เรื่อง
23 มีนาคม: วันอุตุนิยมวิทยาโลก
0 Comments
/
วันอุตุนิยมวิทยาโลก เริ่มมาจากการที่ ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อสำรวจสภาพอากาศทั่วโลก และทำการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศ ตลอดจนพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้หากสภาพอากาศของโลกเกิดการแปรปรวน
22 มีนาคม: วันอนุรักษ์น้ำโลก
วันอนุรักษ์น้ำโลก เริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลในวันที่ 22 มีนาคมปี 1992 ต่อมาองค์การสมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น " วันน้ำโลก " หรือ " World Day for Water "
21 มีนาคม: วันป่าไม้โลก
วันป่าไม้โลก มีต้นกำเนิดมาจากการประชุมสมัชชาทั่วไปของสันนิบาตยุโรปด้านการเกษตร (European Confederation of Agriculture) ครั้งที่ 23 ในปี 2541 และในปีเดียวกันนั้น องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จึงได้มีการกำหนดให้ทุกวันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันป่าไม้โลก (World Forestry Day)
ปิดไฟเพื่อโลก....เพื่อเรา: Earth Hour 2016
Earth Hour เป็นโครงการร่วมมือระดับนานาชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน หรือหน่วยงานต่างๆ ปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้คนหันมาตระหนักถึงปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้ริเริ่มโดยกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF)
13 มีนาคม วันช้างไทย
วันช้างไทย วันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติมีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติเข้าสู่คณะรัฐมนตรี ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย
วันสตรีสากล (International Women's Day)
วันสตรีสากล มีจุดกำเนิดมาจากการนัดหยุดงานและเดินขบวนของกรรมกรหญิงโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีของผู้ใช้แรงงานหญิงนำโดย คราลา เซทคิน ผู้นำแรงงานหญิงชาวเยอรมัน
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา มาจากคำว่า "มาฆปุรณมี" หมายถึงการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ยังถือว่าเป็น “วันจาตุรงคสันนิบาต” แปลว่า การประชุมประกอบด้วยองค์ ๔
วันมะเร็งโลก (World Cancer Day)
วันมะเร็งโลก วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) กำหนดให้เป็น วันมะเร็งโลก (World Cancer Day) โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของโรคมะเร็ง
วันนักประดิษฐ์
วันนักประดิษฐ์ การประดิษฐ์เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยมีนักประดิษฐ์คิดค้นซึ่งอยู่ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ ความสามารถ และสนใจที่จะดัดแปลงหรือคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ
วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระกฤดาภินิหาร ในความเป็นนักรบที่กล้าหาญซึ่งได้รับการยกย่องสรรเสริญในวีรกรรมที่ได้ทรงประกาศอิสรภาพ ทำให้เมืองไทยพ้นจากอำนาจของพม่า
10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม
25 พฤศจิกายน วันวชิราวุธ
วันวชิราวุธ ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่ฯ ทรงพระราชทานกำเนิดเสือป่าได้ 2 เดือน ซึ่งในระยะเวลานั้นกิจการเสือป่าได้ดำเนินไปอย่างเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง เห็นได้จากการเพิ่มจำนวนสมาชิกของเสือป่าที่มากขึ้น และกิจการเสือป่าถูกจำแนกออกไปเป็นกองเสือป่าประเภทต่างๆ อีกมาก แม้จะทรงพอพระราชหฤทัยเพียงใด
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช เป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร 5 ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน