ลมนอกชายฝั่ง พลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย California Polytechnic พบแนวโน้มที่ดีเกี่ยวกับวงการพลังงาน เนื่องจากรัฐแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งเป้าหมายว่าภายในปีค.ศ. 2030 จะมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในชีวิตประจำวันประมาณ 60% ของพลังงานที่ใช้ในทั้งหมด และคาดหมายว่าภายในปีค.ศ. 2045 จะนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ทั้งหมด 100%
ปัจจัยการผลิตเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการผลักดันพลังงานหมุนเวียนให้ตอบโจทย์ชาวเมืองอย่างมาก เนื่องด้วยปัจจุบันกำลังการผลิตของพลังงานหมุนเวียนดูเหมือนจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหมุนเวียนหนึ่งที่มีเพียงพอ แม้แนวโน้มความนิยมเริ่มแพร่หลายมากขึ้น แต่มีข้อแม้คือพลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถใช้ได้หลักๆแค่ตอนกลางวัน เนื่องจากระบบการจัดเก็บหรือสะสมพลังงานจากแสงอาทิตย์ ยังสามารถเก็บได้ในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์หลังพระอาทิตย์ตกดิน พลังงานจากลมบกที่ผลิตได้ก็ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยหากเทียบกับสัดส่วนการบริโภคเช่นกัน มนุษย์จึงจำเป็นที่จะต้องกลับมาพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดอื่นแทน
ทีมวิจัยของ มหาวิทยาลัย California Polytechnic นำโดย Yi-Hui Wang นักวิทยาศาสตร์, Ben Ruttenburg กับ Crow White อาจารย์ด้านชีววิทยา, และ Ryan Walter นักฟิสิกส์ พบว่าพลังงานลมนอกชายฝั่งมีกำลังมาก หากเทียบกับแรงลมบนฝั่งที่มีแรงลมน้อยทำให้สามารถผลิตพลังงานจากกระแสลมได้น้อยในทางเดียวกัน เข็มของงานวิจัยนี้จึงถูกเบนไปในทิศทางของลมนอกชายฝั่งเป็นหลัก
ทีมวิจัยกล่าวไว้ว่ามีการคำนวณเบื้องต้นถึงความสามารถในการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากแรงลมนอกชายฝั่งเทียบกับความต้องการในการบริโภคของมนุษย์ ซึ่งสรุปออกมาได้ว่าพลังงานจากการผลิตด้วยแรงลมนอกชายฝั่งมีค่าใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคมากที่สุด แม้แต่ในช่วงที่อากาศร้อนที่สุดของปี มนุษย์มีความต้องการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศทั้งเมือง ในทางเดียวกันแรงลมนอกชายฝั่งในวันที่อากาศร้อนก็มีความแรงมากขึ้น สม่ำเสมอมากขึ้น เช่นเดียวกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ผสมกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตพลังงานได้เพิ่มขึ้นตามปริมาณแสงที่ส่องลงมา ทำให้ทีมงานมั่นใจมากถึงความเพียงพอต่อค่าพลังงานหมุนเวียนที่คาดว่าจะใช้กันในอนาคต
ลมนอกชายฝั่ง ความเร็วลมที่มากที่สุดอันนำมาซึ่งการผลิตพลังงานได้มากที่สุดพบเจอได้บริเวณนอกชายฝั่ง
ฟาร์มกังหันลมใกล้ชายฝั่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในบริเวณที่ความสูงน้ำไม่เกิน 160 ฟุต อย่างไรก็ตามในยุโรปก็เริ่มมีการวางแผนสร้างระบบกังหันลมลอยน้ำบริเวณน้ำลึกมากขึ้น เนื่องจากงานวิจับพบว่ากังหันลมลอยน้ำที่ผลิตพลังงานจากลมนอกชายฝั่งมีกำลังผลิตกระแสไฟที่เพียงพอต่อ 10,000 ครัวเรือน
สำนักงานการจัดการพลังงานในมหาสมุทรผู้ซึ่งออกทุนวิจัยเกี่ยวกับกังหันลมนอกชายฝั่ง ได้เลือก Central Coast เป็นแหล่งวิจัยหลักแห่งแรกเพื่อติดตั้งระบบกังหันลมนอกชายฝั่ง และได้ยื่นข้อเสนอในการเช่าพื้นที่อันมีค่าแก่เหล่าบริษัทพลังงาน โดยมีมหาวิทยาลัย California Polytechnic เป็นผู้วิจัยพร้อมกับคอยเสนอข้อมูลด้านต่างๆไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอด
นักชีววิทยายังกล่าวถึงปัจจัยจากแผนที่ทะเล และศึกษากิจกรรมและการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำในบริเวณนอกชายฝั่ง เช่นวาฬ หรือนกทะเล เพื่อศึกษาต่อในด้านสิ่งแวดล้อม จะสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้และวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นให้มากที่สุด และวิเคราะห์แบบแผนการสร้างกังหันลมเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำมากที่สุด
ทางด้านเศรษกิจก็มีการคำนวณความเหมาะสมระหว่างจำนวนของกังหันลมและความต้องการในการใช้พลังงาน โดยมีการวิเคราะห์ผลในวงกว้างของเมือง San Luis Obispo โดยทีมวิจัยของ California Polytechnic เช่นกัน
Cr: Reserchgate : https://www.researchgate.net/publication/222696870_California_offshore_wind_energy_potential
Sciencedaily: https://www.sciencedaily.com/releases/2020/09/200908170537.htm