พลังงานหมุนเวียน ภัยคุกคามต่อพื้นที่ธรรมชาติ
พลังงานหมุนเวียน ภัยคุกคามต่อพื้นที่ธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ส่งผลกระทบด้านลบต่าง ๆ ให้กับโลก เช่น สภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายและรุนแรง การเป็นภัยต่อสัตว์ป่า อีกทั้งยังส่งผลต่อความขัดแย้งและการลี้ภัยของมนุษย์อีกด้วย การพยายามที่จะลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตาม Paris Agreement ปี ค.ศ. 2015 ที่จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกที่ 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมโดยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงยานพาหนะไฟฟ้า เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามการที่จะมีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดหรือปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความมั่นคงของพลังงานหมุนเวียนที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง การใช้เงินลงทุนสูงในการสร้างและการจัดเตรียมแบตเตอรีสำหรับเก็บสำรองพลังงาน ยิ่งไปกว่านั้นพลังงานหมุนเวียนเป็นภัยคุกคามต่อธรรมชาติ โดยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลทำให้ความต้องการโลหะ (Metal Demand) เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีการสร้างเหมืองใหม่เพิ่มขึ้นที่สามารถเป็นภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพได้
ปัจจุบันพบว่าโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ มีพื้นที่การติดตั้งที่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ที่สำคัญ และก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อแหล่งที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติที่สำคัญ โดยนักวิจัยสำรวจการก่อตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนประมาณ 12,500 แห่งทั่วโลก พบว่ามีมากกว่า 2,200 แห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ป่า เขตคุ้มครอง และพื้นที่สำคัญที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ตั้งอยู่ในเขตคุ้มครอง (Protected Region) คิดเป็น 17% จากการสำรวจทั้งหมด ซึ่งในขณะนี้พบว่าประเทศทางยุโรปตะวันตกเป็นกรณีที่แย่ที่สุด โดยเยอรมณีและสเปนมี 258 แห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ในขณะที่ประเทศจีนมี 142 แห่ง ซึ่งนักวิจัยในปัจจุบันมีข้อกังวลสำคัญคือแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและเอเชีย เนื่องจากนักวิจัยได้กล่าวว่าจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์สูงถึง 42% ในอีก 8 ปีข้างหน้า
อีกทั้งรัฐบาลประเทศแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกาอนุมัติให้มีการสร้างเขื่อน Stiegler’s Gorge ที่จะตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์ Selous Game ที่เป็นหนึ่งในมรดกโลก โดยโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าวมีกำลังการผลิต 2115 MW จะทำลายพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีขนาดเป็นสองเท่าของเมืองเบอร์ลินจะถูกทำลายและหายไปในใต้น้ำ
โดยตลอด 18 เดือนที่ผ่านมา ทั่วโลกมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องวิกฤตการสูญพันธุ์และงานวิจัยส่วนมากที่ถูกตีพิมพ์ออกมาส่วนมากจะเชื่อมโยงเรื่องการสูญพันธุ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนากำลังแก้ไขปัญหาการปลดปล่อย Carbon Emission โดยการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น แต่มีการกล่าวในทางลบที่ว่าพวกเขากำลังคุกคามสัตว์ป่าเมื่อสถานที่เหล่านี้ได้ไปตั้งอยู่บนพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่ง Dr.Allan ผู้เขียนบทความทางวิชาการหลักของมหาวิทยาลัย Amterdams ได้กล่าวว่า “เมื่อมีการวางแผนหรือการอนุมัติการก่อตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยถ้าพวกเรายังปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพจะหายไปก่อนที่จะเกิดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เสียอีก พวกเราไม่ได้กล่าวว่าพลังงานหมุนเวียนเป็นสิ่งที่ไม่ดี พวกเราแค่ต้องการที่จะผลักดันให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสถานที่ที่ถูกต้องเท่านั้น”
เรียบเรียงโดย วรัชญา พูลสวัสดิ์ ทีมงาน iEnergy Guru
reference :
1. https://www.bbc.com/news/science-environment-52023881
4. https://www.lifegate.com/people/lifestyle/stieglers-gorge-dam-tanzania
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!