อัตราค่าไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ของการไฟฟ้านครหลวง
ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัดและโบสถ์ของศาสนาต่าง ๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
1.1 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน | |
อัตรารายเดือน | |
ค่าพลังงานไฟฟ้า | ราคาต่อหน่วย |
15 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 15) | 2.3488 บาท |
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25) | 2.9882 บาท |
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35) | 3.2405 บาท |
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100) | 3.6237 บาท |
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150) | 3.7171 บาท |
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) | 4.2218 บาท |
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) | 4.4217 บาท |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) : | 8.19 |
1.2 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน | |
อัตรารายเดือน | |
ค่าพลังงานไฟฟ้า | บาท/หน่วย |
150 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 150) | 3.2482 บาท |
250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400 ) | 4.2218 บาท |
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) | 4.4217 บาท |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) : | 38.22 |
1.3 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff ) | |||
อัตรารายเดือน | |||
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
||
On Peak | Off Peak | ||
1.3.1 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 5.1135 | 2.6037 | 312.24 |
1.3.2 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 5.7982 | 2.6369 | 38.22 |
หมายเหตุ On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
1. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย จะถูกจัดให้อยู่ใน อัตราข้อ 1.1 แต่ถ้ามีการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือนในเดือนถัดไปจะจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 1.2 และถ้ามีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนติดต่อกัน 3เดือนในเดือนถัดไป จะจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 1.1 ตามเดิม
2. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดเกินกว่า 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย จะถูกจัดให้อยู่ในอัตราข้อ 1.2 ตลอด ไป
3. ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกใช้อัตราข้อ 1.3 ได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวง และชำระค่าเครื่องวัดฯ TOU ก่อนหรือชำระค่าบริการด้านเครื่องวัดฯ TOU เพิ่มขึ้นจากค่าบริการปกติและหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนสามารถขอเปลี่ยนกลับไปใช้อัตราเดิมได้
4. สถานที่ที่ใช้ประกอบศาสนกิจ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้องสามารถเลือกใช้อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่ 6 ได้
5. ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน ถึงแม้ไม่มีการใช้ไฟฟ้า
6. ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1 (ประเภทที่ 1 อัตราข้อ 1.1) ซึ่งติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 (15) แอมแปร์ และใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ได้รับค่าไฟฟ้าฟรีทั้งหมดในเดือนนั้น
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมี การเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการ ในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บ จะปรับเปลี่ยน ทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ ธุรกิจรวมกับที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรืออื่นๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
2.1 อัตราปกติ | ||
อัตรารายเดือน | ||
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|
2.1.1 แรงดัน 12 - 24 กิโลโวลต์ | 3.9086 | 312.24 |
2.1.2 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 46.16 | |
150 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 150) | 3.2484 | |
250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400) | 4.2218 | |
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) |
4.4217 |
2.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) | |||
อัตรารายเดือน | |||
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
||
On Peak | Off Peak | ||
2.2.1 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 5.1135 | 2.6037 | 312.24 |
2.2.2 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 5.7982 | 2.6369 | 46.16 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ
วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
หมายเหตุ
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2 นี้ หากในรอบเดือนใดมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไป จะจัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 3 อัตรา ข้อ 3.2 ประเภทที่ 4 อัตราข้อ 4.2 หรือประเภทที่ 5 อัตรา ข้อ 5.2 แล้วแต่กรณีและจะจัดเข้ามาอยู่ในประเภทที่ 2 อีก ต่อเมื่อความต้องการพลังไฟฟ้าดังกล่าวลดลงต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือน
- ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตรา ข้อ 2.1 สามารถเลือกใช้อัตราข้อ 2.2 ได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวง และชำระค่าเครื่องวัดฯ TOU ก่อนหรือ ชำระค่าบริการด้านเครื่องวัดฯ TOU เพิ่มขึ้น จากค่าบริการปกติ และหากเลือกใช้ไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถขอเปลี่ยนกลับไปใช้อัตรา ข้อ 2.1 ตามเดิมได้
- ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน ถึงแม้ไม่มีการใช้ไฟฟ้า
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วยค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บ จะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 30 ถึง 999 กิโลวัตต์ และมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือน ไม่เกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
3.1 อัตราปกติ | |||
อัตรารายเดือน | |||
ค่าความต้องการ พลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|
3.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 175.70 | 3.1097 | 312.24 |
3.1.2 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ | 196.26 | 3.1471 | 312.24 |
3.1.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 221.50 | 3.1751 | 312.24 |
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดใน
รอบเดือนเศษของกิโลวัตต์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุดในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดใน
รอบ12 เดือนที่ผ่านมา
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟ
เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวาร์ เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็น
กิโลวัตต์แล้ว เฉพาะส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาท สำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือน
นั้น เศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้งตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
3.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) | |||||
อัตรารายเดือน | |||||
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ บาท/เดือน | |||
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | ||
3.2.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 74.14 | 0 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 |
3.2.2 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ | 132.93 | 0 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
3.2.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 210.00 | 0 | 4.3297 | 2.6369 | 312.24 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในช่วงเวลา On Peakในรอบเดือนเศษของกิโลวัตต์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุดในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า ที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใด ผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้า รีแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวาร์ เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว เฉพาะส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาท สำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น เศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ให้ตัดทิ้งตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
หมายเหตุ
- ผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในอัตราข้อ 3.1 ซึ่งใช้ไฟฟ้าก่อนเดือนตุลาคม 2543 จะยังคงถูกจัดอยู่ในอัตราข้อ 3.1 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่จัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 3 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 จะถูกจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 3.2 ในเดือนถัดไป หลังจากเดือนที่ติดตั้งเครื่องวัดฯ TOU แล้ว
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 หากมีความต้องการพลังไฟฟ้า เฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุด ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไปในเดือนใดหรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือน เกินกว่า 250,000 หน่วยต่อเดือนจะถูกจัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 4 อัตราข้อ 4.2 ในเดือนถัดไปหลังจากเดือนที่ติดตั้งเครื่องวัดฯ TOU แล้ว
- ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 3.1 สามารถเลือกใช้อัตราข้อ 3.2 ได้โดยต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวง และชำระค่าเครื่องวัดฯ TOU ก่อน ทั้งนี้หากเลือกใช้แล้วจะกลับไปใช้อัตราเดิมไม่ได้
- ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือนในเดือนถัดไปจะจัดเข้าอยู่ในประเภท ที่ 2 และจะจัดเข้ามาอยู่ในอัตราข้อ 3.2 เมื่อมีความต้องการพลังไฟฟ้าดังกล่าวตั้งแต่ 30 ถึง 999 กิโลวัตต์
- ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน เพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่ำสุดด้วย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือ มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือน เกินกว่า 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
4.1 อัตราตามช่วงเวลาของวัน (Time of Day Tariff : TOD Tariff ) | |||||
อัตรารายเดือน | |||||
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|||
On Peak | Partial Peak | Off Peak | ทุกช่วงเวลา | ||
4.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป |
224.30 | 29.91 | 0 | 3.1097 | 312.24 |
4.1.2 แรงดัน 12 - 24 กิโลโวลต์ |
285.05 | 58.88 | 0 | 3.1471 | 312.24 |
4.1.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ |
332.71 | 68.22 | 0 | 3.1751 | 312.24 |
On Peak : เวลา 18.30 - 21.30 น. ของทุกวัน
Partial Peak : เวลา 08.00 - 18.30 น. ของทุกวัน คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกินจากช่วง On Peak
Off Peak : เวลา 21.30 - 08.00 น. ของทุกวัน ไม่คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการ พลังไฟฟ้า แต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือนเศษของกิโลวัตต์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุดในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้า รีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว เฉพาะส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาทสำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้นเศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
4.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) | |||||
อัตรารายเดือน | |||||
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|||
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | ||
4.2.1 แรงดัน 69 กิโล โวลต์ขึ้นไป |
74.14 | 0 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 |
4.2.2 แรงดัน 12-24 กิโล โวลต์ |
132.93 | 0 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
4.2.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 210.00 | 0 | 4.3297 | 2.6369 | 312.24 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ
วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้า แต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดในรอบเดือนเศษของกิโลวัตต์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุดในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า ที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้า รีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้วเฉพาะส่วนที่เกิน จะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาทสำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้นเศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
หมายเหตุ
1. ผู้ใช้ไฟฟ้า ที่อยู่ในอัตราข้อ 4.1 ซึ่งใช้ไฟฟ้าก่อนเดือนตุลาคม 2543 จะยังคงถูกจัดอยู่ในอัตราข้อ 4.1 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่จัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 4 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2543 จะถูกจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 4.2 ในเดือนถัดไป หลังจากเดือนที่ติดตั้งเครื่องวัดฯ TOU แล้ว
2. ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 4.1 สามารถเลือกใช้อัตราข้อ 4.2 ได้ โดยต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวงและชำระค่าเครื่องวัดฯ TOU ก่อนทั้งนี้หากเลือกใช้แล้วจะกลับไปใช้อัตราเดิมไม่ได้
3. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือนในเดือนถัดไปจะจัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 2
4. ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน เพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่ำสุดด้วย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดย
อัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยน
ทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบกิจการโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไป โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
5.1 อัตราปกติ | |||
อัตรารายเดือน | |||
ค่าความต้องการ พลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|
5.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 220.56 | 3.1097 | 312.24 |
5.1.2 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 256.07 | 3.1471 | 312.24 |
5.1.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 276.64 | 3.1471 | 312.24 |
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้า แต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้า เป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือนเศษของกิโลวัตต์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุด ในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้า มีความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้วเฉพาะส่วนที่เกิน จะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาท สำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ในรอบเดือนนั้น เศษของกิโลวาร์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้งตั้งแต 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
5.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ ( Time of Use Tariff : TOU Tariff ) | |||||
อัตรารายเดือน | |||||
ค่าความต้องการ พลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|||
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | ||
5.2.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 74.14 | 0 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 |
5.2.2 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ | 132.93 | 0 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
5.2.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 210.00 | 0 | 4.3297 | 2.6369 | 312.24 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือนเศษของกิโลวัตต์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุดในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ : สำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใด ผู้ใช้ไฟฟ้า มีความต้องการพลังไฟฟ้า รีแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็นกิโลวาร์ เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้วเฉพาะส่วนที่เกิน จะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาท สำหรับการเรียกเก็บเงิน ค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น เศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
หมายเหตุ
1. ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 5 จะจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 5.2 เท่านั้น ในช่วงที่ยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดฯ TOU อนุโลมให้คิดค่าไฟฟ้าในอัตรา ข้อ 5.1 ไปพลางก่อน
2. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือนในเดือนถัดไปจะจัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 2 และจะจัดเข้ามาอยู่ในอัตราข้อ 5.2 เมื่อมีความต้องการพลังไฟฟ้าดังกล่าว ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไป
3. ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน เพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่ำสุดด้วย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าขององค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการ โดยไม่คิดค่าตอบแทน รวมถึงสถานที่ ที่ใช้ในการประกอบศาสนกิจ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว แต่ไม่รวมถึงหน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ
6.1 อัตราปกติ | ||
อัตรารายเดือน | ||
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|
6.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป |
3.4149
|
312.24 |
6.1.2 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 3.5849 | 312.24 |
6.1.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 20.00 | |
10 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1-10 ) | 2.8013 | |
เกินกว่า 10 หน่วย (หน่วยที่ 11 เป็นต้นไป) | 3.8919 |
6.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff ) | |||||
อัตรารายเดือน | |||||
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|||
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | ||
6.2.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ ขึ้นไป |
74.14 | 0 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 |
6.2.2 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ | 132.93 | 0 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
6.2.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ |
210.00 | 0 | 4.3297 | 2.6369 | 312.24 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือนเศษของกิโลวัตต์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้งตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวัตต์
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุด ในแต่ละเดือน ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
หมายเหตุ
1. ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 6.1 สามารถเลือกใช้อัตราข้อ 6.2 ได้ โดยต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวง และชำระค่าเครื่องวัดฯ TOU ก่อนและหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถขอเปลี่ยนกลับไปใช้อัตราข้อ 6.1 ตามเดิมได้
2. ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 6.1 ต้องชำระค่าบริการรายเดือน ถึงแม้ไม่มีการใช้ไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 6.2 จะต้องชำระค่าบริการรายเดือน เพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่ำสุดด้วย
3. สำหรับการใช้ไฟฟ้าของหน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้องอนุโลมให้จัดอยู่ประเภทที่ 6 จนถึงค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2555 หากผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีปริมาณพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน เกินกว่า 250,000 หน่วยต่อเดือนจะจัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 4 อัตราข้อ 4.2 ในเดือนถัดไปหลังจากเดือนที่ติดตั้งเครื่องวัดฯ TOU แล้ว และตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นไป จะจัดเข้าในประเภทที่ 2 หรือประเภทที่ 3 อัตรา ข้อ 3.2 หรือประเภทที่ 4 อัตราข้อ 4.2 แล้วแต่กรณีตามลักษณะการใช้ไฟฟ้า
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุก ๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 7 กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
ลักษณะการใช้สำหรับการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรที่ทางราชการรับรอง หรือสหกรณ์เพื่อการเกษตร โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
7.1 อัตราปกติ | |
อัตรารายเดือน | |
ค่าพลังงานไฟฟ้า(บาท/หน่วย) | |
100 หน่วย ( กิโลวัตต์ชั่วโมง ) แรก (หน่วยที่ 1-100) |
2.0889 |
เกินกว่า 100 หน่วย (หน่วยที่ 101 เป็นต้นไป) | 3.2405 |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) : | 115.16 |
7.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff ) | |||||
อัตรารายเดือน | |||||
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|||
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | ||
7.2.1 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ | 132.93 | 0 | 4.1839 | 2.6037 | 228.17 |
7.2.2 แรงดันต่ำว่า 12 กิโลโวลต์ | 210.00 | 0 | 4.3297 | 2.6369 | 228.17 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือนคือความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือนเศษของกิโลวัตต์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุดในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
หมายเหตุ
1. ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องมีเครื่องสูบน้ำที่มีแรงม้ารวมกันไม่ต่ำกว่า 25 แรงม้า และต้องทำสัญญากับการไฟฟ้านครหลวงก่อน
2. ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 7.1 สามารถเลือกใช้อัตราข้อ 7.2 ได้โดยต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวง และชำระค่าเครื่องวัดฯ TOU ก่อน และหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถขอเปลี่ยนกลับไปใช้อัตราข้อ 7.1 ตามเดิมได้
3. ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 7.1 ต้องชำระค่าบริการรายเดือน ถึงแม้ไม่มีการใช้ไฟฟ้า
4. ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 7.2 ต้องชำระค่าบริการรายเดือน เพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่ำสุดด้วย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้า ตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการ ในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุก ๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 256 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 8 ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าชั่วคราว เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารทั่วไปหรือสิ่งปลูกสร้าง การจัดงานขึ้นเป็นกรณีพิเศษชั่วคราว หรือการใช้ในกรณีต่างๆ เป็นการชั่วคราว โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
8.1 อัตรารายเดือน | |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (ทุกระดับแรงดัน) หน่วยละ | 6.8025 บาท |
หมายเหตุ
ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้อัตราประเภทนี้ หากประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ไฟฟ้าเป็นการถาวร หรือการไฟฟ้านครหลวงตรวจพบว่าได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ไฟฟ้าเป็นการถาวรแล้ว เช่น ประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม บ้านอยู่อาศัย ฯลฯ จะต้องยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าถาวรที่การไฟฟ้านครหลวงเขต พร้อมกับเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ภายในให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด และชำระเงินค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าแบบถาวรให้ครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ของการไฟฟ้านครหลวง โดยจะจัดเข้าในประเภท 1 - 7 แล้วแต่กรณีตามลักษณะการใช้ไฟฟ้า
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
อัตราค่าไฟฟ้าสำรอง
1. ลักษณะการใช้ไฟฟ้า มี 2 กรณี
กรณีที่ 1
สำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าเฉพาะที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเอง และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของตนเองเป็นหลัก แต่ต้องการไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง เพื่อสำรองไว้ใช้ทดแทน ในกรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวขัดข้องหรือ หยุดเพื่อซ่อมแซม และบำรุงรักษาตามแผนที่ ได้แจ้งการไฟฟ้านครหลวงไว้ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
เครื่องเดียว
กรณีที่ 2
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเฉพาะที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองผลิตพลังงานไฟฟ้าร่วมกับพลังงานความร้อน (Cogeneration)
และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองเป็นหลักแต่ต้องการไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง เพื่อสำรองไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าว ขัดข้องหรือหยุดเพื่อซ่อมแซม และบำรุงรักษาตามแผนงานที่ได้แจ้งการไฟฟ้านครหลวงไว้ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
2. อัตราค่าไฟฟ้า | ||||||
อัตรารายเดือน | ||||||
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
||||
อัตราไฟฟ้าสำรอง | อัตราปกติ | |||||
กรณีที่ 1 | กรณีที่ 2 | On Peak | Off Peak | |||
แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 52.71 | 26.36 | 74.14 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 |
แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 58.88 | 29.44 | 132.93 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 66.45 | 33.22 | 210 | 4.3297 | 2.6369 | 312.24 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
3. การคำนวณค่าไฟฟ้า
3.1 เดือนที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้าสำรองค่าไฟฟ้าคิดจากความต้องการพลังไฟฟ้าสำรอง ตามสัญญา ในอัตราค่าไฟฟ้าสำรองกรณีที่ 1 หรือ กรณีที่ 2 แล้วแต่กรณี โดยไม่คิดค่าพลังงานไฟฟ้า
3.2 เดือนที่มีการใช้ไฟฟ้าสำรองค่าไฟฟ้าคิดทั้งค่าความต้องการพลังไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้า
ค่าพลังงานไฟฟ้า คิดตามพลังงานไฟฟ้าที่ใช้จริงค่าความต้องการพลังไฟฟ้า คิดจากความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริง ดังนี้
3.2.1 ถ้าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงไม่เกินสัญญาคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าส่วนที่ใช้จริงในอัตราปกติ รวมค่าความต้องการพลังไฟฟ้าส่วนที่ต่ำกว่าสัญญาในอัตราไฟฟ้าสำรองกรณีที่ 1 หรือ กรณีที่ 2 แล้วแต่กรณี
3.2.2 ถ้าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงสูงกว่าสัญญาคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริง ส่วนที่เท่ากับสัญญา ในอัตราปกติรวมกับค่าความต้องการพลังไฟฟ้าส่วนที่สูงกว่าสัญญาในอัตรา 2 เท่าของอัตราปกติ
3.3 ค่าไฟฟ้าต่ำสุด ค่าไฟฟ้าต่ำสุด จะต้องไม่ต่ำกว่าค่าไฟฟ้า ที่คำนวณจากความต้องการพลังไฟฟ้าตามสัญญาในอัตราไฟฟ้าสำรองกรณีที่ 1 หรือกรณีที่ 2 แล้วแต่กรณี
3.4 ความต้องการพลังไฟฟ้า ความต้องการพลังไฟฟ้า แต่ละเดือน คือความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์เฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดในช่วงเวลา On Peak ในรอบเดือน เศษของกิโลวัตต์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
3.5 ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังงานไฟฟ้ารีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว เฉพาะส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาท สำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น เศษของกิโลวาร์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ตัดทิ้งตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
หมายเหตุ
1. ผู้ใช้ไฟฟ้า ต้องมีตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า ในรอบปี (Annual Load Factor) ไม่เกินร้อยละ 15 หากเกินร้อยละ 15 การไฟฟ้านครหลวงจะยกเลิกสัญญาการ ขอใช้ไฟฟ้าสำรอง และเปลี่ยนไปคิดอัตราค่าไฟฟ้าปกติในเดือนถัดไป
2. ตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าในรอบปี (Annual Load Factor) คำนวณจากรอบปีของการใช้ไฟฟ้าสำรองตามสัญญาปีละ 1 ครั้ง ดังนี้
ตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า = (จำนวนพลังงานไฟฟ้ารวมในรอบปี /ความต้องการพลังไฟฟ้าที่สูงสุดในรอบปี x จำนวนชั่วโมงในรอบปี)x100%
3. หากความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงในช่วง On Peak ในเดือนใดๆ สูงกว่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำรองตามสัญญา นับได้ครบ 6 เดือน การไฟฟ้านครหลวงจะนำความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้จริง ในช่วงเวลาดังกล่าว มากำหนดเป็นความต้องการพลังไฟฟ้าสำรองตามสัญญา ในเดือนถัดไป เป็นต้นไป
4. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ขอใช้ไฟฟ้าสำรองจะต้องทำสัญญากับการไฟฟ้านครหลวง และแจ้งปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าสำรอง โดยการไฟฟ้านครหลวงจะเป็นผู้พิจารณาปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าสำรอง
5. ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน เพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่ำสุดด้วย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Tariff)
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ตามช่วงเวลาของการใช้ เป็นอัตราเลือกอีกประเภทหนึ่งที่ ใช้ควบคู่กับอัตราปกติ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดใหญ่ มีรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้
- คุณสมบัติของผู้ใช้ไฟฟ้า
เป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทกิจการขนาดใหญ่ ที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าตั้งแต่ 5,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป และมีปริมาณพลังไฟฟ้า ที่สามารถให้งดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Demand) เมื่อการไฟฟ้านครหลวงร้องขอไม่น้อยกว่า1,000 กิโลวัตต์ - คำจำกัดความ
2.1 Interruptible Demand หมายถึง ปริมาณพลังไฟฟ้า ที่ผู้ใช้ไฟฟ้ายินยอม ให้การไฟฟ้านครหลวงงดจ่ายไฟฟ้าได้ เมื่อการไฟฟ้านครหลวงร้องขอ
2.2 Firm Demand หมายถึง ผลต่างของ Maximum Demand (พลังไฟฟ้าสูงสุด) กับ Interruptible Demand
2.3 Maximum Take หมายถึง ปริมาณพลังไฟฟ้าสูงสุดช่วง On Peak ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทำสัญญากับการไฟฟ้านครหลวงว่าจะไม่สามารถงดการใช้ไฟฟ้าได้ ต่ำกว่านี้
- เงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า
3.1 ปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญา
ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการซื้อไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้นี้ จะต้องทำสัญญา ระบุปริมาณ Interruptible Demand และ Maximum Take ที่แน่นอน กับการไฟฟ้านครหลวง ทั้งนี้การไฟฟ้านครหลวง จะทำการตรวจสอบความเป็นไปได้ และของปริมาณ Interruptible Demand Maximum Take ก่อนทำสัญญา
3.2 การแจ้งงดจ่ายไฟฟ้า
การไฟฟ้านครหลวง จะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ทราบเวลางดจ่ายไฟฟ้า และระยะเวลางดจ่ายไฟฟ้าล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงโดยทางโทรสาร โทรศัพท์ หรือ Internet
3.3 การงดใช้ไฟฟ้า
3.3.1 เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ได้รับแจ้งเวลา ของดจ่ายไฟฟ้า จะต้องดำเนินการดับ หรือลดการใช้ไฟฟ้า ให้ได้ปริมาณ Interruptible Demand ตามเวลาและระยะเวลาที่การไฟฟ้านครหลวงแจ้งตามข้อ 3.2 โดยปริมาณพลังไฟฟ้าให้อ่านจากมาตรวัดค่าพลังไฟฟ้า (Demand Meter) ก่อนงดจ่ายไฟฟ้าเทียบกับเมื่อดำเนินการงดจ่ายไฟฟ้าแล้ว
3.3.2 ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ลดการใช้ไฟฟ้าถึงระดับ Maximum Take แต่ปริมาณ Interruptible Demand น้อยกว่าสัญญาให้ถือว่าไม่ผิด สัญญาหากลด การใช้ไฟฟ้า ถึงระดับ Maximum Take แต่ปริมาณ Interruptible Demand น้อยกว่าสัญญา 2 ครั้ง แล้วการไฟฟ้านครหลวงสามารถปรับปริมาณ Interruptible Demand ใหม่ได้
- การแก้ไขปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญา
4.1 ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take ที่ทำสัญญาไว้ได้ โดยทำหนังสือแจ้ง ให้การไฟฟ้านครหลวงทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยมีระยะเวลาการแจ้งแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 12 เดือน
4.2 การไฟฟ้านครหลวงสามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถงดการใช้ไฟฟ้าได้ 2 ครั้ง ตามข้อ 3.3.2 โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง
4.3 การไฟฟ้านครหลวง สามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take เมื่อปริมาณ Firm Demand น้อยกว่า ปริมาณ Maximum Take เป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน หรือเป็นเวลา 3 เดือนในรอบปีสัญญา โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง
- วัน-เวลางดจ่ายไฟฟ้า
การไฟฟ้านครหลวงจะของดจ่ายไฟฟ้า (Interrupt) ระหว่างเวลา 09.00 – 22.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการตามปกติ) โดยมีจำนวนครั้งและระยะเวลาตามข้อ 6. - จำนวนครั้งและระยะเวลาที่การไฟฟ้าสามารถงดจ่ายไฟฟ้า
มี 3 ทางเลือก โดยมีอัตราค่าไฟฟ้าตาม ข้อ 14 ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 3 ชม./ครั้ง , 2 ครั้ง/วัน , 10 ครั้ง/เดือน , 40 ครั้ง/ปี
ทางเลือกที่ 2 การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 3 ชม./ครั้ง , 1 ครั้ง/วัน , 10 ครั้ง/เดือน , 20 ครั้ง/ปี
ทางเลือกที่ 3 การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 6 ชม./ครั้ง , 1 ครั้ง/วัน , 10 ครั้ง/เดือน , 20 ครั้ง/ปี
- การผิดสัญญา
เมื่อการไฟฟ้านครหลวงแจ้งงดจ่ายไฟฟ้าตาม ข้อ 3.2 และผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ 3.3 ให้ถือว่าเป็นการผิดสัญญา จะมีบทปรับกรณีผิดสัญญา ตามข้อ 8 - บทปรับกรณีผิดสัญญา
กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถดับไฟฟ้าได้ตามที่ทำสัญญาไว้ (ในรอบปีนับจากวันที่เริ่มต้นสัญญา)จะมีบทปรับดังนี้
ครั้งที่ 1 การไฟฟ้านครหลวง จะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 1.5 เท่าของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่
ครั้งที่ 2 การไฟฟ้านครหลวง จะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 2 เท่า ของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่
ครั้งที่ 3 การไฟฟ้านครหลวง จะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 3 เท่า ของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่
ครั้งที่ 4 การไฟฟ้านครหลวง จะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 3 เท่า ของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่ และการไฟฟ้านครหลวงสามารถยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ในอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่ สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าจะกลับไปซื้อไฟฟ้าในอัตราปกติ เช่นเดิม
สำหรับการขอดับไฟฟ้า ครั้งแรก นับจากวันเริ่มต้นสัญญา หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถดับไฟฟ้าได้ ตามสัญญาการไฟฟ้านครหลวงจะผ่อนผันคิดค่าไฟฟ้า Interruptible Demand ตามอัตราปกติโดยไม่นับเป็นการผิดสัญญาครั้งที่ 1 แต่หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ 2 ครั้ง หรือครั้งแรกปฏิบัติได้ครั้งที่ สองปฏิบัติไม่ได้จะถูกปรับโดยนับเป็นการผิดสัญญาครั้งที่ 1
- เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
การทำสัญญาอัตราค่าไฟฟ้า ประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ จะใช้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชนิดที่อ่านได้ทั้งพลังงานไฟฟ้า และความต้องพลังไฟฟ้าทุก ๆ 15 นาที และอ่านย้อนหลังได้ไม่น้อยกว่า 31 วัน โดยมีคุณภาพตามมาตรฐานที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด - อายุของสัญญา
อายุของสัญญากำหนดไว้ 5 ปี เมื่อครบอายุสัญญา คู่สัญญาจะพิจารณาดำเนินการต่อไป - การยกเลิกสัญญา
ในระหว่างอายุสัญญา คู่สัญญาสามารถยกเลิกสัญญาได้ในกรณีต่อไปนี้
11.1 ผู้ใช้ไฟฟ้าขอยกเลิกสัญญาได้เมื่อปฏิบัติตามสัญญาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจากวันเริ่มต้นของสัญญา
11.2 ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้เป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 1 ปี
11.3 การไฟฟ้านครหลวงสามารถยกเลิกสัญญาได้ เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ามีปริมาณ Interruptible Demand ต่ำกว่า 1,000 กิโลวัตต์
- กรณียกเว้น
กรณีต่อไปนี้เป็นกรณียกเว้นนอกเหนือจากการแจ้งให้งดจ่ายไฟฟ้า ตามเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้
12.1 กรณีไฟฟ้าดับจากเหตุขัดข้องในระบบหรือการแจ้งดับไฟฟ้าเพื่อการบำรุงรักษาหรือก่อสร้างปรับปรุง
12.2 กรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ในภาวะ Shut Down Load ที่รับไฟจากการไฟฟ้านครหลวงซึ่งเป็นการ Shut Down ตามแผนบำรุงรักษาประจำปี หรือ Shut Down เนื่องจากเหตุฉุกเฉินและผู้ใช้ไฟฟ้าได้แจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงทราบทันทีที่เกิดเหตุดังกล่าวแล้ว
- ปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าคิดเงิน
ปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้า คิดเงินสำหรับอัตราค่าไฟฟ้าประเภท ที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ คือ Interruptible Demand ที่ทำสัญญาไว้ปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าคิดเงินสำหรับอัตราปกติคือ Firm Demand - อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้
อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff)
ทางเลือกที่ 1 และ 3 | ||||||
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ
(บาท/เดือน) |
||||
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | |||
14.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 14.83 | 0 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 | |
14.2 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 26.59 | 0 | 2.6037 | 2.6037 | 312.24 |
ทางเลือกที่ 2 | ||||||
|
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) |
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) |
|||
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | |||
14.3 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 44.48 | 0 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 | |
14.4 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 79.76 | 0 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
ความต้องการพลังไฟฟ้า : คิดในช่วงเวลา On Peak
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือนประกอบด้วยค่าไฟฟ้า ตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุก ๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
ผมอยู่หอพักค่าไฟค่าน้ำ เดือนนึ่งตก2500
เห็นในบิล คิดค่าไฟหน่วยละ15บาท
ผมอยากรู้ว่ามันถูกต้องไหมแล้วถ้ามันไม่ใช่ผมควรทำยังไงครับ