อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

(Personal Protection Equipments)

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment) หรือเรียกสั้นๆว่า พี พี อี (PPE) หมายถึง อุปกรณ์ที่สวมใส่ปกคลุมส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพและสิ่งแวดล้อมในขณะปฎิบัติงาน โดยทั่วไปในการทำงานจะมีการป้องกันและควบคุมสภาพแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรม เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนวิธีการทำงาน เป็นต้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมาใช้เพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณปฎิบัติงาน

ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  1. อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ (Head Protection) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันศรีษะจากการถูกกระแทก หรือวัตถุจากที่สูงตกลงมากระแทก และป้องกันตรายจากไฟฟ้าและสารเคมีเหลว ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันศรีษะที่สำคัญ คือ หมวกนิรภัย (Safety Hat) และหมวกกันศรีษะชน (Bump Hat)
  2. อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses) ใช้สำหรับป้องกันดวงตาจากการกระแทกกับของแข็ง ป้องกันสารเคมีหรือวัตถุกระเด็นเข้าตาจนได้รับอันตรายในขณะปฎิบัติงาน
  3. อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) เป็นอุกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเสียงที่ดังเกินกว่าที่หูคนเราจะสามารถรับได้ คือมีระดับเสียงสูงเกินกว่า 85 เดซิเบล (เอ) โดยหากระดับเสียงในขณะทำงานสูงเกินกว่า 130 เดซิเบล (เอ) ถือว่าเป็นตรายต่อการได้ยินของหู ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันหูที่สำคัญและเหมาะสมกับการใช้งาน ได้แก่
    1. ปลั๊กลดเสียง (Ear Plug) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงที่ดังเกินไป โดยวัสดุที่ทำจากยาง พลาสติกอ่อน ทีมีขนาดพอดีกับรูหู และสามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 15 เดซิเบล (เอ)
    2. ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs) เป็นอุปกรณ์ป้องกันตรายจากเสียงแบบครอบหู โดยมีก้านโค้งครอบศรีษะและใช้วัสดุที่มีความนุ่มหุ้มทับ ในส่วนของตัวครอบหูนั้นถูกออกแบบให้มีลักษณะแตกต่างกันตามการใช้งาน และสามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบล (เอ)
  4. อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection) ในขณะปฎิบัติงานที่ต้องใช้ส่วนของมือ นิ้วมือ และแขน นั้นมีความเสี่ยงอันตรายจากการสัมผัสกับสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์ หรือสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอันตายร้ายแรงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันมือชนิดต่างๆ ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงานดังนี้
    1. ถุงมือยางกันไฟฟ้า: ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดในขณะปฎิบัติงาน
    2. ถุงมือกันความร้อน: อาจเป็นถุงมือหนังหรือถุงมือผ้าขึ้นอยู่กับลักษณะของการทำงาน โดยถุงมือจะต้องมีความหนาและทนทานเมื่อใช้สัมผัสกับวัตถุหรืออุปกรณ์ที่มีความร้อนจะต้องไม่ฉีกขาด
    3. ถุงมือยางชนิดไวนีลหรือนีโอพรีน ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือซึมผ่านผิวหนังได้
  5. อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการกระแทก หรือวัตถุหรือสารเคมีหกใส่เท้า รวมถึงป้องกันการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากการปฎิบัติงาน โดยรองเท้าแบ่งออกตามลักษณะของงาน ดังนี้
    1. รองเท้าป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า: ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า สวมใส่เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด ทำจากยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์
    2. รองเท้านิรภัย ชนิดหัวรองเท้าเป็นโลหะซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักได้ 2500 ปอนด์ และทนแรงกระแทกของวัตถุหนัที่ตกจากที่สูง 1 ฟุต ได้ 50 ปอนด์
    3. รองเท้าป้องกันสารเคมี ทำจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น ยางธรรมชาติ ไวนิล นีโอพรีน หรือยางสังเคราะห์

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปฎิบัติงาน เนื่องจากในขณะปฎิบัติงานอันตรายต่างๆมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้ตัวท่านเกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรสวมใส่อยู่เสมอเพื่อให้การปฎิบัติงานเป็นไปด้วยความปลอดภัยสูงสุด


Bibliography

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (NA). อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงาน. Retrieved from http://e-book.ram.edu/: http://e-book.ram.edu/e-book/h/HA233/chapter6.pdf

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). PPE. Retrieved from http://www.stou.ac.th/: http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_1/sanitation.htm

iEnergyGuru-Blue

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

(Personal Protection Equipments)

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *