-
ผู้เขียนข้อความ
-
-
ธันวาคม 28, 2016 เวลา 9:33 am #16242iqpressreleaseParticipant
แจ็คสันวิลล์, ฟลอริดา–23 ธ.ค.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
เอพีอาร์ เอ็นเนอร์จี (APR Energy) ผู้นำระดับโลกด้านการผลิตไฟฟ้าแบบฟาสท์แทร็ค เปิดเผยว่า โครงการโรงไฟฟ้าขนาด 102 เมกะวัตต์ ในเมียนมาของบริษัท ได้รับการต่ออายุสัญญาออกไปจนถึงไตรมาส 4 ปี 2560 โดยสัญญาต้นฉบับซึ่งลงนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ถือเป็นการทำสัญญาผลิตไฟฟ้าเป็นครั้งแรกระหว่างบริษัทสหรัฐกับรัฐบาลเมียนมา นับตั้งแต่สหรัฐประกาศยกเลิกการคว่ำบาตรต่อเมียนมา
http://photos.prnewswire.com/prnvar/20120207/FL48583LOGO
โรงไฟฟ้าจ็อกเซ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมา มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าราว 30% ของประเทศ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้เวลาติดตั้งเพียงแค่ 90 วัน และเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนกว่า 6 ล้านคน
จอห์น แคมเปียน ประธานบริหาร กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นที่มีโอกาสอย่างต่อเนื่องในการช่วยพัฒนาพลังงานให้กับเมียนมา ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขยายตัวเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประสบการณ์ในเมียนมาช่วยเติมเต็มธุรกิจของเราได้เป็นอย่างดี เราโชคดีที่มีสุดยอดหุ้นส่วนทางธุรกิจอย่าง Electric Power Generation Enterprise และรัฐบาลของนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เราภูมิใจที่ได้มีบทบาทสำคัญในแผนการจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังพื้นที่ชนบทของประเทศ และบรรลุเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าแห่งชาติภายในปี 2573”
โรงไฟฟ้าจ็อกเซของเอพีอาร์ เอ็นเนอร์จี เปิดดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 และใช้ก๊าซธรรมชาติในเมียนมาเป็นเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้าดังกล่าวได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 20 เมกะวัตต์ในไตรมาสแรกของปี 2558 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
เกี่ยวกับเอพีอาร์ เอ็นเนอร์จี
เอพีอาร์ เอ็นเนอร์จี คือผู้นำระดับโลกด้านการผลิตไฟฟ้าแบบฟาสท์แทร็คจากกังหันก๊าซแบบเคลื่อนย้ายได้ โซลูชั่นพลังงานที่รวดเร็ว ยืดหยุ่น และครบวงจรของเรา ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการ โรงไฟฟ้าแบบเทิร์นคีย์ของเราซึ่งผสมผสานเทคโนโลยีประหยัดพลังงานที่ทันสมัยเข้ากับความเชี่ยวชาญระดับผู้นำในอุตสาหกรรม ได้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม เมือง และประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.aprenergy.com
โลโก้ – http://photos.prnewswire.com/prnh/20120207/FL48583LOGO
-
-
ผู้เขียนข้อความ
- คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้