แนวคิดหลักของมาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 Version 2018 (ISO 50001:2018 Concept and Introduction)

ISO 50001:2018 คือ มาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงานที่ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2018  สำหรับมาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงานในปัจจุบันเป็นฉบับที่ 2 แล้ว (The Second Edition) โดยประกาศใช้งานเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 ส่วนมาตรฐานสากลการจัดการพลังงานฉบับแรก (The First Edition) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2011 ทั้งนี้แนวความคิดหลักในการนำระบบมาตรฐานสากลด้านการจัดการมาใช้ในการปรับปรุงด้านประสิทธิภาพพลังงาน หรือ สมรรถนะพลังงานของหน่วยงานเพื่อให้ระบบการจัดการพลังงานมีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานและเกิดการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ด้วยกระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ทั้งนี้มีกระบวนหลักที่ต้องให้ความสำคัญ ทำความเข้าใจและนำไปประยุกต์ในองค์กรอย่างเหมาะสมดังนี้

1.) แนวทางด้านสมรรถนะพลังงาน (Energy Performance Approach)

      • ข้อกำหนดฉบับนี้แสดงความต้องการให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ (Systematic) การขับเคลื่อนโดยข้อมูลและกระบวนการที่เป็นข้อเท็จจริงที่มุ่งไปสู่การปรับปรุงสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง
      • สมรรถนะพลังงาน (Energy Performance) เป็นแนวคิดที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency) ลักษณะการใช้พลังงาน (Energy Use) และปริมาณการใช้พลังงาน (Energy Consumption)

        รูปที่ 1 แนวคิดด้านสมรรถนะพลังงาน (Energy Performance)

      • การวัดผลของการเปลี่ยนแปลงของสมรรถนะพลังงงาน โดยการจัดทำตัวชี้วัดสมรรถนะพลังงาน (Energy Performance Indicator; EnPI) และข้อมูลฐานด้านพลังงาน (Energy Baseline; EnB) ของปีฐานซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน โดยต้องนำค่า EnPI ที่ได้รับการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (Normalization) เพื่อลดความเบี่ยงเบนของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง (Relevant Variables) ซึ่งแสดงถึงค่าสมรรถนะพลังงานในปัจจุบันมาเปรียบเทียบกับ EnB ในปีฐาน เพื่อแสดงถึงผลของการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานที่เกิดขึ้น

        รูปที่ 2 แนวคิดของการวัดผลของสมรรถนะพลังงานโดยการเปรียบระหว่าง EnPI กับ EnB

2.) แนวคิดของกระบวนการ Plan-Do-Check-Act (PDCA)

กระบวนการจัดการพลังงานตามแนวคิด PDCA สำหรับ ISO 50001:2018 ดังแสดงในรูปที่ 3 อธิบายถึงขอบข่ายของระบบการจัดการพลังงาน (Scope of the Energy Management System) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายในองค์กร ต้องพิจารณาและทำความเข้าใจบริบทขององค์กร (Context of the Organization) โดยบริบทขององค์กรในที่นี้หมายถึงสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะพลังงาน และการจัดการพลังงาน ซึ่งจะพิจารณาถึงปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน (External and Internal Issues) และความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Need and Expectations of the Interested Parties) ที่ส่งผลต่อการผลลัพธ์ที่องค์กรคาดหมายไว้จากระบบการจัดการพลังงาน (Intended Outcomes of the Energy Management System) ภายในขอบข่ายและขอบเขตที่กำหนดไว้ โดยการดำเนินการผ่านกระบวนการ PDCA หรือ Plan (Planning) – Do (Support and Operation) – Check (Performance Evaluation) – Act (Improvement) โดยมี Leadership คือ ผู้บริหารสูงสุด หรือ Top Management เป็นแกนกลางหรือหัวใจหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการพลังงานสู่ผลลัพธ์ที่องค์กรคาดหมายไว้ให้ประสบผลสำเร็จ

รูปที่ 3 กระบวนการจัดการพลังงานตามแนวคิด PDCA สำหรับ ISO 50001:2018

มาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงาน (ISO 50001:2018) มีแนวทางการดำเนินการตามกระบวนการ PDCA เช่นเดียวกับมาตรฐานสากลการจัดการอื่น ๆ ดังนี้

Plan: การวางแผน (Clause 4,5,6) ประกอบด้วยการดำเนินการในกระบวนการวางแผนดังนี้

  • การทำความเข้าใจบริบทองค์กร
  • การกำหนดขอบเขตและขอบข่าย
  • การจัดทำนโยบายด้านพลังงานและแต่งตั้งทีมจัดการพลังงาน
  • การดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส
  • การดำเนินการทบทวนด้านพลังงาน
  • การบ่งชี้ลักษณะการใช้พลังงานที่นัยสำคัญ
  • การจัดทำ EnB และ EnPI
  • การจัดทำวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านพลังงาน และการจัดทำแผนปฏิบัติงาน

Do: การนำไปปฏิบัติ (Clause 7,8) ประกอบด้วยการดำเนินการในกระบวนการนำไปปฏิบัติดังนี้

  • การจัดสรรทรัพยากร ความสามารถ การสื่อสาร และความตระหนัก
  • ระบบเอกสารสารสนเทศ
  • การดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน
  • การควบคุมการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา
  • การออกแบบและจัดซื้อโดยคำนึงถึงสมรรถนะพลังงาน

Check: การตรวจ (Clause 9) ประกอบด้วยการดำเนินการในกระบวนการตรวจติดตามดังนี้

Act: การปรับปรุง (Clause 10) ประกอบด้วยการดำเนินการในกระบวนการปรับปรุงดังนี้

  • การดำเนินการต่อความไม่สอดคล้องที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
  • การปรับปรุงสมรรถนะพลังงานและระบบการจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่อง

แสดงความต้องการของข้อกำหนด Clause 4. ถึง Clause 10 ในรูปที่ 4

รูปที่ 4 ข้อกำหนดหลักมาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001:2018

 

ความเข้ากันได้กับมาตรฐานอื่น ๆ (Compatibility  with Other Management System Standards)

  • ระบบการจัดการพลังงานมาตรฐานสากล สามารถใช้งานได้โดยอิสระหรือสามารถควบรวมกับระบบมาตรฐานสากลด้านการจัดการอื่น ๆ ในองค์กร
  • องค์กร 2 แห่ง ที่มีการดำเนินงานเหมือนกันแต่มีสมรรถนะพลังงานที่แตกต่างกันสามารถจัดทำระบบการจัดการพลังงานสอดคล้องกับความต้องการของมาตรฐานสากล ISO 50001 ได้ทั้งสองแห่ง (บริษัทที่ผลิตสินค้าเหมือนกันไม่จำเป็นต้องมีสมรรถนะพลังงานเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน)

ผลประโยชน์ (Benefit of This Document)

  • สามารถนำแนวทางการจัดการพลังงานผนวกเข้ากับแนวทางการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กร
  • องค์กรสามารถสร้างกระบวนการในการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลดต้นทุนด้านพลังงาน
  • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กร
  • นำองค์กรไปสู่เป้าหมายการลดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโดยการลด
    การใช้พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions

 

แปลและเรียบเรียงโดย ดร.วิชาญ นาคทอง ทีมงาน iEnergy Guru

  • International Organization for Standardization. ISO 50001(The Second Edition) Energy Management System—Requirements with Guidance for Use; International Organization for Standardization: Geneva, Switzerland, 2018.
  • International Organization for Standardization. ISO 50006 Energy management systems—Measuring Energy Performance Using Energy Baselines (EnB) and Energy Performance Indicators (EnPI)—General Principles and Guidance; International Organization for Standardization: Geneva, Switzerland,

 

2 Reviews

5
5

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *