iEnergyGuru

การสำรวจและการขุดเจาะหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ

การสำรวจและการขุดเจาะหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ

การสำรวจและการขุดเจาะหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ

การสำรวจและการขุดเจาะหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ

 

ก๊าซธรรมชาติ (์Natural Gas) มักมีการค้นพบในแหล่งเดียวกันกับน้ำมันดิบและจะถูกนำขึ้นมาพร้อมๆ กัน ก๊าซจะถูกแยกออกจากน้ำมัน การสำรวจเริ่มจากการศึกษาสภาพภูมิประเทศและสภาพทางธรณีวิทยาอย่างไรก็ตามการสำรวจภาคพื้นดินจะได้ข้อมูลคร่าวๆ ซึ่งจะนำมาใช้ในการคาดคะเนว่ามีน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติสะสมตัวอยู่หรือไม่ แต่จะไม่ทราบแน่ชัด จะต้องทำการขุดเจาะสำรวจเสียก่อน การศึกษาสภาพภูมิประเทศได้จากการศึกษาแผนที่ทางธรณีวิทยาตัวอย่างหิน ภาพถ่ายจากดาวเทียม

การสำรวจโครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหินใต้พื้นดิน ใช้วิธีการทางธรณีฟิสิกส์ เช่น การวัดค่า สนามแม่เหล็กการวัดแรงดึงดูดของโลกการวัดความไหวสะเทือนของชั้นหินซึ่งแต่ละชั้นหินจะให้ค่าออกมาต่างกัน ในการสำรวจสภาพทางธรณีวิทยา การสำรวจความไหวสะเทือนโดยระบบ Seismic มีความสำคัญมากผลความไหวสะเทือนที่ได้ออกมาจะทำให้ทราบลักษณะโครงสร้างของชั้นหินซึ่งจาก ข้อมูลเก่าๆทางด้านธรณีวิทยาจะแสดงให้เห็นว่าบริเวณนั้นๆจะเป็นแหล่งสะสมของน้ำมันหรือไม่จากการทำ Seismic หลายๆจุดจะทำให้สามารถวาดภาพลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาการศึกษาสภาพภูมิประเทศและโครงสร้างทางธรณีวิทยาจะทำให้ทราบเพียงว่าอาจจะมีน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติอยู่เท่านั้น ถ้าให้แน่ชัดต้องทำการเจาะสำรวจอีกครั้ง ซึ่งในการเจาะสำรวจจะมีการศึกษาเพิ่มเติมจากตัวอย่างหินและเครื่องมือที่ติดไปกับแท่นขุดเจาะ การขุดเจาะเพื่อสำรวจให้แน่ชัดว่ามีน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติสะสมตัวหรือไม่นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เครื่องมือขุดเจาะมีลักษณะเป็นแบบสว่านหมุน ส่วนประกอบที่สำคัญประกอบด้วย หัวเจาะ ท่อเจาะ แท่นยึดและเครื่องยนต์ ซึ่งทำหน้าที่หมุนและดันหัวเจาะลงไปใต้พื้นดิน เนื่องจากท่อเจาะแต่ละท่อน ยาวประมาณ 10 เมตร ดังนั้น การขุดเจาะจะต้องหยุดเพื่อทำการต่อท่อทุกระยะ 10 เมตร และหัวเจาะที่ใช้ก็อาจทื่อ และจำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ การที่จะเปลี่ยนหัวเจาะจะต้องถอนท่อเจาะที่เจาะไปแล้วทั้งหมดออกมา แล้วเริ่มขุดเจาะใหม่ ซึ่งระหว่างการขุดเจาะก็อาจมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ได้แก่ ดินถล่ม หินพังทลาย ในระหว่างการถอนท่อเจาะออกเพื่อเปลี่ยนหัวเจาะจึงจำเป็นต้องใส่ปลอกกันบ่อพังเสียก่อนที่จะทำการถอนท่อและบางครั้งท่อเจาะเมื่อเจาะลงลึกๆ ก็อาจมีการหักได้ การแก้ไขต้องนำท่อเจาะขึ้นมาก่อนทำการเจาะต่อ

 

ที่มา : สำนักความปลอดภัยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน. บทความเรื่องก๊าซธรรมชาติ ตอนที่ 2. Retrieved from http://www.doeb.go.th/v3/ngv/knowledge/knowledge.htm.

0 Reviews

Write a Review

Exit mobile version