iEnergyGuru

Energy Management System การตรวจสอบรับรองระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย

การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน เป็นการตรวจสอบว่าระบบการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือไม่  โดยในกระบวนการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน  มีคำสำคัญที่ใช้และคำจำกัดความ  ดังต่อไปนี้

จากคำนิยามของ “เกณฑ์การตรวจประเมิน”  จะเห็นได้ว่าการตรวจสอบและรับรองมีเกณฑ์ที่ต้องใช้อยู่ 2 ประเภท  ได้แก่

                        • ประเภทที่ 1 เกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์  และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม  พ.ศ.2552  และประกาศกระทรวงพลังงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ.2552 ระบบการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม “ ทุกแห่ง  ”
                          จะต้องดำเนินการตามเกณฑ์นี้  ตารางในภาคผนวก ก-๓ แสดงรายการตรวจสอบกาจัดการพลังงานในการดำเนินงานตามเกณฑ์นี้  โดยเป็นหน้าที่ของผู้ช่วยผู้ชำนาญการที่จะนำรายการตรวจดังกล่าวตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงานที่ได้รับจากโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม
                        • ประเภทที่ 2 เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ได้แก่  นโยบาย  ขั้นตอนการทำงาน  วัตถุประสงค์  และเป้าหมาย  เป็นต้น  เกณฑ์ประเภทนี้จะแตกต่างกันไประหว่างโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม  ไม่มีโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมที่จะมีเกณฑ์นี้  เหมือนกันในทุก ๆ ประเด็น  ในการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามเกณฑ์ประเภทนี้ ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน  จะต้องศึกษา  วิเคราะห์  เอกสารที่เกี่ยวข้องของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่จะตรวจสอบและรับรองก่อนเริ่มดำเนินการเพื่อให้เข้าใจระบบการจัดการพลังงาน

                          ตัวอย่าง  จากรายงานการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมแห่งหนึ่ง  ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน  สามารถสร้าง  Energy  Use  Diagram  ได้ตามที่แสดงในรูป  ซึ่งสามารถสรุปในเบื้องต้นว่า

โรงงานแห่งนี้มีกระบวนการเผาไหม้เพื่อผลิตไอน้ำซึ่งคาดว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่มีนัยสำคัญสูงสุด  ดังนั้น ผู้ตรวจสอบและรับรอง  ควรจัดเตรียมเกณฑ์ที่จะตรวจสอบการใช้งานหม้อไอน้ำ  เช่น  ตรวจการควบคุมปริมาณออกสิเจนส่วนเกิน (Excess Oxygen) เป็นต้น ผู้ตรวจสอบและรับรอง  สามารถพิจารณาตามเกณฑ์ดังนี้

                        • พบว่าไม่มี procedure  กำหนดแนวทางในการควบคุมการทำงาน
                          ผู้ตรวจสอบและรับรอง  พิจารณาให้เป็น  “ข้อคิดเห็นการปรับปรุง (Observation)”
                        • พบว่ามี procedure  กำหนดว่าต้องควบคุม  และพบหลักฐานว่ามีการควบคุม  แต่มีค่าบางค่าสูงกว่าที่กำหนด
                          ผู้ตรวจสอบและรับรอง  พิจารณาให้เป็น “ข้อคิดเห็นการปรับปรุง (Observation)”
                        • พบว่ามี procedure กำหนดว่าต้องควบคุม  แต่ไม่พบหลักฐานว่ามีการควบคุม
                          ผู้ตรวจสอบและรับรอง  ต้องพิจารณาต่อว่า  เป็นความไม่สอดคล้องแบบร้ายแรง (Major)  หรือไม่ร้ายแรง (Minor)

โรงงานแห่งนี้มีการใช้อากาศอัด  ดังนั้นผู้ตรวจสอบและรับรองควรจัดเตรียมที่จะขอดูเอกสาเกี่ยวกับการทดสอบปริมาณอากาศอัดที่รั่ว  (Compressed Air Leak) ผู้ตรวจสอบและรับรอง  สามารถพิจารณาตามเกณฑ์  ดังนี้

                        • พบว่าไม่มี procedure กำหนดให้มีการทดสอบและกำหนดแนวทางการทดสอบตรวจสอบและรับรอง  พิจารณาให้เป็น “ข้อคิดเห็นการปรับปรุง (Observation)”
                        • พบว่ามี procedure กำหนดว่าต้องมีการทดสอบ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง แต่พบว่าหลักฐานมีการดำเนินการครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว
                          ผู้ตรวจสอบและรับรอง  ต้องพิจารณาต่อว่า  เป็นความไม่สอดคล้องแบบร้ายแรง (Major)  หรือไม่ร้ายแรง (Minor)
                        • พบว่ามี procedure กำหนดว่าต้องมีการทดสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ไม่พบหลักฐานการดำเนินการตามที่กำหนด
                          ผู้ตรวจสอบและรับรอง  ต้องพิจารณาต่อว่า  เป็นความไม่สอดคล้องแบบร้ายแรง (Major)  หรือไม่ร้ายแรง (Minor)          ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน  ต้องจัดเตรียมรายการตรวจ (Checklist)  ประเภทนี้ก่อนลงพื้นที่  และต้องจัดทำขึ้นหลังจากได้ขอข้อมูลที่จำเป็นจากโรงงานควบคุมและอาหารควบคุมไม่มี  Checklist  ขององค์กรใดที่เหมือนกันทั้งหมด  จึงเป็นการยากที่จะจัดเตรียม  Checklist  ที่สามารถนำไปใช้ล่วงหน้า  ต่างจากรายการตรวจสอบตามข้อกำหนดประเภทที่  1 ดัง ตัวอย่าง  Checklist  นี้แสดงดังตัวอย่างด้านล่าง

ที่มา : คู่มือการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับผู้ตรวจสอบพลังงาน. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

1 Review

5

Write a Review

Exit mobile version