อภิมหาสมบัติพลังงานจากท้องมหาสมุทรด้วยการกักเก็บพลังงานจากแรงโน้มถ่วงของโลก (Ocean Gravity Energy Storage)
พลังงานทดแทนโลกใหม่จากท้องมหาสมุทร (ที่มาของรูปภาพ จาก Ocean Gravity)
มหาสมุทรคืออภิมาหาสมบัติพลังงานสำหรับยุคทองแห่งนวัตกรรมพลังงานสะอาดในศตวรรษที่ 21 พลังงานจากคลื่นและกระแสน้ำสามารถนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจุบัน บริษัทผู้คิดค้นนวัตกรรมพลังงานสะอาด หลายแห่ง กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพียงเพื่อเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากถ่านหินและพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานจาก ลม คลื่น และ กระแสน้ำ
วิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ที่โด่งดังด้านการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆให้แก่โลก ได้เสนอแนวคิดการผลิตพลังงานจากพลังงานของมหาสมุทร หลักการผลิตพลังงานจากมหาสมุทรคล้ายกับหลักงานทำงานการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อน เพียงแต่ มหาสมุทร สามารถรองรับน้ำได้มากกว่าเขื่อนทั่วไป กังหันลมจะถูกติดตั้งกับทุ่นลอยน้ำกลางมหาสมุทรและกังหันผลิตกระแสไฟฟ้าจะถูกติดตั้งภายในรูปทรงกลมที่นำไปวางไว้ใต้ท่องสมุทร เมื่อต้องการที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าช่องบริเวณรูปทรงกลมใต้มหาสมุทรจะถูกเปิดออก และ น้ำจะไหลเช้ามาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อปริมาณน้ำเติมรูปทรงกลมกระแสไฟฟ้าที่ถูกผลิตจากกังหันบนทุ่นลอยจะทำหน้าที่ไล่น้ำที่อยู่ภายในรูปทรงกลม
กลไกการทำงานเครื่องกำเนินไฟฟ้าใต้ท้องสมุทร (ที่มาของรูปภาพ website : engineering)
หลักการสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากมหาสมุทรใช้ประโยชน์จากสภาวะแรงโน้มถ่วงของโลก ให้จินตนาการ เมื่อเปิดประตูเรือดำน้ำใต้มหาสมุทร น้ำปริมาณมหาศาลจะไหลเข้ามาในเรือดำน้ำด้วยแรงอันทรงพลัง แรงผลักของน้ำที่ไหลเข้ามาในช่องที่ถูกเปิดออกนี้คือแรงที่สามารถหมุนกังหันให้มีความเร็วเพียงพอในการผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ดีปริมาตรและปริมาณของรูปทรงกลมที่ถูกวางไว้ใต้มหาสมุทร ราว ๆ 400 ถึง 800 เมตร จากผิวน้ำจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้ เมื่อปริมาณน้ำที่ถูกกักเก็บในรูปทรงกลมใต้มหาสมุทรแล้ว กังหันจะหมุนย้อนกลับทางไล่น้ำที่กักเก็บออกจนหมดก่อนเริ่มต้นผลิตกระแสไฟฟ้าในรอบถัดไป
หลักการแรงโน้มถ่วงและการกำเนินพลังงาน (ที่มาของรูปภาพ website : newenergyandfuel)
ท้ายนี้กลุ่มนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ กล่าวว่า “จากการคำนวณเบื้องต้นปริมาณกระแสไฟฟ้าที่สามารถผลิตต่อหนึ่งรูปทรงกลมผลิตกระแสได้ 6 MWh และงบประมาณการลงทุนต่อหนึ่งทรงกลมตกอยู่ที่ราว ๆ 12 ล้าน เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ พวกเขาเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตในใกล้นี้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังมหาสมุทรจะมีราคาเทียบเท่าราคามาตรฐานค่าไฟฟ้าทั่วไปที่ยอมรับในแวดวงอุตสาหกรรม”
แปลและเรียบเรียงโดย นายศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตน์ ทีมงาน iEnergyGuru
เอกสารอ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=EzdQAnDJjfg