จีนต้นแบบของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (CHINA IS GOING GREEN)

จีนต้นแบบของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (CHINA IS GOING GREEN)

CHINA IS GOING GREEN

ที่มาของรูปภาพ website : weforum

หลังจากหลายปีของการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมหนัก ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของจีนกำลังใกล้มาถึงจุดพลิกผัน

นั่นเพราะโรงงานและโรงไฟฟ้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นสาเหตุทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน จนถึงขั้นที่สิ่งแวดล้อมนั้นเป็นอันตรายและเกิดความเสี่ยงต่อสังคมและเศรษฐกิจของจีนหากไม่มีการแก้ไขอย่างทันท่วงที เพื่อเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ รัฐบาลจีนจึงได้ประกาศสงครากับมลพิษและได้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากมาย ดังประเด็นสำคัญ ต่อไปนี้

ใช้ถ่านหินให้น้อยลงเพื่ออากาศที่สะอาด

จีนได้ดำเนินงานในการรื้อถอนโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อลดการปล่อยก๊าซและลดอัตราการปล่อยฝุ่นละอองสู่ชั้นบรรยากาศ พบว่ามีความคืบหน้าเกี่ยวกับคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นและปัจจุบันพบว่าเกิดหมอกควันในเมืองใหญ่ๆ ลดลง

ออกกฎหมายที่เข้มงวดและเอาจริงเอาจังเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กระทรวงปกป้องสิ่งแวดล้อมจีน (Ministry for Environmental Protection) ในชื่อเดิมได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (Ministry of Ecology and Environment) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะมีความรับผิดชอบมากขึ้นและชัดเจนยิ่งขึ้นในเรื่องของการดูแลสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยมีหน้าที่ดูแลนโยบายเกี่ยวกับน้ำและการใช้น้ำ เช่น การจัดการทรัพยากรน้ำทะเลไปจนถึงการจัดการแหล่งน้ำใต้ดิน เป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านี้นโยบายดังกล่าวถูกแบ่งให้แต่ละหน่วยงานไปรับผิดชอบ นอกจากนี้กระทรวงดังกล่าวยังมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรื่องภาวะโลกร้อนด้วย

ลงทุนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคต

จีนจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีก 6.4 – 19.4 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งมีการเริ่มเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยสนับสนุนนโยบายดังกล่าว ทั้งยังรณรงค์ให้เอกชนมีการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย

โครงการเส้นทางสายไหมของจีน (China’s Belt and Road Initiative) เป็นโครงการระดับโลกที่มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ โดยมีแรงบันดาลใจจากถนนสายไหมโบราณที่มุ่งมั่นเพื่อการส่งเสริมการค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจของทวีปเอเชียและชาติอื่น ๆ

โครงการเส้นทางสายไหมจะได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณราว 4 ล้านล้านเหรียญในการดำเนินโครงการ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาคเอกชน กองทุนเฉพาะ และธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี เพื่อให้เกิดการเห็นพ้องต้องกันกับการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แหล่งเงินทุนเหล่านี้ถือว่ามีศักยภาพมากในการผลักดันให้โครงการสามารถเกิดขึ้นจริงได้

ความท้าทายต่อไปที่กำลังจะมาถึงคือ การปรับปรุงมาตรฐานการลงทุนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เมื่อไม่นานมานี้จีนได้เปิดตัวโครงการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการลงทุนในต่างประเทศของจีน โครงการเส้นทางสายไหมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือว่ามีศักยภาพมากหากสถาบันทางการเงินและบริษัทต่าง ๆ ของจีนมีการปรับปรุงการบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศและปฏิบัติตามข้อกำหนดการลงทุน ตราสารหนี้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green bonds) ส่งผลให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหรือประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย เพราะประเทศเหล่านี้ได้รับเงินสนับสนุนสำหรับโครงการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นโครงการที่หลายประเทศต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

CHINA IS GOING GREEN

มลพิษทางอากาศถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากในประเทศจีน (ที่มาของรูปภาพ website : theconversation)

ภูมิภาคที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เมื่อต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้อนุมัติให้มีเขตพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น 3 เขต ซึ่งจะดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติปี 2030 โดยมี 3 เขต ดังนี้

  • เมือง Shenzhen

Shenzhen นั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือสร้างนวัตกรรมของจีน ซึ่งเขตนี้จะมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อการบำบัดน้ำเสีย การใช้ประโยชน์จากขยะ การฟื้นฟูระบบนิเวศ และการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรไปจนถึงปัญหามลพิษ

  • เมือง Guilin

โซนนี้จะมุ่งเน้นไปที่การใช้นวัตกรรมในการควบคุมการเกิดทะเลทรายในพื้นที่ โดยการสร้างโซลูชันที่สามารถเลียนแบบพื้นที่อื่นที่เผชิญกับภัยคุกคามจากการรุกล้ำของทะเลทราย

  • เมือง Taiyuan

โซนนี้จะมุ่งเน้นไปที่มลพิษทางอากาศและน้ำ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาโดยใช้นวัตกรรมที่สามารถเลียนแบบพื้นที่ที่พึ่งพาทรัพยากรที่ถูกดึงมาใช้

บริษัทด้านเทคโนโลยี – ผู้บุกเบิกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่าง Tencent, Baidu และ Alibaba ถือเป็น 1 ใน 10 บริษัทชั้นนำของโลกที่ดำเนินการด้านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเทคโนโลยีออนไลน์ - โดยเฉพาะ e-commerce, internet banking และ social media กำลังมีการเปลี่ยนแปลงและรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

ยกตัวอย่างเช่น Ant Financial ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Alibaba เป็นหุ้นส่วนในการก่อตั้ง Green Digital Finance Alliance โดยสมาพันธ์มีเป้าหมายที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาด้านการเงินเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green finance) ผู้ใช้ Ant จำนวนกว่า 200 ล้านคนได้ลงนามใน Ant Forest ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยแอพพลิเคชันนี้จะคอยเตือนให้ผู้ใช้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของ Fintech ที่มีการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในสิ้นเดือนมกราคมปี 2017 ที่ผ่านมา วิธีการดังกล่าวช่วยให้สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 150,000 ตัน

เรียบเรียงโดย นาย ศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตย์ ทีมงาน iEnergy Guru

เอกสารอ้างอิง

https://www.weforum.org/agenda/2018/04/china-is-going-green-here-s-how/

https://theconversation.com/china-wants-to-dominate-the-worlds-green-energy-markets-heres-why-89708

https://www.nationalgeographic.com/magazine/2011/06/green-china/

จีนต้นแบบของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (CHINA IS GOING GREEN)

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *