อาคารลอยน้ำที่ไม่หวั่นเกรงต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นของนครนิวยอร์ก

อาคารลอยน้ำที่ไม่หวั่นเกรงต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นของนครนิวยอร์ก

อาคารลอยน้ำ

ภาพจำลองการออกแบบและการพัฒนาอาคารลอยน้ำ (ที่มาของรูปภาพ website : weforum)

จากรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดเดาได้ว่าระดับน้ำทะเลของเมืองนิวยอร์กจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นถึง 11-30 นิ้ว ในปี 2050 ทว่าในปัจจุบันอาคารหลายแห่งในเมืองนิวยอร์คไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากนิวยอร์กมีประชากรมากกว่า 8 ล้านคนและมีแนวโน้มว่าประชากรจะเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เหล่าผู้ออกแบบอาคารหรือสถาปนิกต่างวิตกกังวล ในขณะที่เหล่าสถาปนิกกำลังพยายามคิดและออกแบบบ้านสำหรับประชากรเมืองนิวยอร์คที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก หลายคนก็กำลังกังวลเช่นกันว่าสภาพแวดล้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอาจส่งผลต่อความเป็นอยู่และที่พักอาศัยของพวกเขาด้วย

ระดับน้ำทะเลของเมืองนิวยอร์กจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น 11- 0 นิ้วหรือ 28– 6 ซม. ในปี 2050

(ที่มาของรูปภาพ website : weforum)

กลุ่ม DFA หรือกลุ่ม D Form A คือกลุ่มสถาปนิกที่ออกแบบที่พักอาศัยซึ่งสามารถคงอยู่ได้แม้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีกรอบความคิดสำคัญคือการรับมือกับระดับน้ำทะเลที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตและมีราคาที่ทุกคนสามารถจับต้องได้ ซึ่งหวังว่าที่พักอาศัยที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมานั้นจะสามารถเข้าถึงผู้คนได้ทุกระดับ โดยโครงการแรกจะเริ่มต้นที่ท่าเรือแมนแฮตตัน40 ซึ่งจะทอดตัวยาวออกไป 250 เมตรเหนือแม่น้ำฮัดสัน ซึ่งตอนนี้ท่าเรือกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อสร้างเป็นสนามฟุตบอลและที่จอดรถ และแรงบันดาลในการออกแบบของกลุ่ม DFA คือการออกแบบอาคารเพื่อการสันทนาการนั่นเอง

การออกแบบประกอบด้วย 19 ตึกรูปทรงกระบอกที่มีความสูงตั้งแต่ 96–455 ฟุต ซึ่งหอคอยจะถูกจัดเป็น 11 กลุ่มและเสริมด้วยเหล็กจำนวนมาก โดยอาคารจะถูกออกแบบเป็นลักษณะรังผึ้งที่ลอยอยู่ได้เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากพายุ ซึ่งการออกแบบและพัฒนามีวัตถุประสงเพื่อให้อาคารสามารถลอยน้ำได้เมื่อระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นหรือเกิดน้ำท่วม โดยที่พักอาศัยจะถูกสร้างให้ยกระดับสูงขึ้น 60 นิ้ว ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลที่คาดว่าอาจเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีพายุ นอกจากนี้ การออกแบบยังประกอบด้วยชุดของทางเดินที่เชื่อมต่อกับอาคารแสดงสินค้า โดยทางเดินเส้นหนึ่งจะอยู่ในระดับต่ำกว่าและจะจมลงทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อีกในราวปี 2050 เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และทางเดินเส้นที่สองที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าจะถูกใช้แทน

สืบเนื่องจากเว็บไซต์ Inhabitat - แหล่งอ้างอิงจาก DFA กล่าวว่า "ในปี 2050 ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นมากส่งผลให้น้ำท่วมทั่วพื้นที่รอบชายฝั่ง และพื้นที่ของอาคารบริเวณดาดฟ้าจะแปรสภาพกลายเป็นเกาะลอยน้ำและจะมีทางเดินใหม่เพื่อเชื่อมอาคารกับเมืองแมนฮัทตันได้” นอกเหนือจากคุณสมบัติที่สามารถลอยน้ำได้ DFA ยังออกแบบอาคารนี้เพื่อแก้ไขปัญหาราคาที่พักอาศัยในเมืองที่มักมีราคาสูงลิ่วเช่นเดียวกันกับที่พักในเมืองแมนฮัตตัน และที่พักจำนวน 450 ยูนิตจะถูกขายสู่ท้องตลาดในราคาที่จับต้องได้ไปจนถึงที่พักระดับหรูราคาแพง

ในขณะที่การออกแบบนี้เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้นและหน่วยงานที่จัดการท่าเรืออาจยังไม่ได้สนใจแนวคิดนี้สักเท่าไหร่ แต่แนวคิดดังกล่าวถือว่าดำเนินมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว

อาคารลอยน้ำ

ภาพจำลองการออกแบบและการพัฒนาอาคารลอยน้ำ (ที่มาของรูปภาพ website : weforum)

อาคารลอยน้ำ

ที่มาของรูปภาพ website : weforum

 

เรียบเรียงโดย นาย ศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตย์ ทีมงาน iEnergy Guru

เอกสารอ้างอิง

https://www.weforum.org/agenda/2018/02/these-flood-proof-towers-could-withstand-rising-sea-levels-in-nyc

https://worldarchitecture.org/articles-links/cmhhe/floating_tower_proposal_by_dfa_studio_addresses_affordable_housing_and_resiliency_to_flooding.html

https://inhabitat.com/dfas-flood-proof-towers-could-survive-six-feet-of-sea-level-rise-in-new-york-city/

อาคารลอยน้ำที่ไม่หวั่นเกรงต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นของนครนิวยอร์ก

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *