Gasification เทคโนโลยีดั้งเดิมที่เหมาะสมกับครัวเรือนที่ห่างไกล

Alternative fuel from a leak gasifier

เทคโนโลยี Gasification นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตก๊าซชีวมวล (syngas) เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้รับความนิยมในช่วง ค.ศ. 1800-1900 ต่อมาแหล่งพลังงานแหล่งใหม่ เช่น พลังงานจากฟอสซิล, พลังงานนิวเคลียร์ มาใช้ในการผลิตไฟฟ้าทดแทนพลังงานจากก๊าซชีวมวล ทำให้เทคโนโลยี Gasification นี้ถูกใช้น้อยลงจนแทบจะไม่มีประเทศไหนใช้กัน

จนกระทั่งเร็วนี้ๆ มนุษย์ตระหนักถึงผลกระทบที่ร้ายแรงของก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนนี้ยังมีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานทดแทนต่าง ๆ ในการผลิตไฟฟ้าแทนพลังงานดึกดำบรรพ์นี้ ทำให้เทคโนโลยี Gasification ถูกมองในแง่ของพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น

โดยวันนี้จะขอเสนอหนึ่งในเทคโนโลยี Gasification สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เพียงพอต่อครัวเรือนโดยเทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า The Low Emission Alternative Fuel Generator/Wood Gasifier (L.E.A.F. Generator) ซึ่งออกแบบและผลิตโดย Foutch Manufacturing.

หลักการทำงานง่ายๆ ของเครื่อง L.E.A.F. Generator นี้คือ

ขั้นแรกเราต้องใส่เศษไม้แห้ง หรือเศษกิ่งไม้แห้งที่สามารถหาได้ทั่วไป จากนั้นเราใช้เครื่องเป่าลมไฟฟ้า (Electric blower ) เป่าลมเข้าไปในเครื่อง L.E.A.F. Generator ซึ่งช่วงแรกจะให้ความร้อนโดยไม่ให้อากาศหรือมีอากาศน้อย ทำให้เกิดสารระเหย (Volatile meter) ซึ่งกระบวนการปฏิกิริยาดังกล่าวเรียกว่า Pyrolysis จากนั้นลมที่เป่าเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารระเหยที่เกิดจากปฏิกิริยา Pyrolysis โดยขั้นตอนนี้เป็นการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete combustion) เพื่อทำให้เกิดก๊าซชีวมวล กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า “Gasification” ก๊าซชีวมวลที่เกิดขึ้นนี้ จะใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเผาไหม้ในเครื่องยนต์ สำหรับเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน

ข้อดีหลักๆ ของ เครื่อง L.E.A.F. Generator นี้คือ

1.สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงที่เป็นน้ำมัน
2.สามารถหาวัสดุที่นำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นได้ง่าย ราคาไม่แพง
3.ตัวเครื่อง L.E.A.F. Generator มีต้นทุนในการสร้างที่ไม่สูง และ
4.สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม เครื่อง L.E.A.F. Generator นี้ก็มีข้อจำกัดในการใช้งาน คือ เราต้องให้ความร้อนจากแหล่งความร้อนนอกก่อนเสมอเพื่อไล่ความชื้นจากวัตถุดิบจนถึงกระบวนการ Pyrolysis และในบางครั้งก๊าซชีวมวลที่เกิดขึ้นอาจจะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ซึ่งทำให้ค่าความร้อนที่ได้แตกต่างกันด้วย ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้การทำงานของเครื่องปั่นไฟฟ้าทำงานไม่เสถียรและไม่สม่ำเสมอ จึงต้องใช้เชื้อเพลิงหลักช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้นการใช้กระบวนการนี้ยังไม่สามารถทดแทนเชื้อเพลิงหลัก (น้ำมัน) ได้อย่าง 100%

Source : engineer775 Practical Preppers. (Sep 1, 2015).
The L.E.A.F. Wood Gasifier [Video File]. Video posted to https://www.youtube.com/watch?v=FqWOCHI9wuo

Bibliography
Tek-Think Writers. (July 10, 2015). A Low Emission Alternative Fuel Gasifier. Retrieved from http://tek-think.com/: http://tek-think.com/2015/07/10/a-low-emission-alternative-fuel-gasifier/

ienergyguru.com

0 Reviews

Write a Review

1 reply
  1. ศุภวัฒน์ ธาดาจารุมงคล
    ศุภวัฒน์ ธาดาจารุมงคล says:

    หลักการดูง่ายไม่ซับซ้อน แต่เวลาใช้จริง ควบคุมอัตราการป้อนเชื้อเพลิงและอากาศให้ต่อเนื่อง และสมดุลกับอัตราการใช้งานได้ยากมาก และปัญหาน้ำมันดินที่ทำให้เครื่องยนต์สกปรก ขจัดยาก มีค่าบำรุงรักษาสูง อายุเครื่องยนต์สั้น และยังมีปัญหาด้านความปลอดภัยจากก๊าซคาบอนมอนนอกไซด์ หากพิจารณาพลังงานทดแทนอย่างอื่นได้ แกสซิฟิเคชั่นควรเป็นตัวเลือกหลังๆครับ

    ตอบกลับ

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *