iEnergyGuru

Autoclaved Aerated Concrete: คอนกรีตมวลเบา

รูปที่ 1 แสดงคอนกรีตมวลเบา

Source : f-blockbrick.com (2015, September 29)

 

 

1. ลักษณะทั่วไป

คอนกรีตมวลเบา (Autoclaved Aerated Concrete) เป็นวัสดุก่อที่มีการนำมาใช้ และเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้มากกว่าวัสดุก่อชนิดอื่นที่มีมา โดยตัววัสดุเองมีส่วนผสมมาจาก ทราย ซีเมนต์ ปูนขาว น้ำ ยิปซั่ม และผงอลูมิเนียมผสมรวมกัน แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือฟองอากาศเล็กๆ เป็นรูพรุนไม่ต่อเนื่อง (Disconnecting Voids) ที่อยู่ในเนื้อวัสดุมากประมาณ 75% ทำให้น้ำหนักเบา ซึ่งผลของความเบาจะช่วยให้ประหยัดโครงสร้าง อีกทั้งฟองอากาศเหล่านั้น ยังเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี คุณสมบัติเฉพาะของคอนกรีตมวลเบา ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบา

รูปที่ 2 แสดงการก่อคอนกรีตมวลเบา

Source : mini-engineer-thai.info (2015, September 29)

2. การประยุกต์การใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุ

ด้วยเหตุที่คุณสมบัติด้านการป้องกันความร้อนของคอนกรีตมวลเบาต่อการใช้งานในปัจจุบัน อยู่ในระดับที่ดีและเพียงพอแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการหรือวัสดุประกอบอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริม เพราะจะยิ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากลำพังตัววัสดุเองก็มีราคาค่อนข้างสูงอยู่แล้ว แต่ข้อด้อยของวัสดุชนิดนี้ คือขั้นตอนในการก่อสร้าง ที่พบปัญหามากที่สุดคือการแตกร้าวของปูนฉาบเมื่อแห้งแล้ว ฉะนั้นแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด คือการที่จะต้องมีการฝึกอบรมให้ช่างก่อสร้างทั่วไปมีความสามารถ และมีความรู้ที่ถูกต้องในการใช้งานกับวัสดุชนิดนี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยที่ทางผู้ผลิตควรเป็นผู้ให้การแนะนำ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในคุณสมบัติของวัสดุและกรรมวิธีการติดตั้งมากที่สุด

รูปที่ 3 แสดงปัญหาแตกร้าวบ่อยครั้ง หากช่างไม่มีความชำนาญ

Source : perfect-houses.com (2015, September 29)

อีกกรณีหนึ่ง คือ ในเรื่องของราคาและสินค้าขาดแคลนในบางช่วง การเลือกใช้คอนกรีตมวลเบา อาจจะใช้เฉพาะห้องที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศเท่านั้น เนื่องจากสามารถป้องกันความร้อนได้ดี ส่วนบริเวณที่ไม่มีการปรับอากาศให้ใช้วัสดุอื่นแทนเช่น อิฐมอญ หรือคอนกรีตบล็อก และใช้การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ คือการทำเป็นช่องเปิดตามทิศทางที่เหมาะสมให้ลมผ่านเข้ามาแทน

รูปที่ 4 แสดงการใช้คอนกรีตมวลเบาเฉพาะห้องที่ปรับอากาศ และใช้วัสดุผนังทั่วไปกับบริเวณที่ไม่ปรับอากาศ โดยใช้การระบายอากาศด้วยลมธรรมชาติ


Bibliography

    1. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (พ.ศ. 2545). บทที่ 2 การเลือกใช้วัดสุอุปกรณ์ก่อสร้างที่มีคุณสมบัติความเป็นฉนวน 10 ชนิด. In เอกสารแผยแพร่ แนวทางการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและฉนวนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (pp. 2-22 - 2-23).
    2. f-blockbrick.com (2015, September 29) : http://www.f-blockbrick.com/product--104097-1.html
    3. mini-engineer-thai.info (2015, September 29) : http://www.mini-engineer-thai.info/2014/04/building-homes.html
    4. perfect-houses.com (2015, September 29) : http://perfect-houses.com/wall.html

0 Reviews

Write a Review

Exit mobile version