iEnergyGuru

แนวโน้มการใช้รถยนต์ดีเซลเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

แนวโน้มการใช้รถยนต์ดีเซลเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การใช้รถยนต์ดีเซล

การปล่อยมลพิษจากการใช้ถ่านหินลดลงในขณะที่การปล่อยมลพิษจากยานยนต์มีปริมาณเพิ่มขึ้น

(ที่มาของรูปภาพ website : bbc)

การใช้รถยนต์ดีเซล ในปี 2017 พบว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิสลดลง 2.6% โดยสาเหตุหลักมาจากการลดการใช้ถ่านหินลง 19% นั่นเอง โดยเป็นผลต่อเนื่องมาจากปี 2016 ซึ่งอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 5.8% และอัตราการใช้ถ่านหินลดลง 52% ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Carbon Brief ทว่าอัตราการปล่อยมลพิษกลับทวีคูณขึ้นจากการใช้ยานยนต์ โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวได้จากสถิติการใช้พลังงานที่สรุปโดยรัฐบาล ซึ่งมีการรายงานเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทุกปีประมาณปลายเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ Carbon Brief ได้มีการประเมินอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เบื้องต้นไว้อย่างถูกต้องและในปีนี้พบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศอังกฤษลดลงกว่าปี 1990 ถึง 38% ซึ่งอัตราการลดลงคงที่ตั้งแต่ปี 2012 และลดลงต่ำสุดในปี 2014 และปี 2016 ทว่ายังลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2017 ในขณะที่การใช้น้ำมันและปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่มากเท่ากับการลดลงของอัตราก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการใช้พลังงานรูปแบบอื่น

เราอาจต้องย้อนกลับไปดูเรื่องการใช้ยานยนต์?

เนื่องจากยานพาหนะถือเป็นสาเหตุหลักของปัญหาที่รัฐบาลกำลังกังวลเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีการปล่อยมลพิษจากปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2000 โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ประท้วงและต่อต้านแนวโน้วของประชาชนที่มีต่อการใช้ยานยนต์ดีเซลซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหามลพิษทางอากาศ ในขณะที่นักสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าปัญหามลพิษนั้นเกิดจากแนวโน้มการผลิตรถยนต์ SUV

ปรับลดภาษีการใช้ยานยนต์ประหยัดพลังงาน

Alex Buttle จากเว็บไซต์ Motorway.co.uk กล่าวว่า "เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากแคมเปญต่อต้านการใช้ยานยนต์ดีเซลที่ทำขึ้นมาสักเท่าไหร่" ซึ่งเขาเรียกร้องให้มีการพักหรือปรับลดภาษีสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน ทว่า Paul Morozzo จาก Greenpeace บอกกับทาง BBC News ว่า “การลดราคารถยนต์ SUV ส่งผลกระทบต่ออัตราการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทำให้การรณรงค์ลดใช้เครื่องยนต์ดีเซลไม่เป็นผล”“ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่ได้มีความพยายามที่จะดำเนินการใด ๆ เพื่อจัดการกับปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือมลพิษทางอากาศที่เกิดจากรถยนต์ที่พวกเขาผลิตออกมาเลย” เขากล่าวเพิ่มเติม อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษี ก่อนหน้านี้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษต่ำจะได้รับการงดเว้นภาษี

 

แต่ในปี 2015 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง George Osborne กลับรวมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนให้มีการเสียภาษีเช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป ทำให้เจ้าของรถ Porsche จ่ายภาษีเท่ากันกับผู้ใช้รถประหยัดพลังงานอย่าง Toyota Prius โดย Edmund King ประธานบริษัท AA ได้คาดเดาสถานการณ์ไว้ว่า “มันกลับกลายเป็นปรากฏการณ์สวนกระแสเสียมากกว่า เพราะไม่มีแรงจูงใจใด ๆ ที่จะทำให้ผู้ขับขี่ยวดยานต้องการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมากกว่ารถยนต์ดีเซลธรรมดา ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จึงไม่ได้รับความกดดันจากการต้องผลิตยานยนต์ประหยัดพลังงานนั่นเอง”และดูเหมือนว่าแนวโน้มของปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเป็นไปอย่างที่ Edmund King คาดเดาไว้ไม่มีผิด

(ที่มาของรูปภาพ website : acea)

 

เรียบเรียงโดย นาย ศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตย์ ทีมงาน iEnergy Guru

เอกสารอ้างอิง

http://www.bbc.com/news/science-environment-43308567

http://www.acea.be/news/article/co2-emissions-from-cars-down-1.2-in-2016-2017-market-trends-likely-to-pose

http://lonelynature.com/cars-buck-falling-co2-emissions-trend/

แนวโน้มการใช้รถยนต์ดีเซลเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

0 Reviews

Write a Review

Exit mobile version