22 เมษายน: วันคุ้มครองโลก (Earth Day)

วันคุ้มครองโลก (Earth Day)

22 เมษายน 2559

 

Earth Day

ประวัติความเป็นมาวันคุ้มครองโลก (Earth Day)

วันคุ้มครองโลก (Earth Day)เริ่มจาก สมาชิกวุฒิสภาสท่านหนึ่งของสหรัฐอเมริกาชื่อ เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) เป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ต่อมา สมาชิกวุฒิสภาเนลสันได้ตัดสินใจขอให้ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดิ เสนอเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดิ เห็นด้วยและได้ออกเดินสายทั่วประเทศ เป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 การเดินสายครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่มวันคุ้มครองโลก ต่อมาโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (United Nations Environment Program "UNEP")  ได้ประกาศวันคุ้มครองโลก (อังกฤษ: Earth Day) ให้ตรงกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี โดยมีการประกาศเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513  สำหรับประเทศไทยได้มีการจัดวันคุ้มครองโลกในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2533

โดยวันคุ้มครองโลก (Earth Day) คำว่าโลกในที่นี้มีความหมายอยู่ 2 นัย นัยแรก หมายถึง โลกทางกายภาพ ที่มีภูเขา แม่น้ำ พื้นดิน แผ่นฟ้า มหาสมุทร ส่วนอีกนัยหนึ่ง หมายถึง ชาวโลก คือ สรรพชีวิตทั้งปวงที่อาศัยอยู่บนโลก การคุ้มครองโลก จึงหมายถึงการคุ้มครองทั้งสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองชาวโลกด้วย ซึ่งในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและพบกับภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหลากหลายรูปแบบอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ หรือการทำลายป่าที่ส่งผลให้เกิดวาตภัย อุทกภัยอย่างไม่ทันตั้งตัว จนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่อประชากรโลกในหลายๆ ประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเรียกร้องให้ชาวโลกหันมาสนใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการ คุ้มครองโลกให้อยู่รอดปลอดภัยจากภัยต่างๆ

วันคุ้มครองโลกของประเทศไทย โดยปกติเมื่อถึงวันคุ้มครองโลก แต่ละชาติก็จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันอยู่แล้ว ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้เข้าร่วมและได้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งแรกที่มีการจัดกิจกรรม เมื่อ พ.ศ. 2533 ก็ได้มีกลุ่มคนเข้าร่วมกันเป็นอย่างมาก และหลังจากเหตุการณ์ที่ สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัคว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้กระทำอัตวินิบาตกรรม ก็ได้มีกลุ่มคนเข้าร่วมและรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีมูลนิธิ
สืบ นาคะเสถียร ผู้บุกเบิกด้านการอนุรักษ์ป่าไม้คนสำคัญของประเทศไทยอีกด้วย

วัตถุประสงค์ของวันคุ้มครองโลก

  • เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศเนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
  • เพื่อกำจัดสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) ซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
  • เพื่ออนุรักษ์รักษาและฟื้นฟูสภาพป่าที่เหลืออยู่ทั้งหมดในโลก
  • ห้ามมีการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิตที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป เช่น เลียงผา ตัวนิ่ม เป็นต้น
  • เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เนื่องจากในปัจจุบัน จำนวนของประชากรเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่จำนวนทรัพยากรธรรมชาตินั้นมีการลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งเกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยของมนุษย์
  • เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่น ๆ ให้พ้นจากการ
    กระทำที่มิชอบของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น

กิจกรรมวันคุ้มครองโลก

Earth Day

  • มีการส่งเสริมและรณรงค์ร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนต้นไม้ที่ถูกทำลายไปทั้งจากภัยธรรมชาติ และจากฝีมือของมนุษย์
  • การอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่เหลือยังคงเหลืออยู่ทั้งในชุมชนเมือง ป่าไม้ และภูเขา
  • รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ป่าเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และวิธีการแก้ไขปัญหาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปเพื่อตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

Bibliography

greenpeace.org. (2014, April 22). ทำให้ทุกวันเป็นวันคุ้มครองโลก. Retrieved from http://www.greenpeace.org: http://goo.gl/IW9GDK

tlcthai.com. (NA). วันคุ้มครองโลก (22 เมษายน). Retrieved from http://www.tlcthai.com: http://goo.gl/vnZwoz

wikipedia.org. (2016, March 3). วันคุ้มครองโลก. Retrieved from https://th.wikipedia.org: https://goo.gl/gCxcIw

iEnergyGuru-Blue

วันคุ้มครองโลก (Earth Day)

22 เมษายน 2559

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *