อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อหุ่นยนต์จะทำงานแทนเรา ?

อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อหุ่นยนต์จะทำงานแทนเรา ?

4-0-หุ่นยนจะทำงานแทนเรา

ที่มาของรูปภาพ website : weforum

4-0-หุ่นยนจะทำงานแทนเรา แท้ที่จริงแล้วหุ่นยนต์มีการทำงานแทนเรามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 แต่เหตุใดเหล่านักการเมืองหรือผู้นำทางธุรกิจทั้งหลายจึงเพิ่งจะรู้สึกเป็นกังวลว่าหุ่นยนต์อาจเป็นสาเหตุทำให้มีผู้ตกงานจำนวนมหาศาล? คำถามคือ... จริง ๆ แล้วหุ่นยนต์คืออะไรกันแน่? ในขณะที่นิยายวิทยาศาสตร์มักนำเสนอให้เราเห็นว่าหุ่นยนต์นั้นต้องมีลักษณะรูปร่างเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่จริงๆ แล้ว หุ่นยนต์นั้นมีหลากหลายรูปแบบมากกว่าที่เราคิดหรือจินตนาการ หุ่นยนต์แบบดั้งเดิมในศตวรรษที่ 20 มีลักษณะเป็นเครื่องจักรอัตโนมัติและเป็นแขนหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ ทว่าหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ในศตวรรษที่ 21 นั้นสามารถคิดเงินในซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติในคลังสินค้า หรือแม้แต่เป็นเครื่องพลิกเนื้อเบอร์เกอร์อัตโนมัติตามร้านฟาสต์ฟู้ด เป็นต้น แม้ท้ายที่สุดแล้วการใช้แรงงานมนุษย์อาจดูจะพร่ำเพรื่อเกินไป เพราะการใช้หุ่นยนต์ก็เหมือนจะเพียงพอแล้ว แต่อย่าลืมไปว่าหุ่นยนต์เหล่านี้เป็นใบ้และไม่สามารถโต้ตอบกับมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติได้ นั่นเพราะพวกมันไม่สามารถคิดเองได้ แม้จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างแม่นยำแต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ดังนั้นมนุษย์อย่างเรา ๆ ยังจำเป็นต้องทำงานอื่นที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้หรือซ่อมแซมพวกมันเมื่อเกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงไป ต้องขอบคุณที่มีการประดิษฐ์หุ่นยนต์คลื่นลูกใหม่ที่มีความเฉลียวฉลาดและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หลายๆ อย่างในคราวเดียว การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มีนัยสำคัญที่จะสร้างการปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมาได้

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ โดยหุ่นยนต์อันชาญฉลาดและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สามารถปฏิบัติงานได้หลากหลายหน้าที่ในคราวเดียว (ที่มาของรูปภาพ website : weforum)

 อุตสาหกรรม 4.0

ยุคของ “อุตสาหกรรม 4.0” กำลังได้รับแรงหนุนจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้สามารถใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนในกระเป๋าของเราได้ ซึ่งจะเป็นการผสมผสานกันของระบบคอมพิวเตอร์ลงทุนน้อยแต่ให้พลังงานสูง กับระบบการสื่อสารที่รวดเร็ว และระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI โดยการผนวกกันเช่นนี้จะช่วยสร้างหุ่นยนต์ที่ฉลาดกว่าเดิมที่มีความรู้สึกและสามารถสื่อสารได้ ทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หลายอย่างในคราวเดียวหรือแม้กระทั้งสามารถประสานการทำงานระหว่างหุ่นยนต์ด้วยกันโดยที่ไม่ต้องพึ่งการป้อนงานโดยมนุษย์อีกต่อไป

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อุตสาหกรรม 4.0 จะช่วยให้หุ่นยนต์ของพวกเขาสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อมและสามารถสื่อสารภายในเครือข่ายอุตสาหกรรม โดยการเรียกใช้และตรวจสอบจากระยะไกลด้วยรีโมทคอนโทรลได้ นอกจากนี้ เครื่องจักรแต่ละเครื่องยังสามารถส่งข้อมูลจำนวนมากๆ ในคราวเดียวได้ และสามารถศึกษาในคราวเดียวจากสิ่งที่เรียกว่า “big data” นั่นเอง วิธีนี้จะช่วยกำหนดแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพการผลิตได้ทั้งโรงงาน ยกตัวอย่างเช่น การคาดการณ์ที่ดีขึ้นเมื่อเครื่องจักรจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาและการกำหนดเวลาเตือนโดยอัตโนมัติ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง อุตสาหกรรม 4.0 จะทำให้หุ่นยนต์มีราคาถูกลงและใช้งานง่ายขึ้น ซึ่งจะเป็นเครื่องจักรที่สามารถปรับแต่งเพื่อให้สามารถทำงานได้หลากหลายหน้าที่มากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนให้สามารถทำงานได้หลายรูปแบบ และสามารถปรับให้สามารถผลิตได้ในปริมาณที่แตกต่างกันได้ โดยภาคอุตสาหกรรมจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการที่หุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้ด้วย อย่างระบบ BAXTER, SR-TEX และ CareSelect เป็นต้น

จุดเปลี่ยนในการใช้ AI เพื่อการผลิตสามารถนำมาใช้พร้อมกับการใช้ไมโครชิพพิเศษที่เรียกว่าหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ซึ่งการเรียนรู้เชิงลึกเช่นนี้สามารถนำไปใช้กับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถูกติดตั้งให้ส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วที่สุดไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเพื่อการพัฒนาสู่การใช้ระบบนี้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คือ การที่ต้องสรรหานักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวต่อไป

ที่มาของรูปภาพ website : theconversation

เรียบเรียงโดย นาย ศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตย์ ทีมงาน iEnergy Guru

เอกสารอ้างอิง

https://www.weforum.org/agenda/2017/07/robots-have-been-taking-our-jobs-for-50-years-so-why-are-we-worried-now/

https://theconversation.com/does-the-next-industrial-revolution-spell-the-end-of-manufacturing-jobs-80779

https://www.forbes.com/sites/madhvimavadiya/2017/07/31/robots-steal-finance-jobs/#1d9735237530

อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อหุ่นยนต์จะทำงานแทนเรา ?

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *