เขื่อนน้ำพุง

เขื่อนน้ำพุง

เขื่อนน้ำพุง2Source : http://static.panoramio.com/photos/large/81642563.jpg
เขื่อนน้ำพุง


สถานที่ตั้ง


เขื่อนน้ำพุง ตั้งอยู่บริเวณน้ำตกคําเพิ่มใกล้ทางหลวงสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ เขตอําเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันเฉียงใต้ประมาณ 31 กิโลเมตร

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า


 ลักษณะเขื่อน ตัวเขื่อน เป็นแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สันเขื่อนยาว 1,720 เมตร  กว้าง 10 เมตร สูงจากท้องน้ำ 41 เมตร ระดับสันเขื่อนสูง 286.5 เมตร (รทก.-ระดับน้ำทะเลปานกลาง)

อ่างเก็บน้ำ มีขนาดเนื้อที่ 21 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 111 ล้านลูกบาศก์เมตร มีความจุ 165 ล้านลูกบาศก์เมตร

โรงไฟฟ้า เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีเนื้อที่ 670 ตารางเมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าชนิดแกนตั้งระบายความร้อนด้วยอากาศ ขนาดกําลังผลิต 3,000 กิโลวัตต์ จํานวน2 เครื่อง รวมกําลังผลิตทั้งสิ้น 6,000 กิโลวัตต์ และส่งไปเชื่อมโยงกับระบบส่งของเขื่อนอุบลรัตน์ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงมหาสารคาม  การก่อสร้างได้แล้วเสร็จ และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508

การช่วยเหลือราษฎรอพยพ


ในการก่อสร้างเขื่อนน้ำพุง จําเป็นต้องอพยพราษฎรออกจากบริเวณพื้นที่ที่จะใช้เป็นอ่างเก็บน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้จ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน อาคาร ต้นไม้ และการขนย้ายออกจากที่เดิมให้แก่ราษฎร รวมทั้งจัดสรรที่อยู่อาศัยและที่ทํากินแห่งใหม่ให้เป็นชุมชนที่มีระเบียบ และมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ก่อสร้างสาธารณสมบัติที่เคยมีอยู่เดิมทดแทนให้ เช่น วัด โรงเรียน สถานีอนามัย น้ำบริโภค และถนน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงความเป็นธรรม และประโยชน์ที่ราษฎรจะได้รับมากที่สุด

ประโยชน์


เขื่อนน้ำพุงสร้างขึ้นเพื่ออํานวยประโยชน์หลายประการ คือ
• การผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ โดยเฉลี่ยปีละ 17 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งกระแสไฟฟ้าของภูมิภาคนี้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น
• การป้องกันอุทกภัย อ่างเก็บน้ำจะช่วยเก็บกักน้ำที่ไหลบ่าลงมาเปนจํานวนมากในฤดูน้ำหลาก
• การชลประทาน ในปีน้ำแล้ง น้ำจากอ่างเก็บน้ำจะถูกระบายออกไปยังพื้นที่เพาะปลูกบริเวณจังหวัดสกลนครและนครพนม
• นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งด้วย

การเดินทาง


การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังเขื่อนน้ำพุงโดยรถยนต์ส่วนตัว ควรใช้เส้นทางสายพหลโยธินไปจนถึงจังหวัดสระบุรี จากนั้น ใช้ถนนสายมิตรภาพแยกไปทางจังหวัดนครราชสีมาต่อไปยังจังหวัดขอนแก่น - จังหวัดมหาสารคาม – อําเภอสมเด็จจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปตามทางเทือกเขาภูพานอีกประมาณ 40 กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าเขื่อนน้ำพุงรวมเป็นระยะทาง ในการเดินทางทั้งสิ้น ประมาณ 600 กิโลเมตร สําหรับการเดินทางโดยรถประจําทาง ขึ้นรถที่สถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต) สายกรุงเทพ – สกลนคร รถจะผ่านปากทางแยกเข้าเขื่อน และจากทางแยกต้องเดินทางต่อเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร จะถึงจุดหมายที่เขื่อนน้ำพุง

สถานที่ท่องเที่ยว


ก่อนถึงเขื่อนน้ำพุงมีสถานที่ท่องเที่ยว ที่สําคัญและน่าสนใจหลายแห่ง ในจังหวัดสกลนคร อาทิ

• พระธาตุเชิงชุม ปูชนียสถานสําคัญของจังหวัดสกลนคร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุเชิงชุม อยู่ในตัวเมืองเป็นเจดีย์ 4 เหลี่ยม ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง 24 เมตร

• พระธาตุนารายณ์เจงเวง ตั้งอยู่ที่บ้านธาตุ ปากทางเข้าจังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร ลักษณะพระธาตุเป็นปรางค์ขอม สร้างด้วยศิลาแลงสูง 12 เมตรเศษ มีภาพจําหลักหินที่ทับหลัง ปัจจุบันเรียกว่า พระธาตุนาเวง และมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 11 ค่ํา ถึง 14 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี

• หนองหาน ทะเลสาบกว้างใหญ่ในตัวเมือง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 32 กิโลเมตร มีเกาะกลางน้ำที่งดงามคือ เกาะดอนสวรรค์เป็นสถานที่พักผ่อนอันสงบ สามารถเช่าเรือจากริมหนองหานไปเที่ยวได้

หนองหานCredit : Mr.Dusit Sudwaja
ทะเลสาบหนองหาน

• พระตําหนักภูพานราชนิเวศน์ อยู่บนเทือกเขาภูพานห่างจากตัวเมืองประมาณ 13 กิโลเมตร เปิดให้นักท่องเที่ยวเดินชมบริเวณอันกว้างใหญ่ และร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ดอกงดงาม

• วัดป่าสุทธาวาส อยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสกลนคร ภายในบริเวณมีพิพิธภัณฑ์เก็บเครื่องอัฐบริขาร เป็นศาลาที่สร้างแบบศิลปะไทยประยุกต์ และธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

• วัดป่าอุดมสมพร อยู่ในเขตอําเภอพรรณานิคม ห่างจากตัวเมือง 37 กิโลเมตร เคยเป็นวัดที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จําพรรษาอยู่ ภายในวัด ร่มรื่นด้วยร่มไม้ใหญ่น้อยและจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น

• อุทยานแห่งชาติภูพาน มีอาณาเขตครอบคลุม 3 จังหวัด คือ สกลนคร  นครพนมและกาฬสินธุ์ ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า พื้นที่เป็นเนินดินสลับเนินเขา ต่างระดับและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

 

 


ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เขื่อนน้ำพุง

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *