ในโลกปัจจุบันเราได้พบเห็นกังหันลมที่ตั้งขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งพื้นที่ชายฝั่งริมทะเล และบริเวณเชิงเขา ซึ่งมีกังหันลมที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าหลายรูปแบบ แต่ก่อนที่เราจะไปพูดกันถึงกังหันลมผลิตไฟฟ้ารูปแบบต่างๆ เรามาทำความรู้จักกับผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ให้กำเนิดกังหันลมในการผลิตไฟฟ้ากันก่อนครับ
1. พอล ลา คัวร์ (Poul la Cour) ผู้บุกเบิกกังหันลมผลิตไฟฟ้าสมัยใหม่
พอล ลา คัวร์
ที่มา : http://www.pierrelacour.dk/wp-content/uploads/2013/05/74Md.jpg
พอล ลา คัวร์ (ค.ศ. 1846-1908) ชาวเดนมาร์ค เป็นผู้บุกเบิกกังหันลมผลิตไฟฟ้าสมัยใหม่ (ใช้หลักการทางอากาศพลศาสตร์) เขาเป็นทั้งนักอุตุนิยมวิทยา นักประดิษฐ์ และนักการศึกษา พอล ลา คัวร์ ได้สร้างกังหันลมสมัยใหม่ โดยสร้างอุโมงค์ลมของเขาเองสำหรับการทดสอบกังหันลม นอกเหนือจากนี้ ยังสนใจเกี่ยวกับการจัดเก็บพลังงานโดยการใช้ไฟฟ้าจากกังหันลมป้อนเข้าเครื่องแยกนํ้าด้วยไฟฟ้าเพื่อใช้ผลิตไฮโดรเจน (ซึ่งเป็นการเก็บพลังงานรูปแบบหนึ่ง)และยังได้ตีพิมพ์ “The Journal of Wind Electricity” ซึ่งเป็นวารสารฉบับแรกของโลกที่กล่าวถึงการใช้พลังงานลมในการผลิตไฟฟ้า
ที่มา : http://www.poullacour.dk/images/forsogsmollerne.jpg
ห้องทดสอบของ พอล ลา คัวร์
ที่มา : http://www.folkecenter.net/
2. ชาร์ลส เอฟ บรัช (Charles F. Brush) ผู้สร้างกังหันลมผลิตไฟฟ้าอัตโนมัติตัวแรกของโลก
ที่มา : https://upload.wikimedia.org
ชาร์ลส เอฟ บรัช (ค.ศ. 1849-1929) เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอุตสาหกรรมไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงที่มีประสิทธิภาพสูง หลอดไฟฟ้าแบบอาร์ค วิธีการผลิตแบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่มีประสิทธิภาพในปี ค.ศ. 1887-1888 บรัชได้สร้างกังหันลมผลิตไฟฟ้าอัตโนมัติตัวแรก เป็นกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก เส้นผ่านศูนย์กลาง17 เมตร มีใบพัด 144 ใบ ทำด้วยไม้ ใช้งานได้เป็นเวลาถึง 20 ปี เพื่อบรรจุแบตเตอรี่ ทั้งๆ ที่เป็นกังหันลมขนาดใหญ่ แต่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขนาดเพียง 12 กิโลวัตต์ เนื่องจากกังหันลมหมุนช้าและมีประสิทธิภาพตํ่า ซึ่งตํ่ากว่ากังหันลมของ พอล ลา คัวร์
ที่มา : https://upload.wikimedia.org
3. โยฮัน จูล (Johannes Juul) ผู้บุกเบิกการพัฒนากังหันลมผลิตไฟฟ้ากระแสสลับตัวแรกของโลก
โยฮัน จูล
ที่มา : https://upload.wikimedia.org
โยฮัน จูล เป็นวิศวกรชาวเดนมาร์ค เป็นนักเรียนกลุ่มแรก ๆ ของ พอล ลา คัวร์ ในวิชา “Wind Electricians” ในปี ค.ศ. 1904 โดยในทศวรรษที่ 1950 เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนากังหันลมผลิตไฟฟ้ากระแสสลับตัวแรกของโลก และต่อมาในปี ค.ศ. 1956-1957 ได้สร้างกังหันลมสมัยใหม่ขนาด 200 กิโลวัตต์ สำหรับบริษัทผลิตไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่ง Gedser ทางตอนใต้ของประเทศเดนมาร์ก เป็นกังหันลมชนิดหันหน้าเข้าสู่ลม ใช้มอเตอร์สำหรับควบคุมการหาทิศทางลมใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบอะซิงโครนัส (asynchronous generator) และใบพัดของกังหันลมทั้งสามใบถูกยึดโยงเข้าด้วยกัน การควบคุมกำลังไฟฟ้าที่ผลิตโดยใช้หลักการสูญเสียแรงยก และมีระบบหยุดฉุกเฉินโดยใช้เบรกที่ปลายใบพัด ซึ่งจะทำงานโดยใช้แรงหนีศูนย์กลาง กังหันลมที่สร้างเป็นกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่เป็นระยะเวลานาน และสามารถทำงานได้ถึง 11 ปี โดยไม่ต้องทำการบำรุงรักษา
ที่มา : http://xn--drmstrre-64ad.dk/wp-content/wind
กังหันลมสมัยใหม่ของโยฮัน จูล ขนาด 200 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่ชายฝั่ง Gedser ทางตอนใต้ของประเทศเดนมาร์ก
ที่มา : http://www.windsofchange.dk
Bibliography
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2557). พลังงานลม. In กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, สารานุกรมพลังงานทดแทน (pp. 283, 288, 292). กรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย.