iEnergyGuru

ภูมิภาคอาเซียนเริ่มจริงจังกับการลด CO2 บนพื้นฐานความเป็นจริงของแต่ละประเทศ

ภูมิภาคอาเซียนเริ่มจริงจังกับการลด CO2

บนพื้นฐานความเป็นจริงของแต่ละประเทศ

อาเซียน

ภูมิภาคอาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่กำลังมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าประชากรของกลุ่มอาเซียนจะมีจำนวนรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.1 ของโลก แต่ในแง่ของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลุ่มอาเซียนมีสัดส่วนดารปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงร้อยละ 3.5 ของโลก ถึงแม้ว่าอาเซียนจะมีสัดส่วนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆของโลก แต่อาเซียนก็ได้มีความพยายามที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยล่าสุดการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change – UNFCCC) สมัยที่ 21 (COP 21) ในวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 11 ธันวาคม 2558 ณ กรุงปารีส ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในบรรดา 190 ประเทศ ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง

โดยแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้มีการกำหนดแผนการลดการปลดปล่อย CO2 ภายในปี 2573 โดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่มา: https://goo.gl/yFUf08

1.ประเทศไทย ได้มีการตั้งเป้าหมายในการลด CO2 ให้ได้ร้อยละ 20-25 ภายนปี 2573 โดยการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 20 รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า และส่งเสริมการประหยัดพลังงานโดยคาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ถึงร้อยละ 30 ภายในปี 2579 เมื่อเทียบกับปี 2553

ที่มา: https://goo.gl/4QOGoK

 2. ประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีการตั้งเป้าหมายในการลด CO2 ให้ได้ถึงร้อยละ 70 ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในบรรดาประเทศในกลุ่มอาเซียน แต่การลด CO2 นี้อยู่ภายใต้เงื่อนไข การรับเงินอุดหนุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้ความร่วมมือของนานาชาติ โดยจะมีการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนขึ้นร้อยละ 37 ภายในปี 2579 และบริโภคพลังงานในทุกภาคส่วนลงคิดเป็นร้อยละ 10

ที่มา: https://goo.gl/nh03rg

3. ประเทศสิงคโปร์ มีการตั้งเป้าหมายในการลด CO2 ให้ได้ร้อยละ 36 ภายในปี 2573 สาเหตุที่ทำให้สิงคโปร์ลด CO2 ได้น้อยเนื่องจากข้อจำกัดของสภาพภูมิประเทศ ทำให้ขาดแคลนพลังงานหมุนเวียน และมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก แต่จะมุ่งเน้นไปที่การใช้มาตรการประสิทธิภาพพลังงาน และใช้เทคโนโลยีที่ช่วยดการปล่อย CO2 แทน

ที่มา: http://www.uasean.com/kerobow01/70

4. ประเทศอินโดนิเซีย ได้มีการตั้งเป้าหมายในการลด CO2 ลงร้อยละ 29 แต่จะเพิ่มเป้าหมายเป็นร้อยละ 41 เมื่อได้รับเงินสนับสนุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้ความร่วมมือของสากล โดยมีแผนการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 23 ในปี 2568 และนำขยะภายในประเทศมาผลิตเป็นพลังงาน

ที่มา: http://malaysia-db.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html

5. ประเทศมาเลเซีย ได้มีการตั้งเป้าหมายการลด CO2 ลงร้อยละ 35 แต่จะเพิ่มเป้าหมายเป็นร้อยละ 45 หากได้รับเงินสนับสนุนเช่นเดียวกับประเทศอินโดนิเซีย มาตรการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย คือ เพิ่มการใช้พลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิล และมีการสนับสนุนการลงทุนด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว

ที่มา: https://goo.gl/mUeeFO

6. ประเทศเวียดนาม ได้มีการตั้งเป้าหมายการลด CO2 ลงร้อยละ 8 แต่จะเพิ่มเป้าหมายเป็นร้อยละ 25หากได้รับเงินสนับสนุนเช่นเดียวกับประเทศอินโดนิเซียและมาเลเซีย โดยเวียดนามมีแผนในการพัฒนาเทคโนโลยีจากพลังงานหมุนเวียนควบคู่ไปกับการส่งเสริมการประหยัดพลังงานในประเทศ และมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศด้วย

ที่มา: https://goo.gl/SbfTWu

7. ประเทศกัมพูชา ได้มีการตั้งเป้าหมายการลด CO2 โดยแยกเป็นรายภาค คือ ภาคพลังงานร้อยละ 16 ภาคการผลิตร้อยบะ 7 และภาคการขนส่งร้อยละ 3 ในส่วนของภาคพลังงานมีแผนส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า อีกทั้งยังตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ป่าร้อยละ 60 ในปี 2573

ที่มา: http://www.thai-aec.com/756

8. ประเทศบรูไน ได้มีการตั้งเป้าหมายการลด CO2 โดยการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าร้อยละ 10 ในปี 2578 โดยเน้นไปที่พลังงานแสงอาทิตย์ และมีการลดการบริโภคพลังงานในภาพรวมลงร้อยละ 63 ในปี 2578 ในภาคขนส่งจะดการปล่อย CO2 จากรถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วนให้ได้ร้อยละ 40 ในปี 2578

ที่มา: http://www.myanmarcraft.com/2015/05/Yangon.html

9. ประเทศเมียนมาร์ ไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายการลด CO2 แต่มีแผนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำเพิ่มขึ้น ในปี 2573 โดยตั้งเผ้าหมายให้มีกำลังผลิตที่ 9400 เมกกะวัตต์ และมีการนำพลังงานหมุนเวียนอื่นๆมาผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม

ที่มา: https://goo.gl/JqH5fK

10. ประเทศลาว เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่มีการตั้งเป้าหมายในการลด CO2 แต่จะเพิ่มสัดส่วนในการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 30 จากการบริโภคพลังงานทั้งหมดภายในปี 2568 และเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำเพื่อขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตไว้ที่ 5500 เมกกะวัตต์ในปี 2563

โดยเป้าหมายในการลดการปลดปล่อย CO2 และมาตรการต่างๆ ที่แต่ละปะรเทศตั้งขึ้นนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับศักยภาพ เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมของประเทศ จากเป้าหมายของแต่ละปรเทศทำให้เห็นว่า เรื่องของโลกร้อนไม่ใช่ความรับผิดชอบของประเทศใดประเทศหนึ่งในโลก แต่เป็นความรับผิดชอบร่วกันของทุกๆประเทศ โดยอยู่บนพื้นฐานของความจริงและความเข้าใจในบริบทของแต่ละประเทศ


Bibliography

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2016, March 15). อาเซียนจริงจังกับการลด CO2 บนพื้นฐานความเป็นจริงและบริบทของแต่ละประเทศ. Retrieved from http://www.egat.co.th/: http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1415:article-20160315-01&catid=49&Itemid=251

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (NA). อาเซียนจริงจังกับการลด CO2 บนพื้นฐานความเป็นจริงและบริบทของแต่ละประเทศ. Retrieved from http://www.tgo.or.th/: http://www.tgo.or.th/2015/thai/news_detail.php?id=1112

0 Reviews

Write a Review

Exit mobile version