ความคลาดเคลื่อนและความเที่ยงตรงในการวัด
1. ความคลาดเคลื่อน
ความคลาดเคลื่อน หมายถึง “ผลต่างระหว่างค่าที่วัดได้ และค่าที่แท้จริง” สาเหตุของความคลาดเคลื่อนเกิดได้จาก วิธีการวัดจากเครื่องวัดและสภาพแวดล้อมในการวัด ดังนั้นเราต้องศึกษาวิธีการวัดตามคู่มือของเครื่องวัดและตรวจวัดให้ถูกต้องและเข้าใจความละเอียดถูกต้องของเครื่องวัดที่เราใช้งาน
เครื่องวัดต่างๆมีการกำหนดสภาวะแวดล้อมในการใช้งาน เราต้องระมัดระวังการใช้เครื่องมือวัดต้องเป็นไปตามที่เครื่องระบุ มิฉะนั้นค่าที่วัดได้จะเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นได้
ความหมายที่ควรรู้จัก
Range | ช่วงของปริมาณที่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัด |
Span & Full Scale | ผลต่างระหว่างค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดของ Range |
ความละเอียด (Resolution, Least Count) | บอกถึงค่าการวัดที่เล็กที่สุดที่เครื่องมือวัดจะแสดงผลได้ ตัวอย่างเช่น หาก Rang เท่ากับ -50 0C ถึง 200 0C แล้ว Span จะเท่ากับ 250 0C |
ค่าความคลาดเคลื่อน | แสดงได้หลายวิธีดังต่อนี้ 1) แสดงเป็นตัวเลข ถ้าความแม่นของเครื่องมือวัดอุณหภูมิเป็น ± 20C ค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดมีค่า ± 20C สำหรับการวัดทุกครั้ง 2) แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของการอ่านเต็มสเกล (Full-scale) ถ้าความแม่นของเครื่องมือวัดเป็น ± 5% FS ของการอ่านเต็มสเกล 5V ค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดนี้มีค่า ± 0.25 V สำหรับการวัดทุกครั้ง 3) แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของช่วงการวัด (Span) ถ้าความแม่นของเครื่องมือวัดความดันเป็น ± 3% ระหว่างช่วงการวัด 20-50 psi ค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดนี้มีค่า ± 0.9 psi สำหรับการวัดทุกครั้ง 4) แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าที่อ่านได้ ถ้าความแม่นของเครื่องมือวัดเป็น ± 5% การอ่านค่าที่วัดได้ 2 V จะมีค่าความคลาดเคลื่อน ± 0.1 V |
2.ความเที่ยงตรง
ความแม่น (Accuracy) ความสามารถของอุปกรณ์ที่จะให้ค่าที่ใกล้เคียงกับค่าตามจริงได้เพียงใด ค่าความแม่นของอุปกรณ์สามารถทราบได้เมื่อเรานำอุปกรณ์นั้นไปสอบเทียบ (Calibrate) ผลต่างระหว่างค่าที่อ่านได้และค่าจริงก็คือความคลาดเคลื่อน (Error) ถ้าเปรียบเทียบกับการยิงปืน ความแม่นยำหมายถึง ความสามารถในการยิงปืนที่แม่นเข้าเป้าตรงกลาง
ความเที่ยง (Precision) ความสามารถของอุปกรณ์ที่จะอ่านค่าๆเดียว ภายใต้สภาพการทำงานเดียวกัน ซ้ำกันหลายๆครั้ง ค่าความเที่ยง (Precision) จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าความแม่น (Accuracy) ถ้าเปรียบเทียบกับการยิงปืน ความเที่ยงคือ ความสามารถในการยิงปืนหลายครั้งโดยให้วิถีกระสุนเกาะกลุ่มกันการทดสอบค่าความเที่ยงนั้น ถ้าเป็นการทดสอบในช่วงสั้นๆจะเรียกค่าที่วัดได้ว่า Repeatability ถ้าเป็นการทดสอบในช่วงระยะเวลาที่นานจะเรียกค่าที่วัดได้ว่า Reproducibility
ความเที่ยงสูง ความแม่นต่ำ
ความเที่ยงต่ำ ความแม่นสูง
ความเที่ยงสูง ความแม่นสูง
รูปที่ 2.8 ความเที่ยงและความแม่นยำ
อ้างอิง
ที่มาจากหนังสือ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2555) บทที่2 ความคลาดเคลื่อนและความเที่ยงตรงในการวัด In คู่มือการวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงานสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (pp. 2-9 - 2-10)

Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!