COP 23 การเจราจาสหประชาชาติเกี่ยวกับสภาพอากาศโลกที่ดูเมือนไม่คืบหน้า !

COP 23 การเจราจาสหประชาชาติเกี่ยวกับสภาพอากาศโลกที่ดูเมือนไม่คืบหน้า !

COP 23 การเจราจาสหประชาชาติการประชุมเกี่ยวกับสภาพอากาศโลก ที่นำโดยผู้นำสาธารณรัฐฟิจิ – ประธานการประชุม ที่ดำเนินการประชุมเกี่ยวกับประเด็นทางวิชาการได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี (ที่มาของรูปภาพ website : bbc)

COP 23 การเจราจาสหประชาชาติ การเจราจาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสภาพอากาศโลก ณ กรุงบอนน์ มีการสรุปความคืบหน้าถึงประเด็นทางวิชาการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหาใหญ่ ๆ คือเรื่องของก๊าซคาร์บอน ซึ่งยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่แก้ไม่ตก

โดยตัวแทนประเทศสมาชิกกล่าวในการเจรจาว่าพวกเขาพอใจในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทุกประเทศต่างมีความเห็นพ้องกันในที่สุดเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Paris Rulebook) อย่างไรก็ตามการอภิปรายในที่ประชุมนั้นยังถกกันแบบไม่สามารถสรุปความได้เกี่ยวกับการใช้และการแก่งแย้งพลังงานธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ นั่นหมายความว่าการประชุมครั้งหน้าที่โปแลนด์จะถูกจัดขึ้นเพื่อการเจรจาเกี่ยวกับอนาคตของน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นประเด็นสำคัญ

การประชุมครั้งนี้ ถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งคือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 23 (COP23) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทางสหประชาชาติได้ชี้แจงความคืบหน้าของการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อตกลงด้านสภาพอากาศกรุงปารีส (Paris climate agreement)
หนึ่งในประเด็นสำคัญของการเจรจา คือ การร่วมกันพัฒนากระบวนการที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถตรวจสอบ รายงาน และเพิ่มความมุ่งมั่นในการลดก๊าซคาร์บอนในบรรยากาศ โดยมีประเด็นการเจรจา ดังนี้

  • ความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งถูกนำมาเป็นประเด็นการเจรจาครั้งแรกในรอบสี่ปี
  • การต่อต้านการใช้พลังงานถ่านหินของประเทศพันธมิตร นำโดยสหราชอาณาจักรและแคนาดา
  • เทคโนโลยี Climate’s magic rabbit: ว่าด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศ

ผู้นำสาธารณรัฐฟิจิซึ่งดำรงตำแหน่งประธานการประชุมครั้งนี้ได้เสนอสิ่งที่เรียกว่า Talanoa Dialogue คือ การเจราจาเพื่อให้เกิดการตัดสินใจร่วม โดยในปีหน้าจะมีการหารือกันเพื่อช่วยประเทศต่าง ๆ ในการทบทวนสัญญาที่พวกเขาได้ทำร่วมกันภายใต้สนธิสัญญาปารีส

"ประเด็นสำคัญในการเจรจาที่โปแลนด์ จำเป็นต้องทำให้เกิด Talanoa Dialogue ให้ได้เพื่อให้แน่ใจว่าการเจรจาจะไม่เป็นเพียงแค่การพูดคุยแต่ต้องเป็นการตัดสินใจร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป" Yamide Dagnet จาก World Resources Institute กล่าว "ในการประชุมครั้งหน้าที่โปแลนด์ ผู้นำหรือตัวเทศประเทศสมาชิกจะต้องเจรจาซึ่งหน้าและให้คำมั่นสัญญาถึงความมุ่งมั่นในการลดก๊าซคาร์บอนในประเทศของตน ดังนั้นภายในปี พ.ศ. 2563 ทุกประเทศสมาชิกจะต้องมีแผนการดำเนินงานแห่งชาติที่เป็นรูปธรรม โดยมีชุดดำเนินงานด้านสภาพภอากาศอย่างจริงจังและทำให้เกิดผลอย่างแท้จริง"

ในการอภิปราย ณ กรุงบอนน์ เกิดคำถามและข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับพลังงานถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยบริษัท ถ่านหินและนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ได้นำเสนอเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า ‘น้ำมันเชื้อเพลิง’ ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนในบรรยากาศและทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

COP 23 การเจราจาสหประชาชาติ

Frank Bainimarama นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐฟิจิซึ่งเป็นผู้นำการประชุมครั้งนี้ (ซ้าย) พบปะเอกอัคราชฑูตราชอาณาจักรโมร็อกโก Aziz Mekouar (ที่มาของรูปภาพ website : theguardian)

ประกายแห่งความหวัง
การมองโลกในแง่ดีอาจดูอุปโลกมากเกินไป หากการมองโลกในแง่ร้ายอาจทำให้เห็นความเป็นจริงมากกว่า หลังจากการประชุมสองทศวรรษที่ผ่านมาภายใต้ความมุ่งมั่นของสหประชาติ – ในที่สุดก็เริ่มเห็นแสงสว่างแห่งความหวัง

การเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงปารีสในครั้งนี้อาจทำให้เกิดความสำเร็จได้อย่างแท้จริงในอนาคต ซึ่งสร้างความคาดหวังต่อผู้นำของแต่ละประเทศ หากแต่ข้อตกลงดังกล่าวอาจยังประโยชน์ให้กับนักการเมืองที่คิดจะกอบโกยผลประโยชน์จากเทคโนโลยีสีเขียวในอนาคตได้อย่างคาดไม่ถึง เราพบว่าการเหน็บแนมของประธานาธิบดีทรัมป์ไม่ได้ทำให้การเจรจานั่นหยุดชะงักลงแต่อย่างใด แต่บรรยากาศการเจรจากลับอบอุ่นและเป็นมิตร ทั้งยังเกิดเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจนอีกด้วย ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศมองเห็นอนาคตของพลังงานสีเขียวที่ทำได้จริงและใช้ต้นทุนต่ำ โดยทุกประเทศทราบดีว่าตนต้องร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพวกเขาก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายประเทศที่มีความสนใจและพยายามเข้าร่วมข้อตกลง แต่ทว่าบางประเทศยังมีความขัดแย้ง และทางสหประชาชาติยังขาดแคลนทุนในการช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ และสถานที่การจัดการประชุมครั้งต่อไปจะถูกจัดขึ้น ณ เมืองถ่านหิน Katowice ของโปร์แลนด์ ในขณะที่การต่อสู้เกี่ยวกับการรณรงค์เพื่อรักษาบรรยากาศโลกยังไม่สิ้นสุด กลุ่มเศรษฐศาสตร์พลังงานโลกได้ดำเนินการไปแล้วภายใต้การกดปุ่มสนับสนุนโดยกลุ่มการเมือง ซึ่งถือเป็น ‘ประกายความหวัง’ อย่างแท้จริง

การประชุมในครั้งนี้ถูกขัดขวางโดยผู้ชุมนุมประท้วงหลายสิบคน ที่แสดงความคิดเห็นว่าน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ควรถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของการพัฒนาพลังงานในอนาคต ในสหรัฐฯ ดูเหมือนจะมีการแตกแยกทางความคิด ผู้นำจากหลายมลรัฐและหลายเมืองมีความเห็นร่วมกับข้อตกลงปารีส โดยมองเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นจากพลังงานสีเขียวอย่างชัดเจน “ประธานาธิบดีทรัมป์อาจขีดเขียนอะไรลงบนทวีตเตอร์ของเขาได้ แต่เขาไม่อาจหยุดยั้งเราได้” ผู้ว่าการรัฐวอชิงตัน Jay Inslee กล่าว ส่วนที่ปรึกษาพิเศษของรัฐบาลทรัมป์ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ George David Banks บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ยังคงเปิดกว้างต่อการเข้าร่วมในสนธิสัญญาปารีส"ท่านประธานาธิบดีได้กล่าวหลายครั้งแล้วว่า เขายินดีที่จะพิจารณาการมีส่วนร่วมในสนธิสัญญาอีกครั้ง หากสามารถหารือและระบุข้อตกลงที่เหมาะสมกับประเทศสหรัฐอเมริกา" เขากล่าวซึ่งคำพูดดังกล่าวดูเหมือนจะไม่ประทับใจผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ที่ลงความเห็นว่าอาจไม่มีการเจรจาต่อรองกับทางสหรัฐฯ อีกต่อไป

COP 23 การเจราจาสหประชาชาติ
ยังมีความกังวลว่าการประชุมครั้งหน้าที่โปแลนด์อาจทำให้กระบวนการลดการใช้ก๊าซคาร์บอนชะลอตัวลง
(ที่มาของรูปภาพ website : bbc)

กว่า 20 ประเทศได้ลงนามยุติการพึ่งพาถ่านหินเพื่อใช้เป็นพลังงาน และกลุ่มประเทศพันธมิตรเหล่านี้มุ่งหวังจะมีประเทศสมาชิกที่เห็นพ้องเพิ่มขึ้นกว่า 50 ประเทศในการประชุมครั้งหน้าที่โปแลนด์ การประชุมสุดยอดที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2561 ที่เมือง Katowice ประเทศโปแลนด์ ถือเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญในการทำให้ข้อตกลงปารีสดำเนินงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจนกว่าจะมีผลบังคับใช้จริงในปี พ.ศ. 2563 ดังนั้น ภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ข้อตกลงทั้งหมดในสนธิสัญญาจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นและจะมีการทบทวนภาระผูกพันเรื่องการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เคยกล่าวถึงในปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมาด้วย

ผู้นำหลายประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ถ่านหินอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางในโปแลนด์ จึงทำให้มีความเป็นไปได้ยากที่การตัดสินใจเกี่ยวกับการงดใช้พลังงานถ่านหินจะเกิดขึ้นได้ ณ การประชุมที่ Katowiceผู้สังเกตการณ์หลายท่านเชื่อว่าจะมีมาตรการทำให้เกิดความมั่นใจว่าโปแลนด์จะไม่ทำให้การขับเคลื่อนที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่การประชุมที่ปารีสและยังมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการประชุมครั้งนี้ที่กรุงบอนน์นั้นต้องหยุดชะงักลง

เรียบเรียงโดย นาย ศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตย์ ทีมงาน iEnergy Guru

เอกสารอ้างอิง
http://www.bbc.com/news/science-environment-42032229
http://unfccc.int/meetings/bonn_nov_2017/meeting/10084.php
https://www.theguardian.com/environment/2017/nov/06/bonn-climate-talks-must-go-further-than-paris-pledges-to-succeed

COP 23 การเจราจาสหประชาชาติเกี่ยวกับสภาพอากาศโลกที่ดูเมือนไม่คืบหน้า !

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *