กำลังดู 0 ความเห็น
  • ผู้เขียน
    ข้อความ
    • #15925
      iqpressrelease
      Participant

      ออสโล, นอร์เวย์–17 ส.ค.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

      การดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานสูงมาก และพลังงานจำนวนมหาศาลเหล่านี้จะสูญหายไปในรูปของความร้อนเหลือทิ้งหลังการใช้ การกักเก็บพลังงานความร้อนของ EnergyNest ช่วยให้มั่นใจได้ว่าต่อไปนี้พลังงานดังกล่าวจะสามารถแปลงสภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลังจากกักเก็บแล้ว ความร้อนเหลือทิ้งจะสามารถนำกลับมาใช้ได้หลายทาง อาทิ ใช้ในการผลิตไอน้ำ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือทำให้ระบบส่งไฟฟ้าทั้งระบบมีความเสถียร การจัดการดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่ที่สำคัญก็คือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อันจะส่งผลสืบเนื่องให้การดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มมูลค่าทางด้านอุตสาหกรรมนี้ไม่เพียงแต่จะนำไปสู่สมดุลด้านพลังงานที่ดีขึ้นเท่านั้น หากแต่โครงการในรูปแบบดังกล่าวจะได้รับทุนคืนเร็วขึ้น ส่งผลให้โครงการเหล่านี้มีความน่าสนใจอย่างยิ่งในเชิงเศรษฐศาสตร์

      (รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20160816/398417 )

      (รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20160816/398418 )

      หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของโซลูชันทางเทคนิคตัวใหม่นี้ก็คือ HEATCRETE(R) คอนกรีตสมรรถนะสูง ซึ่งประกอบไปด้วยควอตซ์ 75% และสารเติมแต่ง 25% โครงสร้างตัวนำเหล็กกล้าจะครอบท่อเหล็กคาร์บอนที่มีการฝัง HEATCRETE(R) เอาไว้ โดยน้ำมันถ่ายเทความร้อนที่ไหลผ่านท่อนี้จะเพิ่มและคลายประจุให้กับระบบกักเก็บที่ความดันสูงสุด 160 บาร์ โดยโมดูลเดี่ยว ซึ่งมีขนาดพอเหมาะกับคอนเทนเนอร์มาตรฐาน 40 ฟุต สามารถผลิตพลังงานจากความร้อนได้สูงถึง 2 เมกะวัตต์ชั่วโมง และเนื่องจากมีโครงสร้างเป็นโมดูล ระบบนี้จึงสามารถขยายกำลังการผลิตสู่ระดับกิกะวัตต์ชั่วโมงได้

      ระบบดังกล่าวมีต้นทุนต่ำกว่าเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานอื่น ๆ ประมาณ 20-25 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งคิดเป็นเพียงแค่เศษส่วนของราคาแบตเตอรี เนื่องจากมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งและไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ระบบกักเก็บพลังงานนี้จึงทำงานได้โดยแทบจะไม่ต้องมีการซ่อมบำรุง ดังนั้นจึงมีต้นทุนในการดำเนินงานเพียง 1 ใน 5 ของระบบกักเก็บอื่น ๆ อีกทั้งยังมีศักยภาพสูงมากในการผลิตไฟฟ้าจากความร้อนเหลือทิ้งใช้เอง ธุรกิจต่าง ๆ จึงสามารถลดค่าไฟฟ้าในช่วงที่ความต้องการไฟฟ้าสูงได้ ด้วยการติดตั้งระบบดังกล่าว ซึ่งแปลงความร้อนเหลือทิ้งให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

      รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.energy-nest.com

      Yamaoka International PR
      Jana Erhart
      อีเมล: energynest@yamaoka.de
      โทร: +49-4030-032-615

      ที่มา: EnergyNest

กำลังดู 0 ความเห็น
  • คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้