iEnergyGuru

วันมะเร็งโลก (World Cancer Day)

วันมะเร็งโลก

4 กุมภาพันธ์

 

  

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) กำหนดให้เป็น วันมะเร็งโลก (World Cancer Day) โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของโรคมะเร็ง

มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรมส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโตมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็ว และมากกว่าปกติทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น เท่าที่มีรายงานไว้ในขณะนี้มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของโรคที่รุนแรงผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

ที่มา:  www.siamca.com, www.manager.co.th ,www.bangkokhealth.com ,www.health.kapook.com

ดังนั้น วิธีการรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสมของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น

สัญญาณอันตราย 7 ประการ

  1. มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
  2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
  3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
  4. มีเลือดออกผิดปกติ จากทวารต่างๆ
  5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
  6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
  7. มีก้อนตุ่มที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การรักษาโรคมะเร็ง

ที่มา:  www.thai-cancer-information.blogspot.com,www.panacee.com,

www.siam-health.org, www. ascannotdo.wordpress.com

1. การเฝ้าติดตามอาการ

มีมะเร็งบางประเภทที่ไม่แพร่กระจาย และเจริญเติบโตช้ามาก การรักษาจึงเฝ้าติดตามกาเปลี่ยนแปลงของมะเร็ง

2. การผ่าตัด

คือการผ่าตัดจะผ่าเอาเนื้องอกออกจากร่างกาย นอกจากนั้นบางรายอาจจะต้องผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งที่แพร่กระจายออกให้หมด

3. การฉายแสง

คือการใช้รังสีรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งแต่มีผลกับเซลล์ปกติน้อย อาการข้างเคียงคืออาการอ่อนเพลียไม่มีแรง

4. เคมีบำบัด

คือการให้สารเคมีหรือยาที่ทำลายเซลล์มะเร็งมีทั้งยาเม็ด ยาน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นยาฉีด มะเร็งบางชนิดให้ยาเพียงชนิดเดียวแต่ส่วนใหญ่จะยาสองชนิดขึ้นไป

5. การให้ฮอร์โมน

มะเร็งบางชนิดจะแบ่งตัวเมื่อมีฮอร์โมน การให้ยาเพื่อเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนทำให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่จะใช้รักษามะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

6. การรักษาอื่นๆ

เช่นการให้ภูมิเพื่อทำลายเซลล์เช่น interferon  เป็นต้น

วิธีการป้องกันโรคมะเร็ง

  1. ออกกำลังกายช่วยลดการเกิดมะเร็งและความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง
  2. กินผักผลไม้เพราะในผักผลไม้มีสารต้านอนุมูล รวมถึงเส้นใยอาหารที่ทำหน้าที่ไปกระตุ้นผนังลำไส้ใหญ่ให้สร้างเมือกมากขึ้น และทำให้เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่และลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งลำไส้กินอาหารหลากหลาย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ซ้ำซาก จำเจ และใหม่สด สะอาด
  3.  ตรวจร่างกายเป็นประจำ หมั่นตรวจความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

ที่มา:  www.hibstation.com, www.thaihealth.or.th, www.vcharkarn.com, www.thaihealth.or.th

Bibliography

nci.go.th. (NA). สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. Retrieved from http://www.nci.go.th/: http://www.nci.go.th/th/Knowledge/index_general.html

siamhealth.net. (NA). การป้องกันโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง. Retrieved from http://www.siamhealth.net/: http://www.siamhealth.net/public_html/index0/ca_main.htm#.VqbsepqLRdh

thaigov.go.th. (NA). กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนประชาชนร่วมรณรงค์ “วันมะเร็งโลก” ประจำปี 2558. Retrieved from http://www.thaigov.go.th/: http://www.thaigov.go.th/th/government-th1/item/89666-89666.html

วันมะเร็งโลก 4 กุมภาพันธ์

0 Reviews

Write a Review

Exit mobile version