ตอบกระทู้
-
ผู้เขียนข้อความ
-
preechakhoParticipant
เลือกค่า lumen ต่อ watt ที่มีค่ามากๆ
เลือกเปลี่ยนหลอดไฟที่มีเวลาการเปิดใช้งานมากก่อน เป็นต้นpreechakhoParticipantมีครับ แต่อาจใช้เวลาซักระยะหนึ่ง เพื่อดูว่าเวอชั่นปัจจุบันที่ใช้อยู่มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปปรับปรุงเป็นเวอชั่นถัดไปครับ
preechakhoParticipantบ้าน
– แอร์ ปรับตั้งอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 25 oC
ล้างทำความสะอาดแอร์ ปีละ 2 ครั้ง
ลดจำนวนเฟอนิเจอร์ในห้องปรับอากาศที่ไม่จำเป็น
ปิดอุปกรณ์เมื่อไม่ได้ใช้งาน
ติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา
เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เป็นต้น ครับพฤศจิกายน 4, 2015 เวลา 2:28 pm เพื่อตอบกลับ: พลังงานส่วนใหญ่ที่ประเทศไทยใช้ส่วนมากคือพลังงานอะไร #11989preechakhoParticipantพลังงานส่วนใหญ่มาจากน้ำมันสำเร็จรูปครับ
ถ่านหินและลิกไนต์ 6.11 %
น้ำมันสำเร็จรูป 48.24 %
ก๊าซธรรมชาติ 7.26 %
ไฟฟ้า 18.96 %
พลังงานหมุนเวียน 19.43 %อ้างอิง รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย ปี 2557 (Thailand Energy Efficiency Situation 2014)
preechakhoParticipantEnPI (Energy Performance Indicator) คือค่าปริมาณหรือผลการวัดสมรรถนะด้านพลังงานตามที่เรากำหนด เช่นระดับองค์กรอาจจะใช้ค่า SEC และหากเป็นระดับอุปกรณ์ก็อาจใช้ค่าประสิทธิภาพเช่น ถ้าเป็นแอร์อาจจะใช้ค่า COP เป็นต้น
ในเบื้องต้นควรกำหนดขอบเขตของ EnPI ว่าอยู่ในระดับไหน ระดับองค์ ระดับแผนก หรือแค่ระดับอุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับการนำไปใช้งาน และตัวแปรที่ใช้ในการทำ EnPI จะต้องสะท้อนการใช้งานของระบบหรืออุปกรณ์นั้นๆด้วยพฤศจิกายน 4, 2015 เวลา 2:04 pm เพื่อตอบกลับ: พลังงานส่วนใหญ่ที่ประเทศไทยใช้ส่วนมากคือพลังงานอะไร #11984preechakhoParticipantพลังงานส่วนใหญ่มาจากน้ำมันสำเร็จรูปครับ
ถ่านหินและลิกไนต์ 6.11 %
น้ำมันสำเร็จรูป 48.24 %
ก๊าซธรรมชาติ 7.26 %
ไฟฟ้า 18.96 %
พลังงานหมุนเวียน 19.43 %อ้างอิง รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย ปี 2557 (Thailand Energy Efficiency Situation 2014)
preechakhoParticipantคือ พลังงานที่ได้มาจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งไม่ได้เอามาจากเชื้อเพลิงแบบฟอสซิล เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานลม พลังงานน้ำ เป็นต้น
preechakhoParticipantหลอดไฟ T5 ภายในชุดอุปกรณ์ประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่โดนฝนหรือโดนแดด ตลอดเวลาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อาจจะมีการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติก็เป็นได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ต่ออาจจะต้องติดอุปกรณ์ป้องกัน หากฝนสาดอาจจะหา cover มาปิด หากโดนแดดตรงๆ อาจจะต้องย้ายหลบไปตำแหน่งอื่น ครับ
preechakhoParticipantในระยะหลังทางภาครัฐก็มีโครงการที่เกี่ยวเนื่องกันออกมาเรื่อยๆ หากมีการใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้น ตัวอุปกรณ์เองก็จะมีราคาถูกลง การใช้งานก็จะแพรหลายมาขึ้น ครับ
พฤศจิกายน 4, 2015 เวลา 1:09 pm เพื่อตอบกลับ: การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน มีขั้นตอนการติดตั้งและวิธีคำนวณอย่างไรบ้าง #11965preechakhoParticipantโดยส่วนใหญ่การติดตั้งจะอยู่บนหลังคาในแนวที่รับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ ไม่มีการบัง และสามารถขึ้นไปทำความสะอาดได้ (ในกรณีที่ใช้งานไปซักระยะนึงอาจจะมีเศษวัสดุหรือใบไม้เข้าไปบัง) ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งส่วนใหญ่จะให้ทางผู้ชำนาญการหรือผู้ขายมาติดตั้งให้
ส่วนการลงทุนและผลประหยัดขึ้นอยู่กับแต่ละราคาของผู้จำหน่ายและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ส่วนมากระยะเวลาคืนทุนจะอยู่ที่ 7-8 ปี แต่หากมีการขายไฟคืนการไฟฟ้าด้วยแล้วระยะการคืนทุนก็จะน้อยลงอาจจะเหลือ 5 ปี ซึ่งก็ควรจะพิจารณาระยะเวลารับประกันให้ครอบคลุมถึงระยะรเวลาคืนทุนด้วยครับ
ลองค้นหาผู้จำหน่ายและเปรียบเทียบราคาและผลที่ได้ดูตามเพจต่างๆครับ หรือจะลองติดตั้งเองก็พอมีสอนวิธีทำในเพจต่างๆด้วยครับพฤศจิกายน 4, 2015 เวลา 11:09 am เพื่อตอบกลับ: อยากให้แนะนำมาตรการการอนุรักษ์พลังงานที่น่าสนใจ คะ #11948preechakhoParticipantระบบปรับอากาศ
– การปรับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม
– การเปลี่ยนเครื่อปรับอากาศประสิทธิภาพสูง
– การลดภาระความร้อนภายในห้อง ฯลฯ
ระบบปั๊มน้ำ
– การหรี่วาล์วให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม
– การติดอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ ฯลฯ
ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
– การเปลี่ยนชนิดหลอดไฟฟ้าประสิทธภาพสูง (หลอด T5 หรือ LED)
– การติดตั้งสวิตช์กระตุก
– การปิดการใช้งานเมื่อไม่ได้ใช้งาน ฯลฯ
ระบบอากาศอัด
– การลดการรั่วไหลอากาศ
– การปรับตั้งความดันใช้งานต่ำลง
– การลดอุณหภูมิอากาศก่อนเข้าเครื่อง ฯลฯ
ระบบไอน้ำ
– การลดการรั่วไหลไอน้ำ
– การนำคอนเดนเสตกลับมาใช้ใหม่
– การน้ำความร้อนปล่อยทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ฯลฯพฤศจิกายน 4, 2015 เวลา 11:01 am เพื่อตอบกลับ: .ในการจะขอ certify ISO 50001 จำเป็นไหมในเรื่องขนาดของหม้อแปลง #11947preechakhoParticipantขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้าไม่มีผลต่อการขอมาตรฐาน ISO50001 ครับ สามารถขอได้
preechakhoParticipantพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550)
อ้างอิง ; http://www.dede.go.th/more_news.php?cid=37พระราชกฤษฏีกาที่กำหนดโรงงานและอาคารควบคุม
อ้างอิง ; http://www.dede.go.th/more_news.php?cid=38และกฏกระทรวงด้านต่างๆ ได้แก่
– กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงาน ในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒
– กฏกระทรวง กำหนดคุณสมบัติ หน้าที่ และจำนวนของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๒
– กฏกระทรวง กำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๕๒ ฯลฯ
อ้างอิง ; http://www.dede.go.th/more_news.php?cid=39หรือลองเข้าไปดูรายละเอียดในเว็บของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ครับ
-
ผู้เขียนข้อความ