วันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day)

วันงดสูบบุหรี่โลก

(World No Tobacco Day)

31 พฤษภาคม ของทุกปี

วันงดสูบบุหรี่โลก

องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ( ค.ศ. 1988) และได้มีการกำหนดกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ทั้งภาครัฐ ชุมชน และประชากรโลก ให้ตระหนักถึงพิษภัยและโทษของบุหรี่ เพื่อให้ประชากรโลก และเยาวชน ลด ละ เลิกบุหรี่  โดยในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกไว้ว่า "หนุนกฎหมายบุหรี่ใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทย"

วันงดสูบบุหรี่โลก

ที่มา: http://lib.bcnpy.ac.th/

บุหรี่เป็นภัยอันตรายต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง

การสูบบุหรี่หรือผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรค ถุงลงโป่งพอง โรคมะเร็งปอด และโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้มีโอกาสเกิดโรคบางโรคได้มากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้

ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น เช่น คาร์บอนมอนออกไซดื ทาร์ นิโคติน เป็นต้น จากการสำรวจพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดนั้น ร้อยละ 90 มีผลมาจากการสูบบุหรี่ทั้งสิ้น โดยบุหรี่ 1 มวนมีสารก่อมะเร็ง 70 ชนิด สารพิษอื่นๆ 250 ชนิด สารทั่วไปที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองสะสมและทำให้เกิดโรคมากถึง 2000 ชนิด

จากผลการสำรวจปัจจุบัน คนไทยมีแนวโน้มที่สูบบุหรี่และติดแล้วถึงร้อยละ 73 และมีเพียงร้อยละ 27 เท่านั้นที่สามารถเลิกบุหรี่ได้ โดยในปี 2558 พบว่า ในประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่ทั้งสิ้น 10.9 ล้านคน ซึ่งลดลงจากเมื่อปี 2557 (11.4 ล้านคน) แต่อย่างไรก็ตามสถิตินี้ยังนับว่าสูงและน่าเป็นห่วง เนื่องจากผู้ที่สูบบุหรี่โดยส่วนมากพบในหมู่วัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี โดยขณะนี้เยาวชนอายุ 15-18 ปี ติดบุหรี่แล้วมากถึง 358,898 คน และยังคงมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่วงจรการเสพติดบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากเราสามารถช่วยกันป้องกันไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ได้ จะสามารถลดจำนวนเยาวชนไทยจากการติดบุหรี่ได้เป็นอย่างมาก

 

กฎหมายคุ้มครองประชาชนเรื่องบุหรี่

  1. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

สาระสำคัญคือ การห้ามขายบุหรี่ให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2000 บาท ห้ามขายสินค้าอื่นและแถมบุหรี่ให้ หรือ ขายแล้วแถมสินค้าอื่นๆ และห้ามการโฆษณาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ มิใช่จะกระทำแค่วันเดียว แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีแก่ตนเองและผู้ใกล้ชิด

2. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535

มีสาระสำคัญคือ การประกาศเขตปลอดบุหรี่ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  • เขตปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง เช่น รถยนต์โดยสารประจำทางทั้งปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ แท็กซี่ ตู้รถไฟปรับอากาศ ห้องชมมหรสพ
  • เขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด เช่น โรงเรียน ห้องสมุด ยกเว้นห้องส่วนตัว
  • เขตปลอดบุหรี่เกือบทั้งหมด เช่น สถานพยาบาล ศูนย์การค้า สถานที่ราชการ และรัฐวิสาหกิจ จะสามารถสูบได้เฉพาะเขตสูบบุหรี่เท่านั้น
  • เขตปลอดบุหรี่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพื้นที่นั้นๆ เช่น ตู้รถไฟโดยสารทั่วไป (ไม่ปรับอากาศ) และร้านขายอาหาร เฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ แต่ต้องจัดเขตสูบบุหรี่ไม่ให้เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด

วันงดสูบบุหรี่โลก

ที่มา: www.futurepark.co.th

 ‘5 ใจเลิกบุหรี่ ช่วยเลิกได้’

ที่ปรึกษามูลนิธิรณรงค์ฯ บอกว่า เลิกบุหรี่ทำให้เกิดผลดีกับสุขภาพตนเอง ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม หากมีความตั้งใจจะเลิกบุหรี่ ก็เลิกได้อยู่แล้ว แต่ต้องมีความตั้งใจจริง อาจารย์ขอแนะนำเคล็ดลับ ‘5 ใจ’ สู่การเลิกบุหรี่ โดยเริ่มจาก ใจแรก คือ

1. ‘แรงจูงใจ’ ผู้สูบต้องหากำลังใจให้ได้ หาสิ่งที่รัก และศรัทธาที่สุด หรือกำลังใจจากคนในครอบครัวเพื่อเป็นแรงยึดเหนี่ยว และแรงจูงใจเลิกบุหรี่ อย่างเช่น ผู้ที่ศรัทธาในหลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ ก็นำคำสอนของท่านมาใช้ที่ว่า หากอยากสูบให้อมน้ำไว้ ทำแบบนี้ 15 วัน ก็เลิกบุหรี่ได้ และหากอยากเลิกอาจปรึกษาผู้รู้หรือคนเลิกบุหรี่ก็ช่วยได้เช่นกัน

2. ‘ตั้งใจ’ ต้องกำหนดวันว่าจะเลิกวันไหน หากต้องการลดจำนวนบุหรี่ ต้องกำหนดว่า มวนสุดท้ายจะหมดเมื่อไหร่ และไม่ควรเกิน 3 เดือน ระยะเวลาดีที่สุดคือ 1 เดือน

3. ‘ตัดใจ’ ต้องมีความตั้งมั่นว่าไม่สูบแน่นอน แต่ไม่ควรกดดันและไม่เครียด การดื่มน้ำมากๆ ใน 2 อาทิตย์แรก จะช่วยคลายความกระวนกระวาย และหงุดหงิดลงได้ หากมีอาการอยากสูบ ผลไม้รสเปรี้ยวช่วยได้ เช่น มะนาว มะขามเปียก มะยม มะขามป้อม สมอ มะกอก เป็นต้น

ควรพกติดตัวไว้ อยากสูบเมื่อไหร่ ก็เอาออกมาขบหรืออมไว้ในปาก ให้มีรสเปรี้ยวออกมา และเคี้ยวอย่างช้าๆ ไปเรื่อยๆ ประมาณ 2-3 นาที ก็จะช่วยได้ นอกจากนี้ ควรกินผักเยอะๆ และเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด กินอาหารรสจืด และเคี้ยวให้ช้าลง

4. ‘แข็งใจ’ หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้สูบอีก นั่นคือ แอลกอฮอล์ ไม่ควรไปที่ที่เคยไปและสูบ อย่างเช่น ร้านอาหารที่ไปกับเพื่อนเป็นประจำ เป็นต้น สำหรับความรู้สึกอยากสูบจะลักษณะเหมือนคลื่นน้ำ คือมาเป็นระรอกๆ จากเล็กขึ้นไปสูงสุดและเลือนหายไป ความรู้สึกนี้จะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 3 -5 นาที หากแข็งใจ ก็จะหลีกเลี่ยงและผ่านพ้นไปได้

5. ‘ดีใจ’ เมื่อตัดสินใจและเลิกได้แล้ว ถือว่าการเลิกบุหรี่เป็นการให้รางวัลตนเอง ทำให้ตนเองมีความสุข สุขภาพดี ไม่ทำร้ายครอบครัว และไม่ทำร้ายคนอื่นโดยที่เราไม่รู้จัก


Bibliography

bangkokhealth.com. (2015, June 5). “5 ใจ” เลิกบุหรี่ เพื่อชีวีมีสุข. Retrieved from http://www.bangkokhealth.com/: http://goo.gl/dkT5MT

irrigation.rid.go.th/. (NA). วันงดสูบบุหรี่โลก. Retrieved from http://irrigation.rid.go.th/: http://goo.gl/1zbyli

mthai.com. (2013, May 27). วันงดสูบบุหรี่โลก ประวัติคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก. Retrieved from www.mthai.com: http://goo.gl/5eJXMz

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (2016, April 26). วันงดสูบบุหรี่โลก. Retrieved from http://www.ashthailand.or.th/: http://www.ashthailand.or.th/th/no_tobacco_day_page.php?id=885

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (2016, April 27). เอกสารวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ.2558. Retrieved from http://www.ashthailand.or.th: http://www.ashthailand.or.th/th/no_tobacco_day_page.php?id=663

iEnergyGuru-Blue

วันงดสูบบุหรี่โลก

(World No Tobacco Day)

31 พฤษภาคม 2558

1 Review

5

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *