Bike for Dad ปั่นเพื่อพ่อ รวมพลังแห่งความกตัญญู และความสามัคคีทั่วประเทศปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558
พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชปณิธานที่จัดกิจกรรมจักรยานถวายเฉลิมพระเกียรติ และถวายความจงรักภักดี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร่วมกับพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศเพื่อถวามเป็นราชสดุดี โดยจะเป็นองค์ประธานนำขบวนจักรยาน ในวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2558 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมเทิดพระคุณพ่อ และเพื่อความสามัคคีของชาวไทยทั้งชาติ
นอกจากกิจกรรมดีดี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว การปั่นจักรยานยังให้ประโยชน์อีกหลายด้าน เช่น
1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ ซึ่งทั้ง 2 ข้อนี้เป็นเหตุหลักของการส่งผลให้เกิดความอดทนหรือ endurance ขึ้นแก่ร่างกาย และถ้าหากออกกำลังกายด้วยการเน้นเฉพาะ 2 ข้อนี้แล้ว ให้กลายเป็นการออกกำลังกายแต่เฉพาะในระดับ aerobic อย่างเดียว ก็จะสามารถลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี โดยเป็นการเพิ่มกระบวนการในการเผาผลาญไขมัน
3. เพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะได้ผลดีกับกล้ามเนื้อในส่วนล่างของร่างกาย จากการศึกษา พบว่าให้ผลในเรื่องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อทุกมัด แต่ที่่ได้ผลมากที่สุด จะเป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อต้นขาในส่วนหน้าขา
4. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบรักษาสมดุลของร่างกาย
5. ช่วยให้นอนหลับลึกกว่าเดิม
6. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ง่ายขึ้น และ
7. พื้นที่ในการจอดรถยนต์หนึ่งคัน สามารถใช้จอดจักรยานได้กว่า 20 คัน เราใช้วัตถุดิบและสารเคมีต่างๆ และพลังงาน ในการผลิตจักรยานหนึ่งคันน้อยกว่าการผลิตรถยนต์ถึงห้าเท่า และแน่นนอน จักรยานไม่ก่อมลพิษ การปั่นจักรยานยังประหยัดพลังงานมากกว่าการเดินถึงสามเท่าในระยะทางเท่าๆ กัน ผู้ผลิตรถยนต์สมัยนี้ชอบอวด “กิโล/ลิตร” – ว่ารถตัวเองใช้น้ำมันกี่ลิตรต่อระยะทางหนึ่งกิโล เจอจักรยานแล้วจะหนาว เพราะถ้าลองเปรียบเทียบพลังงานที่เราใช้ในการปั่นจักรยาน แปลออกมาให้เหมือนรถยนต์จะได้ประมาณ 4,705 กิโล/ลิตร
Source : www.unsplash.com
จักรยานลดโลกร้อน
ภาคคมนาคมขนส่งนั้นมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 13 ของปริมาณการปล่อยรวมในระดับโลก (ข้อมูลจาก IPCC, 2007) เทียบเท่าร้อยละ 23 ของการปล่อยก๊าซจากภาคการใช้พลังงาน ซึ่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซร้อยละ 74 มาจากปัจจัยด้านคมนาคมขนส่งทางถนน ในขณะที่ ประเทศไทยเอง ก็พบปริมาณการปล่อยก๊าซที่ร้อยละ 27 ของภาคการผลิตและการใช้พลังงาน (รายงานแห่งชาติฉบับที่ 2, 2543) จึงนับได้ว่า ภาคคมนาคมขนส่งจึงเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศ
จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกา (OECD, 2010) พบว่ารถยนต์ส่วนบุคคลเป็นตัวการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มากถึงร้อยละ 65 ของภาคคมนาคมขนส่ง โดยเมื่อเทียบกับรถยนต์ 1 คันจะสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ระดับเฉลี่ย 271 กรัมต่อการเดินทางระยะ 1 กิโลเมตร ซึ่งหากนำมาคำนวณกับปริมาณการใช้รถยนต์ที่เพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะในประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมการใช้รถคันแรก) ย่อมทำให้แนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สูงขึ้นไปอีกมาก
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ได้จัดการประชุมเพื่อเจรจาและหาแนวทางการรักษาระดับความเข้มข้น ของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ และอยู่ในระดับปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ ในทุกๆปี ซึ่งผลจากการประชุมนำไปสู่การสร้างกฎกติกาที่จะนำไปสู่การดำเนินงานระหว่างประเทศ และภายในประเทศต่อไป โดยล่าสุดจากการเจรจาในปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2556) เดินทางมาถึงการมีข้อตกลงฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2558 เพื่อจะมีผลทางกฎหมายบังคับใช้กับทุกประเทศในปี พ.ศ. 2563 ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายที่แต่ละประเทศตั้ง ไว้ ย่อมหมายถึงว่าในอนาคต ประเทศไทยต้องมีการกำหนดเป้าหมายและมีมาตรการในการลดก๊าซเรือน กระจกตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย
ประโยชน์ของการปั่นจักรยานนอกจากเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ปั่นเองแล้ว การปั่นจักรยานยังช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง ที่ผู้คนส่วนมากต้องติดอยู่ในรถยนต์ ท่ามกลางการจราจรที่คับคั่งในชั่วโมงเร่งด่วน ทั้งยังให้สภาพแวดล้อมรอบตัวเราน่าอยู่ขึ้น มลพิษต่างๆ ที่เกิดจากระบบคมนาคมสามารถลดลงได้ ข้อดีมากมายแบบนี้ เรามาปั่นจักรยานกันเถอะ...
ที่มา :
- https://www.bikefordad2015.com/
- http://peerapatsdu.blogspot.com/
- http://www.bikecarbonoffset.com/content/global_warming_and_bicycle
- http://www.duckingtiger.com/13-reasons-to-ride-a-bicycle/