A.I. Program – ก้าวล้ำนวัตกรรมสมองกลรถบรรทุกและรถโดยสารไร้คนขับ
A.I. Program – ก้าวล้ำนวัตกรรมสมองกลรถบรรทุกและรถโดยสารไร้คนขับ
รถบรรทุกไร้คนขับ ‘Actros’ ต้นแบบรถโดยสารอัจฉริยะ ‘City Pilot’
(ที่มาของรูปภาพ website : motorauthority)
ในสหรัฐฯ มีผู้ขับขี่รถบรรทุกอาชีพประมาณ 3.5 ล้านคนและหากรวมถึงอาชีพที่เกี่ยวข้องกันด้วยก็จะมีจำนวนมากกว่า 8 ล้านคนโดยรายได้ของอาชีพคนขับรถบรรทุกหัวลากหรือรถบรรทุกพ่วงนั้นอยู่ที่ระหว่าง 37,000 ถึง 57,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งอาชีพคนขับรถบรรทุกนั้นจำเป็นต้องได้รับสวัสดิการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การฝึกอบรม การหยุดพัก การดูแลรักษาสุขภาพ การดูแลด้านทันตกรรม และเปอร์เซ็นต์รายได้ที่ต้องขึ้นทุกปี และอาจเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการทำงานที่สามารถนำไปสู่อุบัติเหตุ การรักษา หรือการจ่ายค่าปรับความเร็ว ดังนั้น การพัฒนาระบบ A.I. Program นั้นมีความเป็นไปได้สูงมากและอาจทำให้อาชีพเหล่านี้ตกยุคไป
Mercedes ถือเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมการขับเคลื่อนรถบรรทุกไร้คนขับ ด้วยการเพิ่มระบบเซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์อัจฉริยะเพื่อให้รถบรรทุกสามารถวิ่งได้เอง ซึ่งเราจะเห็นรถบรรทุกเหล่านี้วิ่งอยู่บนท้องถนนในอนาคตอันใกล้นี้ภายในงาน Mercedes-Benz Future Truck 2025 เมื่อปี 2014 ได้แสดงให้เห็นว่าการขับขี่อัจฉริยะไร้คนขับนั้นเป็นไปได้จริงทางเทคนิค และในปี 2015 พวกเขาเริ่มทดสอบรถบรรทุกไร้คนขับบนทางหลวงของประเทศเยอรมนี ต่อมาในเดือนมีนาคมปี 2016 มีการจำหน่ายรถบรรทุกไร้คนขับ 3 คัน ให้กับกองทัพ ซึ่งการพัฒนาเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยรถบรรทุกดังกล่าวมีชื่อว่า “Actros”นวัตกรรมดังกล่าวไม่ได้จำกัดไว้ใช้เฉพาะกับรถบรรทุกเท่านั้น แต่ทว่ายังได้รับการพัฒนาเพื่อตลาดรถบัสขนาดใหญ่ของ Mercedes ด้วย และเมื่ออ้างอิงถึงสถิติแรงงานของสหรัฐฯ พบว่ามีพนักงานขับรถบัสอีกกว่า 500,000 คน ที่อาจต้องตกงานในอนาคต
รถโดยสารอัจฉริยะ ‘City Pilot’ ของ Mercedes-Benz
(ที่มาของรูปภาพ website : daimler)
รถโดยสารอัจฉริยะแห่งอนาคตสามารถวิ่งได้ที่ความเร็วถึง 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถโดยสารอัจฉริยะแห่งอนาคตนั้นทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติในระดับสองในห้าขณะขับขี่โดยไร้คนขับ โดยการทำงานต่าง ๆ จะผ่านข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเร่งและระบบควบคุมการหยุดรถซึ่งจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบความช่วยเหลือเครือข่ายหรือ GPS ในทางเทคนิค รถโดยสารอัจฉริยะรุ่น City Pilot ที่เคยเปิดตัวไปแล้วนั้นได้พัฒนาระบบมาจากรถบรรทุกไร้คนขับ Actros ของ Mercedes-Benz โดยมีการเชื่อมโยงเครือข่ายกับระบบ Highway Pilot อย่างไรก็ตาม รถโดยสารดังกล่าวมีสมรรถนะสูงกว่ารถบรรทุกมาก โดยคุณสมบัติใหม่มีฟังก์ชันสำคัญที่จำเป็นสำหรับการวิ่งในเมือง ได้แก่ ระบบการรับข้อมูลสัญญาณไฟจราจร ระบบการรับข้อมูลการจัญจรทางเท้า รวมถึงความแม่นยำของการจอดเข้าป้ายรถประจำทางและการเปลี่ยนระบบขับขี่กึ่งอัตโนมัติเมื่อขับผ่านอุโมงค์ เป็นต้น
หนึ่งในระบบเซ็นเซอร์ที่ตอบสนองข้อมูลแบบเรียลไทม์กับรถโดยสารอัจฉริยะไร้คนขับ
(ที่มาของรูปภาพ website : tek-think)
การป้อนข้อมูลจราจรแบบเรียลไทม์ไปยัง A.I. Program ด้วยกล้องมากกว่า 10 ตัว
เทคโนโลยีดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นไปได้ด้วยระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่มีความแม่นยำ โดยใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงไม่น้อยกว่า 10 ตัวในแต่ละระบบเพื่อตรวจสอบพื้นที่ที่รถจะวิ่งและแสดงผลก่อนที่รถจะไปถึง ซึ่งสัญญาณของระบบเรดาร์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจะถูกเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบแสดงผลที่ให้ความแม่นยำสูงโดยข้อมูลจะมีการอัพเดทอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ระบบการสื่อสารไร้สาย V2I (Vehicle to Infrastructure Communication)
มีการเชื่อมโยงระบบรถโดยสารอัจฉริยะของ Mercedes-Benz กับระบบสัญญาณไฟจราจรอันทันสมัยของขนส่งมวลชน BRT แห่งอัมสเตอร์ดัม (BRT = Bus Rapid Transit) ซึ่งรถโดยสารแห่งอนาคตจะกลายเป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อม ไม่เพียงเพราะการออกแบบที่ล้ำยุคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังมีเส้นทางเดินรถของมันเองโดยไม่รบกวนการจราจรอื่นๆ และยังสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกับสิ่งต่างๆ โดยรอบแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วยจากมุมมองด้านวิศวกรรมหรือแม้กระทั่งในฐานะผู้โดยสารหรือผู้ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมนี้ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ แต่หากคุณอยู่ในฐานะของคนที่มีอาชีพขับรถบรรทุกหรือรถโดยสารคงจะมีความกังวลกับอนาคตงานของตนไม่น้อย
ภาพจำลองการควบคุมระบบรถโดยสารอัจฉริยะไร้คนขับผ่าน A.I. Program
(ที่มาของรูปภาพ website : tek-think)
เรียบเรียงโดย นาย ศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตย์ ทีมงาน iEnergy Guru
เอกสารอ้างอิง
http://tek-think.com/a-i-programs/176
https://www.daimler.com/innovation/autonomous-driving/future-bus.html#fancybox
https://www.motorauthority.com/news/1103246_mercedes-autonomous-trucks-take-part-in-cross-border-trial
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!