Energy Conservation of Air Compressor : การอนุรักษ์พลังงานในระบบอากาศอัด
1. ดัชนีการใช้พลังงาน
ดัชนีการใช้พลังงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะบอกต้นทุนและปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดแต่ ละชุดที่ใช้งานร่วมกันจะมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน เนื่องจากการสึกหรอของอุปกรณ์ประกอบต่างๆและขาดการบำรุงรักษาที่ดีดังนั้นผู้ใช้งานควรเก็บข้อมูลและตรวจสอบดัชนีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าและหาแนวทางในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
เกณฑ์การเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบค่าที่ดีที่สุดคือการเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ กับพิกัดของอุปกรณ์นั้นและถ้าต้องการเปลี่ยนใหม่ ก็สามารถใช้เปรียบเทียบกับพิกัดของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้แทน
- ร้อยละของปริมาณอากาศอิสระเทียบกับพิกัดไม่ควร ≤90 %
- ร้อยละของดัชนีการใช้พลังงานเทียบกับพิกัดไม่ควร >110 %
2. การตรวจประเมินเบื้องต้นด้านพลังงาน
เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นโดยอาศัย การสังเกตุเทียบกับมาตรฐานเป็นหลัก, การบันทึกข้อมูลพื้นฐานและการตรวจวัดข้อมูลที่จำเป็น ตามรายการ Checklist ในตารางที่ 1 เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของระบบเบื้องต้นและเป็นการเตรียมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการคำนวณดัชนีการใช้พลังงานของเครื่องอัดอากาศและการศักยภาพของการประหยัดพลังงานในขั้นตอนต่อไป
ตารางที่ 1 รายการ Checklist ของระบบอากาศอัด
3. การตรวจวิเคราะห์ด้านประสิทธิภาพพลังงาน
ในการประเมินสมรรถนะการทำงานและประสิทธิภาพของระบบอัดอากาศจำเป็นต้องมีรายการตรวจวัดดังต่อไปนี้
3.1 การตรวจวัดค่าพลังไฟฟ้า
สามารถตรวจวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดค่าพลังไฟฟ้า (Power Meter) ซึ่งสามารถอ่านค่าพลังไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ (kW) ได้โดยตรง หรือคำนวณค่าพลังไฟฟ้าจาก สมการ
พลังไฟฟ้า = แรงดัน x กระแส x ค่าตัวประกอบกำลัง (กรณีไฟฟ้า 1 เฟส)
พลังไฟฟ้า = x แรงดัน x กระแส x ค่าตัวประกอบกำลัง (กรณีไฟฟ้า 3 เฟส)
3.2 การตรวจวัดค่าอัตราการผลิตอากาศอัด
สามารถตรวจวัดได้ 2 วิธี ดังนี้
3.2.1 ตรวจวัดจากปริมาณลมดูด (Free Air Delivery : FAD)
ตรวจวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดความเร็วลม (เมตร/นาที) และพื้นที่ช่องลมเข้า (ตารางเมตร) และคำนวณหาปริมาณลมจากสมการ
อัตราการผลิตอากาศอัด (ลูกบาศก์เมตร/นาที) = ความเร็วลม x พื้นที่ช่องลมเข้า
รูปแสดงตัวอย่างการตรวจวัดอัตราการผลิตอากาศอัด
3.2.2 ตรวจวัดจากการจับเวลาการอัดอากาศเข้าถังลม
เป็นวิธีการที่สามารถตรวจวัดอัตราการผลิตอากาศอัดได้แม่นยำมาก แต่ต้องทำการทดสอบในช่วงเวลาที่ไม่มีการใช้อากาศอัดของเครื่องจักร โดยขั้นตอนดังนี้
-
-
-
-
-
- หยุดเครื่องอัดอากาศ และปิดวาล์วด้านจ่ายอากาศออกจากถัง
-
-
-
-
-
-
-
-
-
- เดรนน้ำในถังลมออกให้หมด และอ่านค่าความดันจากเกจวัดให้ต่ำกว่าความดันใช้งานอย่างน้อย 1 บาร์ (เช่นใช้งานที่ความดัน 7 บาร์ ให้เดรนลมจนเกจวัดความดันที่ถังต่ำกว่า 6 บาร์)
-
-
-
-
-
-
-
-
-
- เดินเครื่องอัด และจับเวลาที่ใช้ในการอัดอากาศจาก 6-7 บาร์
-
-
-
-
อัตราการผลิตอากาศอัด = (ปริมาตรถัง+ท่อก่อนถึงวาล์ว)/เวลาที่ใช้ หน่วย m3/min
รูปแสดงการอ่านค่าความดันขณะทดสอบ
ตารางปริมาตรความจุอากาศภายในท่อขนาดต่างๆ ตามระยะความยาว 1, 2, 5 และ 10 เมตร
3.2.3 การหาประสิทธิภาพของพลังงานของเครื่องอัดอากาศ
ในขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบค่าดัชนีการใช้พลังงานของเครื่องอัดอากาศ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับติดตามการทำงานให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลาโดยใช้การเปรียบเทียบกับค่าพิกัด
ตัวอย่าง 1
เครื่องอัดอากาศชนิดสกรูขนาด 37 kW มีขนาดถัง 300 ลิตร การใช้พลังไฟฟ้าในช่วง Load 35 kW สามารถจับเวลาในช่วงอัดอากาศ (Load) จาก 7 Barg ไปที่ 8 Barg ได้ 3 วินาที เครื่องอัดอากาศจะมีค่าประสิทธิภาพเท่าใด? (ใช้วิธีวัดประสิทธิภาพแบบจับเวลา)
ตัวอย่าง 2
เครื่องอัดอากาศชนิดสกรูขนาด 75 kW มีการใช้พลังไฟฟ้าในช่วง Load 78 kW พื้นที่หน้ากากด้านลมเข้า 0.35 m2 ความเร็วลมเฉลี่ย 4 จุด 0.65 m/s เครื่องอัดอากาศจะมีค่าประสิทธิภาพเท่าใด? (ใช้วิธีวัดประสิทธิภาพแบบตรวจวัดความเร็วลม)
4. มาตรการอนุรักษ์พลังงาน
หัวข้อสุดท้ายนี้ จะกล่าวถึงแนวทางการอนุรักษ์พลังงานสำหรับระบบอากาศอัด โดยจะกล่าวถึงมาตรการพื้นฐาน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ในทุกๆ หน่วยงาน พร้อมตารางช่วยในการประเมินผลประหยัดที่ได้รับจากการดำเนินการ ดังนี้
4.1 การเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง
ประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศ เป็นตัวแปรที่สำคัญมากต่อการใช้พลังงานในระบบอากาศอัดเนื่องจากเครื่องอัดอากาศมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวทำให้เกิดการสึกหรอตลอดเวลา และเมื่อมีอายุการใช้งานนาน อาจส่งผลให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากประสิทธิภาพที่ต่ำลงได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับเครื่องอัดอากาศชุดใหม่ เนื่องจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ต่ำลง และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น
ดังนั้น จึงควรตรวจสอบประสิทธิภาพจริงของเครื่องอัดอากาศอยู่สม่ำเสมอ เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการเปลี่ยนไปใช้เครื่องอัดอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถประเมินผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้าต่อปี สำหรับการเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูงได้ โดยใช้ตารางดังนี้
ตารางแสดงการประหยัดพลังงานไฟฟ้าต่อปี (kWh/y) เมื่อเปลี่ยนไปใช้เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง
4.2 การลดการรั่วไหลอากาศอัด
ความสูญเสียส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในระบบอากาศอัด นอกเหนือจากการสูญเสียความดันแล้วจะเกิดจากการรั่วไหลของอากาศอัด ซึ่งแทบไม่มีระบบอากาศอัดที่ใดเลยที่จะไม่มีการรั่วไหล และโดยมาตรฐานแล้วจะยอมให้มีอากาศอัดรั่วไหลได้ไม่เกิน 5% ของปริมาณอากาศอัดที่ผลิตได้ทั้งหมด
การตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศอัด
ต้องดำเนินการในขณะที่ไม่มีการใช้งานอากาศอัดในเครื่องจักร/อุปกรณ์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- หยุดเดินเครื่องอัด, เปิดวาล์วด้านจ่ายอากาศออกจากถังรวมถึงวาล์วทั้งหมดในระบบ
- เดินเครื่องอัดและจับเวลาที่ใช้ในขณะเครื่องทำงาน (TLoad) และหยุดทำงาน (TUnload)
- คำนวณ % การรั่ว = [TLoad / (TLoad+ TUnload)] x 100
- คำนวณปริมาณอากาศอัดที่รั่วไหล = เปอร์เซ็นต์การรั่ว x อัตราการผลิตอากาศอัด
ตัวอย่างจุดที่มักเกิดการรั่วไหลของอากาศอัด
ยอมรับอากาศรั่วไหลในระบบได้ไม่เกิน 5%
ดังนั้นจึงควรตรวจสอบการรั่วไหลอย่างสม่ำเสมอ และรีบดำเนินการซ่อมแซมตามลักษณะการชำรุดที่ตรวจพบ ซึ่งผลประหยัดที่ได้จากการลดการรั่วไหลของอากาศอัดคำนวณได้ตามสมการ
ตารางการประเมินผลประหยัดพลังงาน (kWh/ปี) จากการลดการรั่วไหลของอากาศอัด
4.3 การปรับลดความดัน
การปรับตั้งความดันที่เหมาะสมกับการใช้งาน มักจะถูกละเลยอย่างมากในการใช้งาน โดยมักตั้งความดันที่สูงเกินความจำเป็น ซึ่งนอกจากเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังส่งผลให้ปริมาณอากาศอัดที่ผลิตได้ต่ำลงอีกด้วยดังนั้นจึงควรตรวจสอบความดันใช้งานที่ปรับตั้งไว้ที่เครื่องอัดอากาศว่าเหมาะสมกับความต้องการใช้งานหรือไม่ โดยตรวจสอบจากความต้องการความดันสูงสุดของอุปกรณ์และปรับตั้งความดันให้สูงกว่าประมาณ 1 บาร์ หรือ ทดลองปรับลดความดันลดลงทีละน้อย (ประมาณ 0.5 บาร์) และตรวจสอบว่าสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตามปกติหรือไม่จนกระทั่งได้ความดันที่ต่ำสุดที่ยังสามารถใช้งานได้อีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานได้ ในกรณีที่บางอุปกรณ์มีความต้องการความดันต่ำ คือ การติดตั้งอุปกรณ์ปรับลดความดันที่ท่ออากาศอัด ก่อนเข้าเครื่องจักร/อุปกรณ์ นั้นๆ
รูปอุปกรณ์ปรับลดความดัน (Pressure Regulator)
สมการสำหรับประเมินผลประหยัดที่เกิดขึ้นจากการปรับลดความดันขาออก
ตารางการประเมิน % ผลการประหยัดที่เกิดขึ้นจากการปรับลดความดันอากาศด้านขาออก
4.4 การปรับลดอุณหภูมิอากาศเข้าเครื่องอัดอากาศ
เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูงอากาศจะมีความหนาแน่นน้อย จึงต้องใช้พลังงานในการดูดอากาศเพื่อให้ได้ปริมาตรตามที่ต้องการมาก ในขณะที่อากาศเย็นความหนาแน่นจะสูงจึงใช้พลังงานในการดูดอากาศน้อยลงนั่นเอง ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิอากาศขาเข้าและงานกลที่ใช้ในการอัดอากาศซึ่งเป็นกระบวนการ Adiabatic เป็นไปตามสมการต่อไปนี้
ตารางการประเมิน % ผลประหยัดที่เกิดขึ้นจากการปรับลดอุณหภูมิอากาศเข้าเครื่อง
4.5 การใช้เครื่องอัดอากาศแบบปรับความเร็วรอบได้ (VSD)
เครื่องอัดอากาศชนิดปรับความเร็วรอบได้ มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องอัดอากาศทั่วไป สามารถให้ผลประหยัดได้สูงถึง 30 % หรือมากกว่า โดยหลักการทำงานของ VSD ของเครื่องอัดอากาศจะถูกควบคุมโดยความดันในระบบ ถ้าความดันในระบบลดต่ำลงกว่าที่กำหนด เครื่องควบคุมความเร็วรอบจะเพิ่มความเร็วรอบของมอเตอร์เครื่องอัดอากาศ ในทางกลับกันความเร็วรอบของเครื่องอัดอากาศจะถูกลดลงเมื่อความดันเพิ่มถึงระดับที่กำหนด
กราฟการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องอัดอากาศแบบเดิม และแบบใหม่ (VSD)
Download
หนังสือคู่มือ (E-book) ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2555). In คู่มือการตรวจวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงานสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. หน้า 6-7 - 6-17
ขอบคุณครับ ได้ความรู้เยอะเลยครับ
อยากทราบว่า ถ้าเราทำม่านละอองน้ำ ในบริเวณใกล้ๆ Air compressor เพื่อลดอุณหภูมิ ของอากาศ ก่อนเข้าที่ Air com จะได้ผลหรือไม่ครับ
อยากได้ข้อมูลกราฟเปรียบเทียบการใช้พลังงานของปั้มลมตั้งแต่ลูกสูปจนไปถึงรุ่นแบบอินเวอร์เตอร์
ขอบคุณครับ
ขอข้อมูลกราฟแสดงการใช้พลังของปั้ลมตั้งแต่รุ่นลูกสูปจนถึงรุ่นที่ปัจจุบัน
กราบงามๆสามจบค่ะ เป็นประโยชน์มากเด้อ