การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
-
ดัชนีการใช้พลังงาน
ดัชนีการใช้พลังงานเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญที่จะใช้บอกต้นทุนและประสิทธิภาพการใช้พลังงานของระบบแสงสว่าง ซึ่งหลอดไฟและอุปกรณ์ประกอบเช่น บัลลาสต์รวมถึงโคมไฟฟ้าซึ่งมีหลายชนิดและแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน รวมทั้งการออกแบบที่ใช้ปริมาณความสว่างเกินมาตรฐานทำให้ต้องติดตั้งระบบแสงสว่างเกินความจำเป็น ดังนั้นดัชนีการใช้พลังงานจะสามารถใช้เปรียบเทียบในภาพรวมทั้งการใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ
- ดัชนีการใช้พลังงานในระบบแสงสว่าง คือ อัตราส่วนกำลังไฟฟ้าติดตั้ง (หลอดไฟฟ้าและบัลลาสต์) ต่อพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด หน่วย วัตต์ต่อตารางเมตร
- เกณฑ์ที่แนะนำ การเปรียบเทียบในระบบแสงสว่างที่ดีที่สุด คือ ร้อยละของดัชนีการใช้พลังงานหลังปรับปรุงจะลดลงกว่าก่อนปรับปรุง โดยค่าความสว่างในแต่ละพื้นที่เป็นมาตรฐานที่ต้องควบคุมและควรสอดคล้องกับค่าความส่องสว่าง
-
การตรวจประเมินเบื้องต้นด้านพลังงาน
เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นโดยอาศัยการสังเกตุเทียบกับค่ามาตรฐานที่ต้องควบคุมเป็นหลัก การบันทึกข้อมูลพื้นฐานและการตรวจวัดข้อมูลที่จำเป็น ตามรายการ Checklist ในตารางที่ 3.3 เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของระบบเบื้องต้นและเป็นการเตรียมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการคำนวณดัชนีการใช้พลังงานและการประเมินศักยภาพของการประหยัดพลังงานในขั้นตอนต่อไป
-
การตรวจประเมินด้านประสิทธิภาพพลังงาน
การวิเคราะห์ดัชนีในระบบไฟฟ้าแสงสว่างจะแตกต่างจากอุปกรณ์อื่น เพราะเป็นการเปรียบเทียบค่าดัชนีก่อนและหลังการปรับปรุงซึ่งพลังไฟฟ้าหลังปรับปรุงจะเกิดขึ้นได้เมื่อทำมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยมาตรการอนุรักษ์พลังงานจะถูกกำหนดขึ้นหลังจากการดำเนินการตรวจประเมินเบื้องต้นตามรายการการพิจารณาในระบบแสงสว่าง และการตรวจวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานของระบบแสงสว่าง ดังตารางที่ 1 และ 2
ตารางที่ 1 รายการการพิจารณาของระบบแสงสว่าง
หัวข้อ |
รายการ |
เกณฑ์การพิจารณา |
ผลการตรวจสอบ |
แนวทางแก้ไขและข้อแนะนำ |
|
สอดคล้อง |
ไม่สอดคล้อง |
||||
1 |
ตรวจสอบการทำความสะอาดหลอดโคมไฟฟ้า | หลอดและโคมไฟฟ้าสกปรกจะส่งผลให้ปริมาณแสงสว่างลดลง | -หลอดและโคมที่อยู่นอกห้องปรับอากาศควรทำความสะอาดทุกเดือนหรือตามสภาพ
-หลอดและโคมที่อยู่ในห้องปรับอากาศควรทำความสะอาดทุก 6 เดือนหรือตามสภาพ |
||
2 |
ตรวจวัดค่าความส่องสว่าง (Lux) | ค่าความสว่างในแต่ละพื้นที่ไม่ควรเกินมาตรฐาน | -ลดจำนวนหลอดลง 1 หลอดต่อโคม
-ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงและลดหลอด -ติดตั้งอุปกรณ์หรี่แสง -ลดขนาดของหลอดไฟฟ้า |
||
3 |
ตรวจสอบจำนวนสวิตซ์ควบคุม | จำนวนสวิตซ์ควบคุมจะต้องมีจำนวนเหมาะสมในการใช้งาน | -ติดตั้งสวิตซ์เพิ่ม
-ติดตั้งสวิตซ์กระตุกให้เข้ากับหลอดไฟที่สามารถปิดได้ -ย้ายตำแหน่งสวิตซ์ให้อยู่ในจุดที่ใช้งานได้สะดวก |
||
4 |
ตรวจสอบการเกิดไฟฟ้าแล้วไม่เกิดประโยชน์ | หลอดไฟฟ้าทุกหลอดจะต้องได้ประโยชน์เมื่อเปิดใช้งาน | - รณรงค์ให้แต่ละพื้นที่ปิดเมื่อไม่เกิดประโยชน์
-ออกข้อกำหนดให้ปิดไฟในช่วงเวลาพัก -ติดป้ายชี้บ่งและสติกเกอร์สีที่ปิดสวิตซ์ |
||
5 |
ตรวจสอบระดับความสูงในการติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ | หลอดฟลูออเรสเซนต์ควรติดตั้งที่ความสูงไม่เกิน 4 เมตร | -ลดระดับความสูงให้ใกล้กับจุดใช้งานให้มากที่สุด แล้วลดจำนวนหลอดไฟฟ้า | ||
6 |
ตรวจสอบตำแหน่งคอมไฟฟ้าตรงจุดใช้งาน | โคมไฟฟ้าควรจะตรงจุดใช้งาน | -ย้ายตำแหน่งโคมไฟฟ้าให้ตรงกับจุดใช้งาน
-จัดผังการทำงานให้ตรงกับโคมไฟฟ้า -ใช้หลอดไฟฟ้าเฉพาะจุดแทนหลอดไฟฟ้าที่ไม่ตรงจุดใช้งาน |
||
7 |
ตรวจสอบการให้แสงสว่างจากแบบรวมเป็นแบบเฉพาะจุด | การให้แสงสว่างแบบรวมจะสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าการให้แสงสว่างเฉพาะจุด | -ติดตั้งแสงสว่างเฉพาะจุดแล้วทำการลดแสงสว่างแบบรวม | ||
8 |
ตรวจสอบขนาดของหลอดไฟฟ้า | ขนาดหลอดไฟฟ้าควรเหมาะสมกับการใช้งาน | -ลดขนาดหลอดฟลูออเรสเซนต์จาก 40 W เป็น 36 W หรือ 18 W
-ลดขนาดหลอดแสงจันทร์จาก 400 W เป็น 250 W -ลดขนาดหลอดฮาโลเจน |
||
9 |
ตรวจสอบชนิดของหลอดให้เหมาะสมกับการใช้งาน | ชนิดหลอดที่ติดตั้งไม่เหมาะสมกับการใช้งานจริง | -เปลี่ยนจากหลอดแสงจันทร์เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือเมทัลฮาไลต์
-เปลี่ยนหลอดอินแคนเดสเซนต์เป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ |
||
10 |
ตรวจสอบการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติแทนแสงประดิษฐ์ | ใช้แสงธรรมชาติให้มากที่สุด | -ติดตั้งแผ่นโปร่งแสงที่ผนัง
-ติดตั้งแผ่นโปร่งแสงบนหลังคาโดยใช้แผ่นโปร่งแสงที่กัน UV และความร้อน |
||
11 |
ตรวจสอบการใช้แสงสว่างภายนอกอาคาร | ไม่ควรติดตั้งไฟที่ถนนและรั้วเกินความจำเป็น | -เลือกใช้หลอดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพแสงสูง
-ใช้โซลาร์เซลล์ -ลดขนาดของไฟฟ้า -ติดตั้ง Timer หรือ Sensor วัดแสง -ติดตั้งอุปกรณ์หรี่แสงอัตโนมัติ |
||
12 |
ตรวจสอบชนิดบัลลาสต์ | บัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดามีการสูญเสียประมาณ 10 W บัลลาสต์แกนเหล็กสูญเสียต่ำมีการสูญเสียประมาณ 5.5 W บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์มีการสูญเสียประมาณ 1 W | -เปลี่ยนบัลลาสต์จากแกนเหล็กเป็น Low loss
-เปลี่ยนบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาเป็นบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ |
||
13 |
ตรวจสอบชนิดคอมไฟฟ้า | โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพต่ำมีค่าการสะท้อนแสงต่ำ | -ติดแผ่นสะท้อนแสงแล้วลดจำนวนหลอดไฟฟ้าต่อโคม
-เปลี่ยนโคมไฟฟ้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้วลดจำนวนหลอดต่อโคม |
ตารางที่ 2 การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานของระบบแสงสว่าง
4. มาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงาน
4.1 การลดแสงสว่างที่เกินความจำเป็น เพื่อลดกำลังไฟฟ้าในระบบแสงสว่างโดยพิจารณาจากความสว่างในพื้นที่ที่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด
ตารางที่ 3 ค่ามาตรฐานความส่องสว่างและการใช้พลังงานสำหรับกิจกรรมประเภทต่างๆ ค่าความสว่างในอาคารตามมาตรฐาน CIE
4.2 การออกแบบอาคารหรือโรงงานให้ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เต็มที่ (Day light)
เพื่อลดจำนวนชั่วโมงการใช้งานในระบบแสงสว่างลง
-อาคารที่ใช้งานเฉพาะกลางวันสามารถออกแบบให้ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เต็มที่
-อาคารที่ใช้งาน 24 ชั่วโมง ต้องออกแบบระบบแสงสว่างให้ใช้ในเวลากลางคืนอย่างเต็มที่โดยอาจมีการแยกสวิตซ์สำหรับกลางวันและกลางคืน แนวทางการใช้แสงจากธรรมชาติหรือแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ (Day light) นอกจากการใช้หลังคาโปร่งแสงแล้วยังมีแนวทางอื่นเพิ่มเติมดังนี้
- Light Shelves
Light Shelves สามารถนำแสงธรรมชาติมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการติดตั้งวัสดุสะท้อนแสงให้แสงตกกระทบแล้วเกิดการสะท้อนขึ้นไปยังเพดานเพื่อให้เกิดความสว่างกระจายไปเข้าไปภายในห้อง
- Heat Stop Glass
Heat Stop Glass กระจกที่ใช้ควรมีค่าความต้านทานความร้อนสูงหรือประสิทธิ์ภาพการถ่ายเทความร้อนต่ำ (ค่า U-Value ต่ำ) แต่ยอมให้แสงสว่างเข้ามได้มา (ค่าVisible Light Transmittance สูง)
- Light Pipe
ท่อนำแสง (Light Pipe) สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้บริเวณที่แสงธรรมชาติไม่สามารถส่องเข้าไปได้ โดยภายในท่อนำแสงจะมีการเคลือบด้วยสารสะท้อนแสงเพื่อนำแสงสว่างเข้ามาในอาคาร
4.2.1 การเลือกวิธีให้แสงสว่างที่ตรงกับความต้องการ
เพื่อลดกำลังไฟฟ้าในระบบแสงสว่างให้เหมาะสม โดยทั่วไปมี 3 แบบ
- แสงสว่างทั่วไป (General Lighting) คือ การให้แสงกระจายทั่วไปทั้งบริเวณพื้นที่ใช้งานซึ่งใช้กับความส่องสว่างที่ไม่มากจนเกินไป
- แสงสว่างเฉพาะที่ (Locallised Lighting) คือ การให้แสงสว่างเป็นบางบริเวณที่ต้องการใช้ไฟแสงสว่างมาก เพื่อการประหยัดพลังงาน
แสงสว่างเฉพาะที่และแสงสว่างทั่วไป (General and Locallised Lighting) คือ การให้แสงสว่างทั้งแบบทั่วไปทั้งบริเวณและเฉพาะที่ที่ทำงาน ซึ่งมักใช้กับงานที่ต้องการความส่องสว่างสูงซึ่งไม่สามารถให้แสงแบบแสงสว่างทั่วไปได้เพราะเปลืองค่าไฟฟ้ามาก แต่ก็ไม่สามารถให้แสงแบบแสงสว่างเฉพาะที่ได้เพราะเมื่อเงยหน้าจากการทำงานก็จะพบบริเวณ ข้างเคียงมืดเกินไป ทำให้สายตาเสียได้
**ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง
1. ระดับความสว่างที่ต้องการ
2. ระดับการใช้สายตา
3. ความสะดวกในการติดตั้งและซ่อมบำรุง
4. เพื่อความสบายตาของผู้ใช้งาน ความสว่างในบริเวณต่างๆ ต้องไม่แตกต่างกันมาก
4.2.2 การเลือกใช้หลอดไฟและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง
เพื่อให้ลดกำลังไฟฟ้าในระบบแสงสว่างลงโดย
- เลือกใช้หลอดที่มีประสิทธิภาพการส่องสว่างสูง เช่น หลอด LED
- การเลือกใช้บัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง
- การเลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง
*การเลือกใช้อุปกรณ์แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ บัลลาสต์และโคมไฟฟ้าสามารถประหยัดพลังงานลงได้ 25-30% การควบคุมแสงสว่างให้เหมาะสมกับการใช้งานจะลดการใช้พลังงานลงได้อีก 30%การเลือกใช้อุปกรณ์แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ บัลลาสต์และโคมไฟฟ้าสามารถประหยัดพลังงานลงได้ 25-30% การควบคุมแสงสว่างให้เหมาะสมกับการใช้งานจะลดการใช้พลังงานลงได้อีก 30%
4.2.3 การจัดการที่เหมาะสม
เพื่อให้ลดกำลังไฟฟ้าหรือลดจำนวนชั่วโมงการใช้งานลง เช่น เลือกหลอดที่ให้ความสว่างเหมาะสมกับงานและสถานที่ เพิ่มการบำรุงรักษาโคมไฟฟ้าและหลอด จัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม
*หลักการประหยัดพลังงาน คือ ลดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ หรือ ลดชั่วโมงการทำงานหรือ ลดทั้ง 2 อย่าง
ตารางที่ 4 เปอร์เซ็นต์ผลประหยัดจากการลดจำนวนชั่วโมงการใช้งานอุปกรณ์
ตารางที่ 5 เปอร์เซ็นต์ผลประหยัดจากการใช้บัลลาสต์ประสิทธิภาพสูงในหลอดฟลูออเรสเซนต์
รายการ |
เดิม FL 18W+บัลลาสต์แกนเหล็ก |
เดิม FL 36W+บัลลาสต์แกนเหล็ก |
ใหม่ FL 18W + บัลลาสต์ Low Loss |
14 % |
9 % |
ใหม่ FL 18W + บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ |
29 % |
17 % |
ตารางที่ 6 เปอร์เซ็นต์ผลประหยัดจากการเปลี่ยนหลอด (รวบรวมจากกรณีที่พบในโรงงาน/อาคาร)
รายการเดิม |
รายการใหม่ |
% ผลประหยัด |
พื้นที่ใช้งาน |
หลอด T8 18W บัลลาสต์แกนเหล็ก | หลอด T5 14W EE-ballast |
42 |
สำนักงาน/โรงงาน |
หลอด T8 36W บัลลาสต์แกนเหล็ก | หลอด T5 28W EE-ballast |
34 |
สำนักงาน/โรงงาน |
หลอด T8 18W Low loss-ballast | หลอด T5 14W EE-ballast |
33 |
สำนักงาน/โรงงาน |
หลอด T8 36W Low loss-ballast | หลอด T5 28W EE-ballast |
28 |
สำนักงาน/โรงงาน |
Mercury 400W | Metal halide 250W |
35 |
โกดัง |
Par 100W | CFC 23W |
77 |
ไฟส่องต้นไม้ |
Metal halide 70W | CFC 26W |
62 |
ไฟรอบอาคาร |
Halogen 1500W | Hi-pressure sodium 400W |
73 |
ไฟส่องอาคารภายนอก |
Mercury 400W = 1 ชุด | FL 3x36W = 2 ชุด |
35 |
เพดานโรงงานสูงปานกลาง |
Hi-pressure sodium 300W= 1 ชุด | FL 1x92W = 1 ชุด |
68 |
ไฟทางเดิน |
ตารางที่ 7 เปอร์เซ็นต์ผลประหยัดจากการลดจำนวนหลอดต่อโคม
การประเมินผลประหยัดในระบบไฟฟ้าแสงสว่างโดยใช้ตารางที่ 4 – 7
- การวิเคราะห์ 1
% ผลประหยัดในแต่ละตาราง
- เช่น อาคารแห่งหนึ่งมีการใช้ไฟฟ้าในระบบแสงสว่าง 150,000 kWh/ปี ช่วงเวลาทำงาน 08:00 – 17:00 (9 ชั่วโมง) มีมาตรการปิดไฟวันละ 1 ชั่วโมงช่วงพักเที่ยงจงหาผลประหยัดที่เกิดขึ้น
- เปิดตารางที่ 4 โยงหา % ผลประหยัด = 11% (ก่อนปรับปรุง 9 ชั่วโมง หลังปรับปรุง 8 ชั่วโมง)
- ดังนั้นพลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้ = 16,500 kWh/ปี (11%x150, 000 kWh/ปี)
- การวิเคราะห์ 2
% ผลประหยัดรวม =1- [(1 -% ผลประหยัด1) x (1 -% ผลประหยัด2)]
- เช่น เดิมมีหลอดไฟ FL 3x36W ทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน มีมาตรการให้ลดจำนวนหลอดลง 1 หลอด/โคมและลดระยะเวลาเปิดใช้งานลง 6 ชั่วโมง/วัน
- การวิเคราะห์ผลประหยัด 1 เกิดจากการลดหลอดไฟ FL 3x36W เป็น FL 2x36W จากตารางที่ 7 = 33%
- การวิเคราะห์ผลประหยัด 2 เกิดจากลดชั่วโมงการใช้งานจาก 8 เหลือ 6 ชั่วโมง/วัน จากตารางที่ 4 = 25%
- ดังนั้นพลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้ = 4975 หรือ 49.75% คำนวณจาก {1-[(1-33%) x (1-25%)]}
- การวิเคราะห์ 3
% ผลประหยัดรวม =1- [(1-%ผลประหยัด1) x (1-% ผลประหยัด2) x (1-% ผลประหยัด3)]
- เช่น เดิม FL 3x36W ทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน เปลี่ยนเป็น FL 2x36W EE-ballast ทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
- การวิเคราะห์ผลประหยัด 1 เกิดจากการลดหลอดไฟ FL 3x36W เป็น FL 2x36W จากตารางที่ 7 = 33%
- การวิเคราะห์ผลประหยัด 2 เกิดจาก FL36W เปลี่ยนบัลลาสต์แกนเหล็กเป็น EE ballast จากตารางที่ 5 = 17%
- การวิเคราะห์ผลประหยัด 3 เกิดลดชั่วโมงการใช้งานจาก 8 เหลือ 6 ชั่วโมง/วัน จากตารางที่ 4 = 25%
- ดังนั้นพลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้ = 5829 หรือ 58.29% คำนวณจาก {1-[(1-33%) x (1-17%) x (1-25%)]}
สิ่งสำคัญที่สุดในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระบบแสงสว่างคือ การใช้แสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจัดให้มีแสงสว่างอย่างพอเพียงทั้งปริมาณและคุณภาพ แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด
ที่มา : คู่มือการตรวจวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน สำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม. การตรวจวัดและวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน ระบบแสงสว่าง. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (หน้า 3-7 - 3-13)