ขนาดของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
ขนาดของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำนั้นแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่
- โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ (Large hydroelectric power plant)
- โรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดเล็ก (Small hydroelectric power plant, mini hydroelectric power plant)
- โรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดจิ๋ว (Micro hydroelectric power plant)
1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่
(Large hydroelectric power plant)
โรงไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้ามากกว่า 30 เมกะวัตต์ ตัวอย่างเช่น โครงการไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดใหญ่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก มีกำลังผลิต 779.2 เมกะวัตต์ เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำลังผลิต 240 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดใหญ่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 รวม 2,886.27 เมกะวัตต์
Source : http://www.photoontour9.com/
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เป็นโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดใหญ่ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
มีกำลังผลิตไฟฟ้า 779.2 เมกะวัตต์
2. โรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดเล็ก
(Small hydroelectric power plant, mini hydroelectric power plant)
โรงไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังผลิตอยู่ระหว่าง 200 กิโลวัตต์ ถึง 30 เมกะวัตต์ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังนํ้าคีรีธาร จังหวัดจันทบุรีเป็นโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดเล็กที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน มีกำลังผลิตไฟฟ้า 12.20 เมกะวัตต์ สามารถสรุปเป็นตารางกำลังการผลิต ที่อยู่ภายใต้การดูแลของแต่ละหน่วยงาน ดังนี้
- หน่วยงานรับผิดชอบ
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- กำลังการผลิต (MW)
- 60.46
- 43.32
- 8.65
โรงไฟฟ้าพลังน้ำคีรีธารา จังหวัดจันทบุรี
3. โรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดจิ๋ว
(Micro hydroelectric power plant)
โรงไฟฟ้ามีขนาดกำลังผลิตน้อยกว่า 200 กิโลวัตต์ ตัวอย่างเช่น โครงการผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าระดับหมู่บ้าน ที่บ้านแม่กำปองอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 80 กิโลวัตต์ ดูแลโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
โครงการไฟฟ้าพลังนํ้า แม่กำปอง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่โรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดเล็กในประเทศไทย
(Small hydroelectric power plant map in Thailand)
โครงการไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดเล็กเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 200 กิโลวัตต์ขึ้นไป กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ถึงปี พ.ศ. 2555 ก่อสร้างแล้วเสร็จรวม 25 แห่ง และได้โอนไปอยู่ภายใต้การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3 แห่ง โดยยังอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) 22 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 43.318 เมกะวัตต์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เฉลี่ยต่อปี 124.32 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือผลิตพลังงานได้เทียบเท่านํ้ามันดิบ 27.54 พันตันนํ้ามันดิบ ลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 72,254 ตัน นอกจากนี้ ยังมีโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดเล็กที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 4 โครงการ คือโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าคลองทุ่งเพล จังหวัดจันทบุรี โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าลุ่มนํ้าน่านตอนบน จังหวัดน่าน โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าแม่กะไน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าห้วยแม่อุสุ จังหวัดตาก
Source : http://www.dede.go.th
แผนที่แสดงที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังนํ้าในประเทศไทย ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2558
Bibliography
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2557). ไฟฟ้าพลังน้ำ. In กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, สารานุกรมพลังงานทดแทน (pp.255, 261). กรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย.