พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย
ตอน พลังงานชีวภาพ
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เริ่มทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชดำริว่าในอนาคตอาจเกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมัน จึงมีพระราชประสงค์ให้ผลิตแอลกฮอล์จากอ้อยเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยพระราชทานเงินทุนวิจัยเป็นจำนวน 925,500 บาท
โครงการสวนจิตรลดาได้เริ่มศึกษาตั้งแต่ทดลองปลูกอ้อยกลายสายพันธุ์รวมทั้งมีการรับซื้ออ้ยจากเกษตรกรอีกด้วย เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดในการนมาผลิตเป็นแอลกฮอล์ โดยโรงงานผลิตแอลกฮอล์ เริ่มมีการเดินเครื่องจักรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 และสามารถผลิตแอลกฮอล์ 91% ได้ในอัตรา 2.8 ลิตต่อชั่วโมง ซึ่งในช่วงแรกแอลกฮอล์ที่ผลิตได้นั้นยังม่สามารถใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินได้ จึงมีการนำผลผลิตที่ได้ไปทำน้ไส้มสายชูและนำมาทำเป็นแอลกฮอล์แข็งใช้ในการอุ่นอาหารให้กับทางห้องเครื่องของสวนจิตรลดาแทน ต่อมาโรงงานผลิตแอลกฮอล์ได้มีการปรับปรุงการกลั่นแอลกฮอล์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถผลิตแอลกฮอล์บริสุทธิ์ได้ถึง 95% หรือที่เรียกว่า "เอทานอล" ได้สำเร็จ
เมื่อโรงงานแอลกฮอล์ของโครงการสวนจิตรลดาสามารถผลิตแอลกฮอล์บริสุทธิ์ 95% ได้สำเร็จอล้ว ได้มีการทดลองนำแอลกฮอล์ไปผสมกับน้ำมันเบนซินเพื่อใช้เติมในเครื่องยนต์ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากยังคงมีน้ำผสมอยู่ในแอลกฮอล์ด้วย จึงต้องมีการนำแอลกฮอล์ไปกลั่นเพื่อแยกน้ำออกจนกลายเป็นแอลกฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ก่อนนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินอีกครั้ง โดยในปี พ.ศ.2537 โครงการสวนจิตรลดาได้ขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพื่อให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับผสมกับน้ำมันเบนซิน 91 ในอัตราส่วน 1 : 9 จนได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยใช้น้ำมันดังกล่าวเติมให้กับรถยนต์ทุกคันของโครงการสวนจิตรลดา
วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดโรงงานผลิตแอลกฮอล์โรงใหม่ โดยโรงกลั่นใหม่นี้มีกำลังการปลิตแอลกฮอล์ได้ 25 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งในกระบวนการกลั่นจะมีน้ำกากส่าที่ถือเป็นน้ำเสียออกมาจากกระบวนการด้วย จึงได้มีการนำน้ำกากส่าที่ได้มาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ต่อไป ซึ่งในปัจจุบันสถานีบริการเชื้อเพลิงในโครงการสวนจิตรลดา นอกจากจะผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพื่อใช้เติมให้กับรถทุกคันของโครงการแล้ว งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงของโครงการยังถือเป็นแหล่งความรู้แก่ประชาชนที่สนใจอีกด้วย
Bibliography
กระทรวงพลังงาน, ส. (NA). พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย. Retrieved from http://www2.eppo.go.th: http://www2.eppo.go.th/royal/m1700_0020.html