COP 21 summary: ความร่วมมือของทุกชาติในการควบคุมอุณหภูมิโลก

 COP 21 summary

ความร่วมมือของทุกชาติในการควบคุมอุณหภูมิโลก

จบลงไปแล้วกับการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 (COP 21) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 11 ธันวาคม 2558 โดยมีประเทศเข้าร่วมถึง 195 ประเทศจากทั่วภูมิภาคของโลก

cop 21 summary

source: www.cop21paris.org

ข้อตกลงหลัก ๆ ของการประชุมนี้คือ การควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม (Pre-industrial Era) และมีความพยายามผลักดันที่จะจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากมีการวิเคราะห์กันว่า การควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นช่วงของอุณหภูมิที่ปลอดภัยในการป้องกันผลกระทบที่เลวร้าย (ระบบนิเวศน์และสภาพภูมิอากาศไม่สามารถฟื้นฟูให้อยู่ในสภาพเดิมได้หรือปรับมาสภาพเดิมได้ยาก) ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ข้อตกลงของ COP 21 ยังให้การส่งเสริมแนวทางและความสามารถต่าง ๆ เพื่อจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

COP 21_2

Source: www.carbonbrief.org

ข้อตกลงของการประชุม COP 21 นี้สามารถสรุป (COP 21 summary) ออกมาเป็น 5 ประเด็นได้ดังนี้

1) การลดอุณหภูมิของโลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ให้ได้โดยเร็วและเพียงพอเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (การควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม)

2 temp

Source: climatepositions.com

2) การใช้พลังงานฟอสซิล มีการเสนอให้ทำสมดุลระหว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์กับการดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยแหล่งดูดซับก๊าซต่าง ๆ นั้นหมายความว่าเมื่อมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผ้าไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นต้องมีค่าเท่ากับการดูดซับก๊าซเล่านั้นโดยวิธีการต่าง ๆ เช่นการปลูกต้นไม้หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถกักเก็บก๊าซเหล่านี้ได้อย่างถาวร เป็นต้น

CCS system

Source: www.windows2universe.org

 3) ความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ พยายามค้นหาระบบการตรวจวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถใช้ตรวจวัดได้ในทุกประเทศทั่วโลกและสามารถติดตามความคืบหน้าของแต่ละประเทศในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตามเป้าหมายของประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะมีการายงานผลการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุก ๆ 5 ปีโดยเริ่มนับในปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) นอกจากนี้ประเทศต่าง ๆ ต้องมีการปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อตกลงด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศนั้น ๆ ทุก ๆ 5 ปี โดยเริ่มในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)

GHG measurement

Source: www.gizmag.com

4) ผลกระทบและการสูญเสีย จากข้อตกลงของ COP 21 นั้นจะมีการจัดตั้งกลไกลเพื่อให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ การเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน และ การประกัน เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งและความมั่นใจของประเทศต่าง ๆ ในการจัดการกับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ แต่อย่างไรก็ตามข้อตกลงนี้ไม่ได้กล่าวถึง ความรับผิดชอบและค่าชดเชยใด ๆ

loss and damage

Source: sydney.edu.au

5) การเงิน มีการสนับสนุนด้านการเงินให้กับประเทศต่าง ๆ สำหรับด้านการลดก๊าซเรือนกระจก โดยข้อตกลงนี้ได้เน้นการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อความก้าวหน้าในการลดผลกระทบที่เกิดจากก๊าซเรือนกระจก ซึ่งงบประมาณในการสนับสนุนนี้มีมูลค่ามากกว่าข้อตกลงครั้งก่อนหน้านี้

climate_change_financing

Source: www.chinadialogue.net

ทั้งนี้มีการให้ประเทศต่าง ๆ กำหนดจุดสูงสุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศนั้น ๆ ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เพื่อที่จะได้ดำเนินการในการทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศโดยทราบถึงปริมาณและแผนที่ทำเพื่อลดการปล่อยก๊าซดังกล่าวในอนาคตที่แน่นอน

จากข้อตกลงของ COP 21 นั้นประเทศต่าง ๆ ต้องกลับไปหารือกันว่าประเทศตนนั้นจะยอมรับข้อตกลงนี้หรือไม่ จากนั้นจะมีการลงนามข้อตกลงนี้ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งมีประเทศที่รับข้อตกลงนี้ทั้งหมด 188 ประเทศ โดยข้อตกลงของ COP 21 นี้จะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อตรงตามสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขที่หนึ่ง ต้องมีประเทศเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 55 ประเทศทั่วโลก และ เงื่อนไขที่สอง ประเทศที่เข้าร่วมนั้นต้องมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 55 % ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

COP 2 summary

Source: www.c2es.org

ข้อตกลงของ COP 21 จะเป็นความจริงหรือไม่ในเดือนเมษายนปีนี้ (2559) ก็จะได้รู้ผลกัน หากมีผลบังคับใช้ก็จะเป็นข้อตกลงฉบับแรกที่ให้ทุกประเทศทั่วโลกมีส่วนร่วมในการควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดลอมและสภาพอากาศของโลกไว้ชั่วลูกชั่วหลานของเรานั้นเอง

 


Bibliography

UNFCCC. (December 12, 2015). Paris Agreement Adopted. Retrieved from http://unfccc.int/resource/docs/2015/cop21/eng/l09r01.pdf

BloombergBusiness. (December 13, 2015). Landmark Climate-Change Agreement Hailed as ‘Leap for Mankind’. Retrieved from http://www.bloomberg.com/news/articles/2015-12-12/landmark-climate-change-agreement-hailed-as-leap-for-mankind-

Climate Positions.(December 18, 2015). The COP21 Paris Agreement: Diplomatic triumph, self-applause … and the carbon budget. Retrieved from http://climatepositions.com/the-cop21-paris-agreement-diplomatic-triumph-self-applause-and-the-carbon-budget/

CarbonBrief. (December 12, 2015). Analysis: The final Paris climate deal. Retrieved from http://www.carbonbrief.org/analysis-the-final-paris-climate-deal

Center for Climate and Energy Solutions. (December 25, 2015). THE PARIS AGREEMENT Retrieved from http://www.c2es.org/international/paris-agreement

ienergyguru.com

COP 21 summary

ความร่วมมือของทุกชาติในการควบคุมอุณหภูมิโลก

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *