ISO 52000 เส้นทางนำไปสู่อาคารพลังงานสะอาด (the clean energy building)
รูปแบบอาคารสมัยใหม่ตอบโจทย์ความลงตัวทั้ง 2 มิติ มิติสังคมเมือง และ มิติธรรมชาติ
ตัวการที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก อยู่ไม่ไกลเกินนึกถึง เพียงแค่เส้นผมบังภูเขา ตึกสูงที่ตั้งตระหง่านตาม มหานครต่าง ๆ ทั่วโลกนี้แหละใช้พลังงานสูงถึง1/3 ของพลังที่ใช้บนโลก และ ครึ่งหนึ่งของพลังไฟฟ้าที่ผลิตทั่วโลก ถูกใช้โดยตึกสูงเหล่านี้
ตัวการที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนคือตึกสูงเหล่านี้
International Energy Agency (องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ) กล่าวว่านอีก30 ปีข้างหน้า ปริมาณการใช้พลังงานในอาคารสำนักงาน และตึกสูง ต่าง ๆ ควรที่จะลดการใช้พลังงานไม่น้อยกว่า 80% เพื่อที่จะรักษาอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศโลกไม่ให้สูงขึ้นกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งทุก ๆ 1 องศา ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อระดับน้ำทะเลที่ยกตัวสูงขึ้นถึง 6 เมตร
รายชื่อเมืองบางส่วนที่จะจมน้ำหากอุณหภูมิ ของโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ISO 52000-1:2017 (Energy performance of buildings -- Overarching EPB assessment -- Part 1: General framework and procedures) มาตรฐานการจัดการพลังงานตึกสูง คือวิถีปฏิบัติสู่ความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน คุณ Dick van Dijk และ ศาสตร์ตราจารย์ Essam E. Khalil แนะนำว่า ISO 52000 จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับเจ้าของตึกสูงทั่วโลก ที่จะสามารถ เข้าถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ครอบคลุมทั่วอาคาร และสิ่งสำคัญคือ ISO 52000 จะเชื่อมโยงเข้ากับเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อการวิเคราะห์พลังงานที่ใช้ และ ตรวจระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร ได้อย่างแม่นยำและควบคุมได้จริง
ISO 52000 จะตรวจติดตามและเจาะลึกการจัดการพลังงานองค์รวมของอาคารซึ่งเน้นการควบคุมพลังงานด้วย ระบบที่เข้มข้น ขัดเจน รู้แจ้งเห็นจริง สู่วิถีปฏิบัติความยั่งยืนด้านพลังงาน สิ่งสำคัญที่จะพบเจอใน ISO 52000 ประกอบด้วย นิยามความหมาย สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน ลำดับความสำคัญของการใช้พลังงานตามลักษณะใช้สอยในแต่ละพื้นที่ หลักการคำนวณค่าประสิทธิภาพพลังงานจากอาคารสู่ส่วนพื้นที่ วิธีปฏิบัติเพื่อวิเคราะห์และตรวจติดตามการจัดการพลังงานอย่างละเอียดตามส่วนพื้นที่การใช้งาน
สิ่งที่ ISO 52000 เน้นย้ำคือการให้ความสำคัญในการจัดการพลังงานตามส่วนพื้นที่การใช้สอยในอาคารให้มีประสิทธิภาพสุด เนื่องจาก ลักษณะการใช่สอยของแต่ละพื้นที่มีบทบาทความสำคัญในการจัดการพลังงานองค์รวมของแต่ละอาคาร ตึกสูง นั้นๆ
เรียบเรียงโดย นายศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตน์ ทีมงาน iEnergy Guru
เอกสารอ้างอิง
https://www.iso.org/news/ref2196.html
http://www.dexmatech.com/what-is-iso-52000/
https://ienergyguru.com/2017/01/iso-52000-energy-performance/