummins, Inc.
  • LG Chem Ltd., Ochang Plant.
  • New Gold Inc., New Afton Mine.

ISO 50001

 


แปลและเรียบเรียงโดย วิชาญ นาคทอง (ทีม iEnergy Guru)

Bibliography

www.iso.org/. (2016, June 2). Clean Energy Ministerial focuses on ISO 50001 for low-carbon development. Retrieved from http://www.iso.org/: http://www.iso.org/iso/news.htm?refid=Ref2087

www.energy.gov/. (2016, June 3). Companies with SEP-Certified Facilities Win Energy Management Awards. Retrieved from http://www.energy.gov/: http://www.energy.gov/eere/amo/articles/companies-sep-certified-facilities-win-energy-management-awards

www.cleanenergyministerial.org/. (2016, June 2). 2016 Energy Management Leadership Awards . Retrieved from http://www.cleanenergyministerial.org/: http://www.cleanenergyministerial.org/2016-Energy-Management-Leadership-Awards


iEnergyGuru-Blue

ISO 50001 กลไกสำคัญสู่การลดการปลดปล่อย

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *