“Solar-Bike” จักรยานไฟฟ้า ยานพาหนะแนวใหม่ ลดใช้พลังงาน

"Solar-Bike"

จักรยานไฟฟ้า ยานพาหนะแนวใหม่ ลดใช้พลังงาน

 

solar-bike-lead

เมื่อคุณอยากได้จักรยานไฟฟ้าสักคันเพื่อช่วยในการเดินทางไปที่ต่างๆ อย่างสะดวกสบาย คุณเชื่อไหมว่าเมื่อต้องใช้รถจักรยานไฟฟ้า (Electric Bike) แล้วต้องมานั่งรอเจ้าจักรยานชาร์ตไฟฟ้าเพื่อจะได้ใช้งานต่อจะเสียเวลามากน้อยแค่ไหน แต่ตอนนี้ วิศวกรหัวใส Jesper Frausig ได้ประดิษฐ์จักรยานไฟฟ้าที่สามารถชาร์ตไฟฟ้าได้ทุกที่เพียงคุณจอดไว้กลางแสงแดดจักรยานไฟฟ้าชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า “Solar bike

Solar Bike นี้ถูกออกแบบให้มีการติดตั้งแผง Solar Cell ไว้บริเวณจานล้อจักรยานทั้งสองด้าน ติดตั้งทั้งล้อหน้าและล้อหลัง เมื่อคุณจอด Solar Bike ไว้กลางแดด จะเกิดการชาร์ตไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ ซึ่งสามารถวิ่งได้ 2-25 กิโลเมตรต่อวัน ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ได้จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และมุมที่จอดจักรยาน อย่างไรก็ตาม Solar Bike ก็สามารถสะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ที่แบตเตอร์รี่ (thermos-shaped battery) เพื่อใช้ในการวิ่งได้ไกลถึง 70 กิโลเมตร ความเร็วทั่วไปของ Solar Bike เมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าจะอยู่ที่ 15 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 24 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เจ้า Solar Bike สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 30 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือประมาณ 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เราสามารถใช้ Solar Bike ไปทำงานในเมืองได้

solar-bike-2

 

Jesper Frausig ใช้เวลาคิดค้นรถไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาแล้ว 3 ปีโดยรุ่นปัจจุบันเป็นรุ่นต้นแบบรุ่นที่สองของเขา ถึงแม้ว่าไม่มีการผลิต Solar Bike ออกมาใช้งานทั่วไปในปัจจุบัน แต่สิ่งประดิษฐ์แนวรักษ์โลกนี้ได้ถูกเสนอเข้าชิงรางวัล INDEX: Design to improve life Award เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

solar-bike-1

 

Solar Bike ถือเป็นยานพาหนะแนวใหม่ที่นอกจากทำให้เราเดินทางระยะใกล้ๆ ได้อย่างสะดวกสบายแล้วยังช่วยลดการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งผลิตเดิมซึ่งส่วนใหญ่ในโลก ยังใช้พลังงานจากฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงหลัก ซึ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน

 

ที่มา : Cameron, C. (2015, April 12). This solar-powered e-bike has a top speed of 30 mph. Retrieved from inhabitat.com: http://inhabitat.com/this-solar-powered-e-bike-has-a-top-speed-of-30-mph/

 

ienergyguru.com

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *