แหล่งความร้อนใต้พิภพของประเทศไทย

แหล่งความร้อนใต้พิภพของประเทศไทย

ในประเทศไทยพบแหล่งนํ้าพุร้อน 112 แหล่ง กระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ โดยวัดอุณหภูมินํ้าร้อนที่ผิวดินอยู่ในช่วง 40-100 องศาเซลเซียส แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทย แบ่งตามอุณหภูมิแหล่งกักเก็บและปริมาณนํ้าร้อนได้ 4 ประเภท ได้แก่

1) แหล่งที่มีศักยภาพพลังงานสูงมีอุณหภูมิสูงกว่า 180 องศาเซลเซียสและมีลักษณะโครงสร้างธรณีวิทยาที่สามารถกักเก็บนํ้าร้อนได้มากในระดับที่ไม่ลึกมากนัก เช่น แหล่งสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ แหล่งแม่จัน จังหวัดเชียงราย แหล่งแม่จอก จังหวัดแพร่ เป็นต้น

2) แหล่งที่มีศักยภาพพลังงานปานกลางมีอุณหภูมิ 140-180 องศาเซลเซียส ลักษณะโครงสร้างกักเก็บนํ้าร้อนได้มาก เช่น แหล่งโป่งกุ่ม จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งโป่งนาคำ จังหวัดเชียงราย แหล่งโป่งสัก จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

3) แหล่งที่มีศักยภาพพลังงานปานกลาง ลักษณะโครงสร้างกักเก็บนํ้าร้อนได้น้อย เช่น แหล่งป่าแป๋ จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง เป็นต้น

4) แหล่งที่มีศักยภาพพลังงานตํ่าลักษณะโครงสร้างกักเก็บนํ้าร้อนได้น้อย เช่น แหล่งปิงโค้ง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งโป่งปู่เฟือง จังหวัดเชียงราย แหล่งแม่นะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน แหล่งโป่งนํ้าร้อน จังหวัดลำปาง เป็นต้น

แผนที่แหล่งน้ำพุร้อนของประเทศไทยแผนที่แหล่งน้ำพุร้อนของประเทศไทย

แหล่งความร้อนใต้พิภพของประเทศไทย

Source : www.mazdacity.co.th

นํ้าพุร้อนสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งความร้อนใต้พิภพของประเทศไทย

Source : http://www.thaiticketmajor.com/

นํ้าพุร้อนโป่งเดือด/ป๋าแป๋ จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งความร้อนใต้พิภพของประเทศไทย

Source : http://travel.thaiza.com/

นํ้าพุร้อนรัตนโกสัย (ท่าสะท้อน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี


Bibliography


กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2557). พลังงานความร้อนใต้พิภพ. In กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, สารานุกรมพลังงานทดแทน (pp. 238). กรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย.

ienergyguru.com

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *