iEnergyGuru

กฎความสัมพันธ์ “ปั๊มน้ำ – พัดลม”


กฎความสัมพันธ์ "ปั๊มน้ำ - พัดลม"

ปั๊มน้ำ

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มแรงดันและเพิ่มพลังงานให้แก่น้ำ แบ่งตามลักษณะการขับดันของของเหลวในปั๊มน้ำ ออกเป็น 2 ประเภทคือ

ประเภทของปั๊มน้ำ (แบ่งตามลักษณะขับดันของของเหลว)

ปริมาตรแทนที่เชิงบวกหรือแทนที่โดยตรง (Positive Displacement)

หลักการทำงานคือ ดูดของไหลเข้าห้องปิดแล้วลดปริมาตรของห้องนั้นให้เล็กลงเพื่อให้ความดันเพิ่มขึ้น ปั๊มน้ำกลุ่มนี้ได้แก่ ปั๊มน้ำลูกสูบและปั๊มน้ำโรตารี่

ปริมาตรแทนที่ไม่เชิงบวก (Non-positive displacement) หรือไดนามิก (Dynamic)

หลักการทำงานคือ ใช้ใบพัดที่หมุนด้วยความเร็วสูงส่งถ่ายพลังงานเข้าสู่ของไหลโดยตรง ปั๊มน้ำกลุ่มนี้ได้แก่ ปั๊มน้ำแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ปั๊มน้ำแบบไหลตามแกน และปั๊มน้ำแบบไหลผสม (Mixed flow pump)

ความหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับปั๊มน้ำและพัดลม

กำลังงาน (P) ที่ใช้ขับปั๊มน้ำ หรือพัดลม มีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ (kW)
เฮด (H) ค่าความดันแสดงอยู่ในรูปของระดับความสูงของน้ำหรืออากาศแล้วแต่กรณี

พัดลม

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดการไหลของอากาศ โดยทำหน้าที่บังคับอากาศให้เคลื่อนที่ด้วยความกดดันต่ำๆ ประเภทของพัดลมตามลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่

ประเภทของพัดลม (ลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศ)


พัดลมแบบหมุนเหวี่ยง (Centrifugal flow fan)หลักการทำงานอากาศจะไหลเข้าขนานกับแกนของใบพัดและจะไหลออกในแนวตั้งฉากกับแกนของใบพัดหรือในแนวรัศมี พัดลมแบบอากาศไหลตามแนวแกน (Axial flow fan)อากาศจะไหลเข้าและออกขนานกับการหมุนของใบพัดและตั้งฉากกับระนาบการหมุนของใบพัด

กฎความสัมพันธ์ "ปั๊มน้ำ - พัดลม" (Affinity Laws)

แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้

การต่อร่วมแบบขนาน เป็นการเพิ่มอัตราการไหลของระบบ โดยค่าเฮด หรือแรงดันน้ำเท่าเดิม การต่อร่วมแบบอนุกรม เป็นการเพิ่มแรงดันน้ำของระบบ โดยไม่เพิ่มอัตราการไหล

Bibliography
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2555). การตรวจวิเคราะห์การอนุรัก์พลังงาน ในปั๊มน้ำ และพัดลม. In กระทรวงพลังงาน, คู่มือการตรวจวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (pp. 7-1 - 7-3).

0 Reviews

Write a Review

Exit mobile version