ก้าวสำคัญสู่การลดค่าใช้จ่ายเพื่อการกำจัด CO2 ออกจากอากาศ
ก้าวสำคัญสู่การลดค่าใช้จ่ายเพื่อการกำจัด CO2 ออกจากอากาศ
โรงงานนำร่องที่สร้างขึ้นในรัฐบริติชโคลัมเบียมีการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณหนึ่งตันทุกวัน
(ที่มาของรูปภาพ website : bbc)
กำจัด CO2 ลดค่าใช้จ่าย CO2 บริษัทหนึ่งของแคนาดาที่ได้รับการสนับสนุนโดย Bill Gates กล่าวว่า ทางบริษัทได้บรรลุผ่านจุดเริ่มต้นสำคัญเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถกำจัด CO2 ออกจากอากาศได้
ทางบริษัท Carbon Engineering ได้เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตรวจทานแล้วโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวใช้งบประมาณในการกำจัดคาร์บอนต่ำกว่า 100 เหรียญต่อตัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญเพราะปัจจุบันต้องมีการใช้งบประมาณกำจัดคาร์บอนถึง 600 เหรียญต่อตันบริษัทกล่าวว่าเป้าหมายของพวกเขาคือการผลิตเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ที่ทำจากคาร์บอนและพลังงานทดแทน
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังคลางแคลงสงสัย
"การแก้ไขปัญหา" โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ยังคงมีความคลางแคลงสงสัย พบว่าแผนการที่จะสร้างโล่พลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศหรือการโปรยวัสดุลงในทะเลเพื่อดักคาร์บอนยังถูกมองว่าเป็นอันตราย ทั้งยังรบกวนโลกและยุ่งยากในเรื่องของการใช้แรงงานเพื่อจัดการกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตามแผนการดักจับ CO2 โดยตรงจากอากาศได้รับการพิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ทำได้จริง อย่างลักษณะการทำงานของต้นไม้ที่สามารถดักจับคาร์บอนได้ แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Klaus Lackner ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทด้านเทคโนโลยีจำนวนหนึ่งก็ได้สร้างต้นแบบที่มีราคาสูงลิ่วสำหรับเครื่องกำจัดคาร์บอน ในปีที่ผ่านมา บริษัท Climeworks ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้เปิดตัวเครื่องดักจับอากาศโดยตรงซึ่งสามารถดักจับคาร์บอนและลำเลียงไปยังโรงเรือนที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อทำปุ๋ยสำหรับการเพาะปลูกมะเขือเทศและแตงกวาขณะนี้ บริษัท Carbon Engineering ของแคนาดาได้กล่าวว่าพวกเขาได้ก้าวไปข้างหน้ามากแล้วเพื่อการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการดักจับอากาศจากการก่อตั้งขึ้นในปี 2009 โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก Bill Gates แห่ง Microsoft และจาก Norman Murray Edwards ผู้ให้เงินทุนกับ Canadian Sand Sands โรงงานต้นแบบของทางบริษัทจึงเริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2015 โดยมีการดักจับคาร์บอนที่ประมาณหนึ่งตันต่อวัน ซึ่งมีกระบวนการทำงานโดยการดูดอากาศเข้าไปในหอทำความเย็นที่มีการติดตั้งพัดลมที่อากาศจะเข้าไปสัมผัสกับของเหลวที่จะทำปฏิกิริยากับ CO2 หลังจากขั้นตอนการจัดการหลายขั้นตอน CO2 บริสุทธิ์จะถูกดึงออกมาและของเหลวก็จะถูกส่งกลับไปยังเครื่องดักจับอากาศอีกครั้ง
จากผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาซึ่งจัดทำโดย American Physical Society ในปี 2011 พบว่าต้นทุนของการดักจับอากาศอยู่ที่ 600 เหรียญต่อตัน ทว่าบริษัท Carbon Engineering ยืนยันว่าการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่จะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าให้มากขึ้นได้
“นี่เป็นก้าวสำคัญอย่างแท้จริงและไม่ใช่แค่บริษัทของเราเท่านั้นที่เชื่อเช่นนี้” ศาสตราจารย์ David Keith แห่ง Harvard University และผู้ก่อตั้งบริษัท Carbon Engineering กล่าวกับ BBC News
“แนวทางที่เป็นประโยชน์” ของศาสตราจารย์ David Keith ไม่ได้เป็นเพียงการดักจับคาร์บอนจากอากาศเท่านั้น แต่ยังเป็นการดักจับก๊าซเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์เหลวด้วย ซึ่งทางบริษัทกำลังดำเนินการผลิตและทำได้ที่ประมาณ 1 บาร์เรลต่อวัน โดยการรวม CO2 บริสุทธิ์กับไฮโดรเจนที่ได้จากน้ำเพื่อการใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนต่อไปนั่นเอง
“สิ่งที่ Carbon Engineering กำลังผลักดันสู่ท้องตลาดคือเชื้อเพลิงคาร์บอนที่มีค่าเป็นกลาง อย่างไรก็ตามเราเป็นเพียงบริษัทที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดภาวะเรือนกระจกซึ่งจะไม่สามารถกำจัดคาร์บอนให้ออกไปจากอากาศได้ 100%” เขากล่าว
“เรากำลังมองเห็นโรงงานผลิตเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตเชื้อเพลิงได้ในระยะยาวราว 2,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งโรงงานที่เราจะสร้างขึ้นเป็นโรงงานที่เป็นรูปแบบเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริงแห่งแรก แต่จะมีขนาดเล็กกว่าโรงงานที่เรามีอยู่กว่า 10 เท่า ซึ่งเรากำลังดำเนินการพัฒนาโครงการนี้อยู่ โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมที่มีราคาถูกและกำลังมองหาเหล่านักลงทุน” ศาสตราจารย์ David Keith กล่าวเพิ่มเติม
ความประทับใจของศิลปินเกี่ยวกับระบบดักจับคาร์บอนในอนาคต – อาจมีลักษณะเช่นนี้!
(ที่มาของรูปภาพ website : bbc)
ดีกว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ
ทางบริษัทเชื่อว่าแนวทางสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงเหลวนี้มีข้อได้เปรียบมากกว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เนื่องจากมีการใช้พื้นที่และน้ำที่น้อยกว่า ศาสตราจารย์ David Keith กล่าวว่าหากการผลิตเชื้อเพลิงของพวกเขาได้รับทุนสนับสนุนเช่นเดียวกันกับการผลิตเชื้อเพลิงคาร์บอนรูปแบบอื่น พวกเขาก็จะมีทุนและสามารถสร้างโรงงานให้เสร็จได้อย่างรวดเร็ว การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Joule
บริษัท Carbon Engineering กล่าวว่า เราสามารถลดการเกิดภาวะเรือนกระจกได้จากการพัฒนาเชื้อเพลิงสังเคราะห์จาก CO2 และแหล่งพลังงานสีเขียว (ที่มาของรูปภาพ website : bbc)
เรียบเรียงโดย นาย ศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตย์ ทีมงาน iEnergy Guru
เอกสารอ้างอิง
https://www.bbc.com/news/science-environment-44396781
https://www.technologyreview.com/s/608293/sucking-up-co2-will-cost-hundreds-of-trillions/
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!