การปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ (Power factor improvement)


การปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์

(Power factor improvement)

ตามที่หลายท่านทราบแล้วว่าการปรับปรุงเพาเวอร์แฟคเตอร์ของระบบจ่ายไฟฟ้านั้นมีผลดีมากมาย คุ้มค่าในการลงทุนที่จะดำเนินการปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ให้เหมาะสมโดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้

1.วิธีการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า

เนื่องจากอุปกรณ์ประเภทเครื่องจักรกล หม้อแปลง  เครื่องเชื่อม เตาเผาแบบอาร์ก และมอเตอร์   ตัวประกอบกำลังไฟฟ้าต่ำ  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาแหล่งกำเนิดกำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟช่วยจ่ายให้ ได้แก่ ซิงโครนัสมอเตอร์และคาปาซิเตอร์   คาปาซิเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายกำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟชนิดหนึ่งที่ราคาถูกและนิยมใช้กันมาก ดังรูปที่ 1

capture-20151106-152805

รูปที่ 1  แสดงการแก้ตัวประกอบกำลังไฟฟ้าด้วยคาปาซิเตอร์

จากสมการ                             ;                             kVAr      =              kW tan

กิโลวาร์ก่อนปรับปรุง                                            PF           =              kW tan

กิโลวาร์ปรับปรุง                                                    PF           =              kW tan

              ดังนั้น                                     กิโลวาร์ของคาปาซิเตอร์        =              kW (tan - tan )

ตัวอย่างที่ 1   จากข้อมูลที่กำหนดมาโหลดขนาด 500 kW ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า 0.60 ล้าหลัง ถ้าต้องการปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าเป็น 0.95 ล้าหลัง จะต้องเลือกขนาดคาปาซิเตอร์เท่าใด

วิธีทำ

cos                   =              0.60         ;                        =              53.13O

cos                  =              0.95         ;                         =              18.19O
capture-20151106-163722

กิโลวาร์ของคาปาซิเตอร์       =              500 (tan 53.13 O – tan 18.19 O)

=              500 (1.333 – 0.3285)

=              500          kVAr

เพื่อความสะดวกในการหาขนาดกิโลวาร์ของคาปาซิเตอร์  อาจหาได้จากตารางที่ 1 ที่โหลด 500 kW

cos                   =              0.60

cos                  =              0.95

ค่าแฟกเตอร์จากตาราง         =              1.01

กิโลวาร์ของคาปาซิเตอร์      =              500 x 1.01

~            500  kVAr                     ตอบ

อย่างไรก็ตามการติดตั้งคาปาซิเตอร์จำเป็นต้องลงทุนราคาประมาณกิโลวาร์ละ 200 ถึง 300 บาท ดังนั้น ที่ 500 กิโลวาร์ จึงราคาประมาณ 300 x 500  เท่ากับ  150,000 บาท  แต่ในตัวอย่างที่เคยแสดงไว้ก่อนหน้านี้ ในการปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าเป็น  0.95  เจ้าของโรงงานสามารถประหยัดค่าไฟได้ 5,280 บาทต่อเดือน  ในเวลา (150,000/5,280) เท่ากับ  30  เดือน  จึงจะคืนทุน

การติดตั้งคาปาซิเตอร์  ดังรูปที่ 2 การติดตั้งคาปาซิเตอร์ที่ตำแหน่งใดจึงจะเหมาะสมนั้นต้องพิจารณาหลายด้านด้วยกันตั้งแต่ด้านเศรษฐศาสตร์ ทางเทคนิค และการติดตั้งสำหรับระบบเดิมที่มีอยู่หรือติดตั้งใหม่

คาปาซิเตอร์สามารถติดตั้งได้หลายตำแหน่งในวงจร ชนิดของการติดตั้งสามารถแบ่งออกได้เป็น  4  อย่างดังนี้

  1. การติดตั้งที่โหลดแต่ละชุด
  2. การติดตั้งที่กลุ่มของโหลด
  3. การติดตั้งแบบศูนย์กลาง
  4. การติดตั้งแบบผสม

ตารางที่ 1  การหาขนาดกิโลวาร์คาปาซิเตอร์ด้วยตาราง

cos ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า   cos
0.70 0.75 0.80 0.82 0.85 0.87 0.90 0.92 0.94 0.95 0.96 0.98 1.00
0.20 3.88 4.02 4.15 4.19 4.28 4.33 4.41 4.46 4.51 4.57 4.59 4.69 4.90
0.25 2.85 2.99 3.17 3.12 3.25 3.32 3.38 3.45 3.50 3.54 3.58 3.66 3.87
0.30 2.16 2.30 2.43 2.48 2.56 2.62 2.69 2.75 2.81 2.85 2.88 2.97 3.18
0.35 1.66 1.79 1.93 1.98 2.06 2.12 2.19 2.25 2.31 2.35 2.38 2.47 2.68
0.40 1.27 1.41 1.54 1.59 1.67 1.72 1.80 1.86 1.93 1.96 2.00 2.08 2.29
0.42 1.14 1.28 1.41 1.46 1.54 1.59 1.68 1.74 1.80 1.83 1.87 1.95 2.16
0.44 1.02 1.16 1.29 1.34 1.42 1.47 1.56 1.62 1.67 1.71 1.75 1.83 2.04
0.46 0.91 1.05 1.18 1.23 1.31 1.36 1.45 1.50 1.56 1.60 1.64 1.72 1.93
0.48 0.80 0.95 1.08 1.13 1.20 1.26 1.33 1.40 1.47 1.49 1.54 1.61 1.82
0.50 0.71 0.85 0.98 1.03 1.11 1.18 1.25 1.31 1.37 1.40 1.44 1.52 1.73
0.52 0.62 0.76 0.89 0.94 1.02 1.08 1.16 1.22 1.28 1.31 1.35 1.43 1.64
0.54 0.54 0.68 0.81 0.86 0.94 0.99 1.07 1.13 1.19 1.23 1.20 1.35 1.56
0.56 0.46 0.60 0.73 0.78 0.86 0.91 1.00 1.05 1.12 1.15 1.18 1.27 1.48
0.58 0.38 0.52 0.65 0.70 0.78 0.85 0.92 0.98 1.04 1.07 1.11 1.19 1.40
0.60 0.31 0.45 0.58 0.64 0.71 0.78 0.85 0.91 0.98 1.01 1.05 1.13 1.34
0.62 0.24 0.38 0.52 0.57 0.65 0.70 0.78 0.84 0.90 0.93 0.97 1.06 1.26
0.64 0.18 0.32 0.45 0.50 0.58 0.63 0.72 0.77 0.83 0.87 0.90 0.99 1.20
0.66 0.12 0.26 0.39 0.44 0.52 0.57 0.65 0.71 .077 0.81 0.85 0.93 1.14
0.68 0.06 0.20 0.33 0.38 0.46 0.51 0.59 0.65 0.71 0.75 0.77 0.87 1.08
0.70 0.14 0.27 0.32 0.40 0.45 0.53 0.59 0.66 0.69 0.73 0.81 1.02
0.72 0.08 0.21 0.27 0.34 0.40 0.48 0.54 0.60 0.63 0.67 0.76 0.96
0.74 0.03 0.16 0.21 0.29 0.35 0.42 0.48 0.55 0.58 0.62 0.70 0.90
0.76 0.10 0.16 0.24 0.29 0.37 0.43 0.49 0.52 0.56 0.65 0.85
0.78 0.05 0.10 0.18 0.24 0.31 0.38 0.44 0.47 0.51 0.59 0.80
0.80 0.05 0.13 0.18 0.26 0.32 0.39 0.42 0.46 0.54 0.75
0.82 0.08 0.13 0.21 0.27 0.33 0.37 0.40 0.49 0.69
0.84 0.03 0.09 0.16 0.22 0.28 0.32 0.35 0.44 0.64
0.86 0.03 0.11 0.17 0.23 0.26 0.30 0.39 0.59
0.88 0.06 0.11 0.18 0.21 0.25 0.33 0.54
0.90 0.06 0.12 0.15 0.19 0.27 0.48
0.92 0.06 0.09 0.13 0.22 0.42
0.94 0.03 0.07 0.16 0.36
0.96 0.09 0.28
0.98 0.21

capture-20151106-163722รูปที่ 2  แสดงแบบการติดตั้งคาปาซิเตอร์

สำหรับตารางที่ 2 แสดงคุณลักษณะข้อดีและข้อเสียในการติดตั้งคาปาซิเตอร์แต่ละแบบ

ตารางที่  2  แสดงคุณลักษณะข้อดีและข้อเสียในการติดตั้งคาปาซิเตอร์แต่ละแบบ

การติดตั้ง คุณลักษณะ ข้อดี ข้อเสีย
ที่โหลดแต่ละชุด เป็นการเลือกขนาดคาปาซิเตอร์ต่อเข้ากับโหลดแต่ละตัว และจะสวิตซ์พร้อมกับเดินมอเตอร์ - สามารถแก้ตัวประกอบกำลังไฟฟ้าที่จุดโหลด

- ลดการสูญเสียและแรงดันตกในสายวงจรย่อย

- ประหยัดการใช้อุปกรณ์สวิตซ์ขนาดใหญ่

- ใช้คาปาซิเตอร์ตัวเล็กหลายตัว แพงกว่าตัวใหญ่เพียงตัวเดียว

- ค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์ของคาปาซิเตอร์ต่ำ สำหรับมอเตอร์ที่ไม่ได้ใช้งานบ่อย ๆ

ที่กลุ่มของโหลด มอเตอร์หลายตัวต่อเข้ากับ
คาปาซิเตอร์ และคาปาซิเตอร์จะถูกใช้งานสอดคล้องกับขนาดโหลดที่ใช้
- ลดราคาคาปาซิเตอร์

- ลดการสูญเสียและแรงดันตกที่สายป้อนหรือสายจ่าย

- โหลดที่สายป้อนหรือสายจ่ายอาจไม่แน่นอน
แบบศูนย์กลาง โดยการสร้างกำลังรีแอกทีฟที่จุดใดจุดหนึ่งจะต่อคาปาซิเตอร์เข้ากับระบบเมื่อทำงานและปลดออกเมื่องานสิ้นสุด ค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์ของคาปาซิเตอร์ที่ดีที่สุด

- ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ

- ปรับปรุงระดับแรงดันทั่วๆ ไปดีขึ้น

- ดูแลรักษาได้ง่าย

- โหลดที่สายเมนและสายป้อนอาจไม่แน่นอน
แบบผสม โหลดขนาดใหญ่ติดตั้งที่โหลดแต่ละชุด ส่วนโหลดอื่น ๆ จะติดตั้งเป็นกลุ่มหรือศูนย์กลาง

การติดตั้งที่โหลดแต่ละชุด

  1. ขนาดคาปาซิเตอร์ที่ใช้กับมอเตอร์เหนี่ยวนำ มอเตอร์ที่ใช้โดยทั่วไปเป็นแบบเหนี่ยวนำ และมอเตอร์ประเภทนี้ต้องการกำลังไฟฟ้าจริง เพื่อให้งานทางกลออกมา ในขณะเดียวกันก็ต้องการกำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟเพื่อไปสร้างสนามแม่เหล็กให้กับขดลวด กำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟนี้ไม่ขึ้นอยู่กับโหลดมอเตอร์ อัตราส่วนของกำลังไฟฟ้าจริงต่อกำลังไฟฟ้าปรากฏเพิ่มมากขึ้นตามโหลดที่เพิ่มและตัวประกอบกำลังไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น ดังรูปที่ 1
    capture-20151110-105353

    รูปที่  3  อัตราส่วนของกำลังไฟฟ้าจริงต่อกำลังไฟฟ้าปรากฏเพิ่มมากขึ้นตามโหลดที่เพิ่ม

    และตัวประกอบกำลังไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น

เมื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้กับมอเตอร์กระแสที่สร้างสนามแม่เหล็กก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้      ตัวประกอบกำลังไฟฟ้ามีค่าลดลง   มอเตอร์ขนาดเดียวกันทำงานที่ความเร็วต่ำต้องการกระแสสร้างสนามแม่เหล็กมากกว่ามอเตอร์ความเร็วสูง  ดังนั้นมอเตอร์ที่มีความเร็วต่ำจะมีตัวประกอบกำลังไฟฟ้าต่ำกว่าความเร็วสูง สำหรับในตารางที่ 3 แสดงขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ ส่วนรูปที่ 4 แสดงการปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าโดยต่อคาปาซิเตอร์ที่โหลดแต่ละชุด

capture-20151110-105542

รูปที่ 4  การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าที่โหลดแต่ละชุด

capture-20151110-105949

รูปที่ 5 การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าที่โหลดแต่ละชุด

 

ตารางที่ 3 แสดงขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ

3 เฟส กรงกระรอก เริ่มเดินโดยรับแรงดันเต็มที่ 3 เฟส กรงกระรอก เริ่มเดินระบบ Y-หรือผ่านหม้อแปลงออโต้ 3 เฟส โรเตอร์พันขดลวด
H.P. r.p.m. Cap. kVAr H.P. r.p.m. Cap. kVAr H.P. r.p.m. Cap. kVAr
1.0 2900 0.63 1.0 2900 0.56 5.0 1400 2.48
1420 0.63 1420 0.56 920 2.96
940 0.73 940 0.65 700 3.59
700 0.81 700 0.73 6.0 1400 2.7
1.5 2900 0.84 1.5 2900 0.75 920 3.28
1430 0.90 1430 0.81 700 4.42
940 1.0 940 0.90 7.5 1400 3.4
710 1.15 710 1.03 935 4.0
2.0 2900 1.08 2.0 2900 0.97 700 4.6
1430 1.08 1430 0.97 10 1420 4.4
940 1.26 940 1.13 930 4.9
710 1.52 710 1.37 710 5.6
2.5 2900 1.35 2.5 2900 1.21 12.5 1420 4.7
1430 1.25 1430 1.12 930 6.2
940 1.65 940 1.48 710 6.6
710 1.83 710 1.65 560 7.8
3.0 2900 1.51 3.0 2900 1.36 15 1420 5.7
1430 1.5 1430 1.35 930 6.2

 

ตารางที่ 4 แสดงขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ

3 เฟส กรงกระรอก เริ่มเดินโดยรับแรงดันเต็มที่ 3 เฟส กรงกระรอก เริ่มเดินระบบ Y-หรือผ่านหม้อแปลงออโต้ 3 เฟส โรเตอร์พันขดลวด
H.P. r.p.m. Cap. kVAr H.P. r.p.m. Cap. kVAr H.P. r.p.m. Cap. kVAr
940 1.97 940 1.77 710 7.8
710 2.18 710 1.96 560 8.8
4.0 2900 1.58 4.0 2900 1.42 20 1420 6.4
1430 1.72 1430 1.55 940 7.7
940 1.92 940 1.73 710 9.5
720 2.66 720 2.4 565 11.6
5.0 2900 1.85 5.0 2900 1.66 470 12.6
1430 2.15 1430 1.93 25 1430 7.0
940 2.41 940 2.17 940 9.6
720 3.33 720 3.0 710 12.2
6.0 2920 2.05 6.0 2920 1.84 565 14.2
1430 2.48 1430 2.23 470 15.3
940 2.93 940 2.64 30 1430 8.7
725 3.9 725 3.5 950 11.0
7.5 2920 2.57 7.5 2920 2.91 710 12.0
1430 3.1 1430 2.78 570 15.8
940 3.66 940 3.3 475 18.6
715 4.58 715 4.12 35 1440 10.3
10 2920 3.5 10 2920 3.1 955 12.8
1440 3.8 1440 3.4 710 14.0
940 4.4 940 3.9 570 17.7
720 5.9 720 5.3 475 18.4
570 6.4 570 5.7 40 1440 11.6
12.5 1440 4.5 12.5 1440 4.0 960 14.4
950 5.0 950 4.5 715 15.0
720 6.1 720 5.5 570 19.6
570 7.5 570 6.7 475 20.5
15 1440 4.9 15 1440 4.4 365 24.9
950 6.0 950 5.4 45 1440 13.1
725 7.3 725 6.5 960 15.0
570 9.1 570 8.2 715 16.7
20 1460 6.2 20 1460 5.5 575 21.5
960 7.3 960 6.5 475 23.0
730 8.7 730 7.8 360 26.5
H.P. r.p.m. Cap. kVAr H.P. r.p.m. Cap. kVAr H.P. r.p.m. Cap. kVAr
575 11.5 575 10.3 50 1450 13.8
470 12.6 470 11.3 960 16.7
25 1460 7.3 25 1460 6.5 715 18.4
960 8.4 960 7.5 575 24.0
735 10.7 735 9.6 480 24.3
575 14.2 575 12.8 360 28.5
470 15.3 470 13.7 60 1460 16.5
30 1460 8.0 30 1460 7.2 965 18.6
960 10.1 960 9.1 720 20.0
735 12.8 735 11.5 580 24.7
575 15.8 575 14.2 485 27.2
475 18.6 475 16.7 365 31.1
35 1460 9.3 35 1460 8.3 75 965 23.1
960 11.8 960 10.3 720 24.7
710 14.0 710 12.6 580 29.3
570 17.6 570 15.8 485 32.2
475 18.3 475 16.5 365 36.4
40 1460 10.7 40 1460 9.6 100 730 31.9
960 13.3 960 12.0 575 38.5
715 15.0 715 13.5 485 41.6
570 19.6 570 17.6 365 47.1
475 20.5 475 18.4 150 735 43.6
365 24.8 365 22.3 585 48.5
45 1460 12.0 45 1460 10.8 490 55.0
960 15.0 960 13.5 200 735 58.3
715 16.7 715 15.0 585 62.5
575 21.5 575 19.3
475 22.9 475 20.6
360 26.4 360 23.7
50 1460 13.4 50 1460 12.0
960 16.6 960 14.9
715 18.3 715 16.5
575 23.9 575 21.5
480 24.1 480 21.7
360 28.3 360 25.4

 

ข้อควรระวังในการใช้คาปาซิเตอร์กับมอเตอร์เหนี่ยวนำ

ก.  คาปาซิเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต่อขนานกับมอเตอร์อาจทำให้เกิดเอ็กไซเตชั่นสร้างแรงดันได้เอง เมื่อหยุดเดินมอเตอร์โดยที่คาปาซิเตอร์ยังต่อคร่อมมอเตอร์อยู่ดังกราฟ รูปที่ 6

จากกราฟ ที่จุด A สนามแม่เหล็กของมอเตอร์ที่จุด A เป็นจุดที่มอเตอร์ทำงาน  ขณะไม่มีโหลดที่แรงดันไฟฟ้า Vn  ขณะที่กระแสมีค่า Io เมื่อใช้คาปาซิเตอร์ต่อคร่อมกระแสจะผ่านคาปาซิเตอร์ Ic เมื่อหยุดเดินมอเตอร์ทำให้แรงดันไฟฟ้าไปอยู่ที่ A1 เมื่อแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นลวดทองแดงและแกนเหล็กในมอเตอร์จะดึงพลังงานทำให้เกิดการเบรกมอเตอร์ที่โรเตอร์  กรณีมีความเฉื่อยของมอเตอร์และประกอบกับแรงงดันไฟฟ้าเกิดเพิ่มขึ้นในระยะสั้น ๆ ในทางปฏิบัติปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขโดยให้ขนาดกระแสของคาปาซิเตอร์เท่ากับหรือน้อยกว่ากระแสสร้างสนามแม่เหล็กของมอเตอร์ ค่าดังกล่าวโดยทั่วไปใช้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของกระแสมอเตอร์ขณะไม่มีโหลด

capture-20151112-152606

รูปที่ 6  การเกิดเอ็กไซเตชั่น

capture-20151112-153201

ตัวอย่างที่ 2            มอเตอร์ขนาด 20 HP 380 V 3 เฟส  กระแสโหลดเต็มที่ 33 A กระแสไม่มีโหลด 10 A จงหาขนาดคาปาซิเตอร์ที่ไม่เกิดเอ็กไซเตชั่นจนมอเตอร์เสียหาย

วิธีทำ                      ในสมการกรณีสามเฟส

 

capture-20151112-101622

ข.  กรณีต่อคาปาซิเตอร์กับมอเตอร์เริ่มเดินด้วยสตาร์- เดลต้า แรงดันเกินจะเกิดขึ้นมีค่าสูงมากกรณีที่ปล่อยให้คาปาซิเตอร์ต่อคร่อมขดลวดแบบ Y    เมื่อเอาแหล่งจ่ายออกจะทำให้แรงดันไฟฟ้าไปอยู่ที่ A2 จะทำให้เกิดแรงดันเกิน 2 ถึง 3 เท่าของแหล่งจ่ายดังรูปที่ 7 วิธีการแก้ไขคือขณะตำแหน่งหยุดเดินมอเตอร์ขดลวดทั้งสามของมอเตอร์ควรแยกอิสระออกจากกัน และคาปาซิเตอร์ควรต่ออยู่ทางด้านไฟเข้าของคอนแทคเตอร์ดังรูปที่ 8

 

capture-20151112-101717รูปที่  7  การเกิดเอ็กไซเตชั่นกรณีมอเตอร์เริ่มเดินด้วยระบบสตาร์-เดลต้า

ค.  ไม่ปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์ที่ต้องการหมุนกลับทิศทาง

ง.  ไม่ปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้ากับรอกปั้นจั่นไฟฟ้าและมอเตอร์ลิฟต์

จ.  ต้องไม่เดินมอเตอร์ใหม่อีกครั้งขณะที่มอเตอร์ยังไม่หยุดหมุน

5

รูปที่  8

ตำแหน่งการติดตั้งคาปาซิเตอร์  การติดตั้งคาปาซิเตอร์กับมอเตอร์ทำได้หลายวิธีดังรูปที่  9

(ก) คาปาซิเตอร์ต่อหลังรีเลย์โหลดเกินของมอเตอร์

(ข) คาปาซิเตอร์ต่อหน้ารีเลย์โหลดเกินของมอเตอร์

(ค) คาปาซิเตอร์ต่อเข้ากับระบบอย่างถาวร

capture-20151112-102925รูปที่  9

รูปที่ 9 (ก) เป็นการต่อคาปาซิเตอร์หลังรีเลย์โหลดเกินของมอเตอร์ ดังนั้นกระแสไหลผ่านรีเลย์โหลดเกินจะลดลง ทำให้ใช้หรือปรับรีเลย์โหลดเกินให้ต่ำลง

รูปที่ 9 (ข) คาปาซิเตอร์ต่อหน้ารีเลย์โหลดเกินของมอเตอร์ กระแสที่ไหลผ่านรีเลย์โหลดเกินจะไม่ลดลง วิธีนี้จึงเหมาะสำหรับใช้ติดตั้งคาปาซิเตอร์เข้ากับระบบที่มีอยู่เดิมแล้ว

รูปที่ 9 (ค) เป็นการต่อคาปาซิเตอร์ต่อเข้ากับระบบอย่างถาวร การติดตั้งแบบนี้ต้องมีสวิตซ์ฟิวส์หรือตัดตอนอัตโนมัติสำหรับคาปาซิเตอร์

2.  ขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับหม้อแปลง ดังรูปที่ 10 โหลดของหม้อแปลงจะเปลี่ยนแปลงตามเวลาและความต้องการของผู้ใช้ ขณะเดียวกันเมื่อไม่ได้ใช้โหลดแต่หม้อแปลงก็ยังต้องสร้างสนามแม่เหล็กที่เป็นกำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟ ดังนั้นการติดตั้งคาปาซิเตอร์เพื่อลดกำลังรีแอกทีฟในช่วงไม่มีโหลด โดยต่อตรงเข้าทางทุติยภูมิของหม้อแปลงอย่างถาวร ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดขนาดคาปาซิเตอร์ที่ใช้ปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของระบบอีกด้วย ซึ่งการติดตั้งคาปาซิเตอร์จะเป็นแบบผสม กล่าวคือโหลดใหญ่ๆ แต่ละโหลดจะติดตั้งคาปาซิเตอร์ที่โหลดแต่ละชุด ส่วนโหลดอื่นๆ จะติดตั้งแบบกลุ่มหรือแบบศูนย์กลาง ส่วนคาปาซิเตอร์ที่ติดตั้งที่หม้อแปลงเป็นเพียงแก้ตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของหม้อแปลงเท่านั้น ขนาดของคาปาซิเตอร์ 3-10 เปอร์เซ็นต์ของขนาดหม้อแปลงหรือสามารถเลือกขนาดคาปาซิเตอร์ได้ในตารางที่ 3

capture-20151112-105233

รูปที่  10  คาปาซิเตอร์สำหรับหม้อแปลง

 อย่างไรก็ตามการเลือกขนาดคาปาซิเตอร์ต้องแน่ใจว่าห่างจากความถี่เรโซแนนซ์ระหว่างความเหนี่ยวนำของหม้อแปลงและคาปาซิเตอร์ที่ความถี่ฮาร์โมนิก 3, 5, 7 ที่เกิดขึ้น  และความถี่เรโซแนนซ์สามารถคำนวณได้จากสมการ

capture-20151112-110133

กำหนดให้              fr              คือ  ความถี่เรโซแนนซ์

fo              คือ  ความถี่ปกติ

kVA (sc)  คือ  กำลังไฟฟ้าเสมือนลัดวงจรหม้อแปลง

kVAr        คือ  กำลังไฟฟ้าคาปาซิเตอร์

ตารางที่  5  ขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับต่อโดยตรงที่หม้อแปลงเมื่อไม่มีโหลด

ขนาดหม้อ ขนาดพาคาปาซิเตอร์ kVAr ขนาดหม้อ ขนาดคาปาซิเตอร์ kVAr
แปลง kVA 15/20 kV 25/30 kV แปลง kVA 15/20 kV 25/30 kV
10

20

25

50

75

100

160

200

250

1.5

2.5

3

5

6

8

12.5

14

18

1.7

3

4

6

7

10

15

18

22

315

400

500

630

1000

1250

1600

2000

5000

20

22

25

32

50

55

60

85

170

24

28

30

40

55

60

70

90

200

3.ขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับเครื่องเชื่อมอาร์ก ขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับเครื่องเชื่อมอาร์ก  กระแสสลับสามารถเลือกได้ในตารางที่ 6

ตารางที่ 6  ขนาดคาปาซิเตอร์ที่แนะนำสำหรับเครื่องเชื่อมอาร์กกระแสสลับ

เครื่องเชื่อมเฟสเดียว kVA ขนาดคาปาซิเตอร์   kVAr เครื่องเชื่อม 3 เฟส  kVA ขนาดคาปาซิเตอร์  kVAr

9

12

18

24

30

36

4

6

6

12

15

18

95

190

285

380

-

-

16.5

30

45

60

-

-

4.ขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับหลอดบรรจุก๊าซ บัลลาสต์สำหรับหลอดบรรจุก๊าซมีตัวประกอบกำลัง   ไฟฟ้าต่ำมากขนาดคาปาซิเตอร์แสดงไว้ที่ตารางที่ 7

ตารางที่  7 ขนาดคาปาซิเตอร์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ 220 V

หลอด จำนวนหลอด ขนาดบัลลาสต์ (W) เพาเวอร์แฟกเตอร์ แรงดันปกติ (V) กระแสเริ่มติด กระแสใช้งาน ต่อคาปาซิเตอร์ขนาน          (mF)      
“TL”  20 W

“TL”  20 W

“TL”  40 W

“TL”  65 W

1

2

1

1

20

40

40

65

0.35

0.50

0.50

0.50

220

220

220

220

0.42

0.58

0.60

0.95

0.37

0.42

0.43

0.67

4.7

4.2

4.2

6.5

การหาขนาดคาปาซิเตอร์เพื่อแก้ตัวประกอบกำลังไฟฟ้าทั้งระบบ  ในการหาขนาดคาปาซิเตอร์เพื่อปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าทั้งระบบสามารถหาได้โดยการประมาณเท่านั้น เนื่องจากการใช้โหลดแต่ละเวลาไม่แน่นอน  ดังนั้น  คาปาซิเตอร์ที่ใช้ควรเป็นชนิดปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าได้คือเป็นแบบอัตโนมัติ ส่วนขนาดคาปาซิเตอร์หาได้โดยประมาณการได้จากใบเสร็จค่าไฟฟ้าที่บอกหน่วยเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง และความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอกทีฟ เพื่อให้ได้ตัวเลขที่แน่นอนควรเอาค่าในใบเสร็จมาคิดหลาย ๆ เดือนและหลาย ๆ ฤดูกาล สำหรับตัวประกอบกำลังไฟฟ้าก่อนปรับปรุงสามารถหาได้จากสูตร

capture-20151112-112321

ตัวอย่างที่ 9            จากใบเสร็จค่าไฟฟ้ารวม 3 เดือน ได้ค่ากำลังไฟฟ้าจริง 311,850 kW-hr และค่ากำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟ (เมื่อคิดจำนวนชั่วโมงทำงานแล้วมีค่า)  415,799 kVAr-hr โรงงานแห่งนี้ทำงานวันละ 7 ชั่วโมง ให้ปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าเป็น 0.95

capture-20151112-112427

การติดตั้งแบบศูนย์กลาง  ด้วยระบบควบคุมตัวประกอบกำลังไฟฟ้าอัตโนมัติ การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของระบบโดยการใช้คาปาซิเตอร์แบบต่อคงที่เหมาะสำหรับติดตั้งคาปาซิเตอร์ที่โหลดแต่ละชุด  แต่ถ้าติดตั้งคาปาซิเตอร์แบบกลุ่มหรือแบบศูนย์กลาง ถ้าโหลดมีการเปลี่ยนแปลงทำให้กำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟไม่คงที่ ทำให้ตัวประกอบกำลังไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ดังนั้นวิธีการควบคุมหรือปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าให้มีค่าสูงและคงที่ตามต้องการ  ขนาดคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในระบบก็ควรเปลี่ยนแปลงตามขนาดของโหลดโดยการต่อคาปาซิเตอร์เข้าหรือปลดออกเป็นชุดๆ  แต่ละชุดถูกควบคุมด้วยคอนแทคเตอร์หรืออาจใช้ไทริสเตอร์
1.  การควบคุมคาปาซิเตอร์ด้วยคอนแทคเตอร์ ดังรูปที่ 11

Cr.http://www.compomax.co.th/

Cr.http://www.compomax.co.th/

รูปที่ 11 คาปาซิเตอร์ ติดตั้งกับผนัง

การควบคุมคาปาซิเตอร์ด้วยคอนแทคเตอร์รูปที่ 12 การควบคุมคาปาซิเตอร์ด้วยคอนแทคเตอร์

 

การควบคุมคาปาซิเตอร์ด้วยคอนแทคเตอร์รูปที่ 13 การควบคุมคาปาซิเตอร์ด้วยคอนแทคเตอร์

capture-20151112-112535

รูปที่  14  การควบคุมคาปาซิเตอร์ด้วยไทริสเตอร์

สำหรับการปลดคาปาซิเตอร์ออกจากระบบทำได้โดยการใส่พัลส์เข้าไปที่ไทริสเตอร์เพื่อหยุดการนำกระแสของไทริสเตอร์ขณะที่กระแสใกล้ศูนย์ทำให้คาปาซิเตอร์ที่ถูกสวิตซ์ออกจะประจุด้วยแรงดันไฟฟ้าขนาดสูงสุดและพร้อมที่จะต่อเข้ากับระบบครั้งต่อไปได้ ช่วงเวลาที่ใช้ตั้งแต่เริ่มมีคำสั่งให้ต่อเข้าระบบหรือตัดออกจากระบบจนกระทั่งเริ่มมีการทำงานจะใช้เวลาประมาณ  0-20 ms    ขนาดคาปาซิเตอร์ แสดงในตารางที่  8

 

ตารางที่ 8  แสดงขนาดคาปาซิเตอร์ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ

คาปาซิเตอร์ขนาดเล็กควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ รุ่น G3 230 V

แบบ กำลังไฟฟ้า กำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟเป็น kVAr ต่อชุด ขนาดมิลลิเมตร
  รีแอกทีฟ kVAr-230 V ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 ยาว x ลึก สูง
G3-12.5 12.5 2.5 5 5 350 x 255 600
G3-17.5 17.5 2.5 5 10 350 x 255 600
G3-25 25 5 10 10 350 x 255 600

คาปาซิเตอร์ขนาดเล็กควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ รุ่น G3 400 V

แบบ กำลังไฟฟ้า กำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟ เป็น kVAr ต่อชุด ขนาดมิลลิเมตร
  รีแอกทีฟ kVAr-230 V ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 ยาว x ลึก สูง
G3-12.5 12.5 2.5 5 5 350 x 255 600
G3-17.5 17.5 2.5 5 10 350 x 255 600
G3-25 25 5 10 10 350 x 255 600
G3-31 31 6 12.5 12.5 350 x 255 600
G3-43.5 43.5 6 12.5 25 350 x 255 600
G3-50 49.5 6 18.5 25 350 x 255 600

<4D6963726F736F667420576F7264202D2030332E20A1D2C3BBC3D1BABBC3D8A

3.  จำนวนชุดของคาปาซิเตอร์   การต่อคาปาซิเตอร์เป็นชุดๆ เข้ากับระบบเพื่อแก้ปัญหาตัวประกอบกำลังไฟฟ้าให้มีค่าคงที่มากที่สุดนั้น ต้องพิจารณาถึงแรงดันไฟฟ้าที่จะเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่มีการต่อคาปาซิเตอร์เข้าไปหรือออกจากระบบ การที่แรงดันไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงมีผลต่อระดับความสว่างที่อาจรบกวนสายตา ในการวิจัยปรากฏว่าแรงดันที่เปลี่ยนแปลงสูงสุด 0.3 เปอร์เซ็นต์ จะไม่มีผลต่อสายตา ดังนั้นขนาดคาปาซิเตอร์แต่ละชุดสามารถหาได้จากสมการ

capture-20151112-113157

%zk  คือ  เปอร์เซ็นต์อิมพีแดนซ์หม้อแปลง

 

ตัวอย่างที่  3           หม้อแปลง 100 kVA 6 เปอร์เซ็นต์อิมพีแดนซ์ จงหาขนาดคาปาซิเตอร์แต่ละชุด

วิธีทำ

capture-20151112-113305

4.  ความไว   การต่อคาปาซิเตอร์เข้ากับระบบไฟฟ้า ตัวประกอบกำลังไฟฟ้าในระบบ ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ถ้าความไวของระบบสูงมากจะทำให้การต่อเข้าและตัดออกของคาปาซิเตอร์ในระบบเป็นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจำเป็นต้องหน่วงกระแสคาปาซิเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อย  ของกระแสคาปาซิเตอร์แต่ละชุดสำหรับปุ่มที่ใช้ปรับคือ  c/k

capture-20151111-102650

กำหนดให้  E  คือ  แรงดันไฟฟ้า

k  คือ  ทรานส์ฟอเมอร์เรโซ

ตัวอย่างที่ 4   จากตัวอย่างที่ 3  คาปาซิเตอร์แต่ละชุด  50 kVAr ที่แรงดัน 400 V 3 เฟส  ถ้าใช้หม้อแปลง กระแส (CT)   ขนาด 1500/5  A  จงหาขนาดการปรับความไว

วิธีทำ

ในสมการจะได้

capture-20151111-102937

การควบคุมคาปาซิเตอร์ด้วยคอนแทคเตอร์ 3

รูปที่ 15 การปรับขนาดความไวต่อคาปาซิเตอร์

ตารางที่  9  แสดงค่า c/k สำหรับคาปาซิเตอร์แต่ละชุด ที่แรงดัน 230 V และ 400 V

KVAr 230V 6.6   10   13.3   20   26   30   40
kVAr 400 V   10   20   30   40   50   60  
C T K                          
50/5 10 1 0.90
100/5 20 0.52 0.45 0.78 0.90 1
150/5 30 0.34 0.30 0.52 0.60 0.69 0.90 1
200/5 40 0.26 0.23 0.39 0.45 0.52 0.68 0.78 0.90 1
300/5 60 0.17 0.15 0.26 0.30 0.35 0.45 0.52 0.60 0.68 0.75 0.78 0.9 1
400/5 80 0.13 0.11 0.20 0.23 0.26 0.34 0.39 0.45 0.51 0.56 0.59 0.68 0.78
500/5 100 0.10 0.16 0.18 0.21 0.27 0.31 0.36 0.41 0.45 0.47 0.54 0.63
600/5 120 0.13 0.15 0.17 0.13 0.26 0.30 0.34 0.38 0.39 0.45 0.52
800/5 160 0.10 0.11 0.13 0.17 0.20 0.23 0.25 0.28 0.29 0.34 0.39
1000/5 200 0.10 0.14 0.16 0.18 0.20 0.23 0.25 0.27 0.31
1500/5 300 0.10 0.12 0.14 0.15 0.16 0.18 0.21
2000/5 400 0.10 0.11 0.12 0.14 0.16
3000/5 600 0.10

ความต้านทานคายประจุ ว.ส.ท. 408 การติดตั้งคาปาซิเตอร์ในวงจรไฟฟ้าจำเป็นต้องจัดให้มีการคายประจุของคาปาซิเตอร์เมื่อถูกปลดออกจากวงจรไฟฟ้า ดังรูปที่ 15

capture-20151112-113624

รูปที่ 16  ความต้านทานคายประจุของคาปาซิเตอร์

ระบบแรงดันไม่เกิน 600 V  การคายประจุต้องลดลงเหลือ 50 V ในเวลา  1 นาที (60 วินาที)ระบบแรงดันไม่เกิน 600 V  การคายประจุต้องลดลงเหลือ 50 V ในเวลา  5 นาที (300 วินาที)สำหรับขนาดความต้านทานคายประจุหาได้จากสมการcapture-20151111-110304ตามมาตรฐาน IEC No.70 คาปาซิเตอร์สามารถรับแรงดันไม่เกิน 1.1 เท่าของแรงดันปกติเมื่อแรงดันไม่เกิน 600 V

capture-20151112-113726

ตัวอย่างที่ 5            จากตัวอย่างที่ 4 คาปาซิเตอร์แต่ละชุด 50 kVAr   415 V   3 เฟส  50 Hz   จงหาขนาด ความต้านทานคายประจุ

วิธีทำ

<4D6963726F736F667420576F7264202D2030332E20A1D2C3BBC3D1BABBC3D8A

 

ขนาดตัวนำและอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินคาปาซิเตอร์  ขนาดตัวนำและอุปกรณ์    ป้องกันกระแสเกินมีขนาดไม่ต่ำกว่าตารางที่ 10

ตารางที่ 10  ขนาดตัวนำและอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินคาปาซิเตอร์

อุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวคูณพิกัด ค่ากระแสสมมูลต่อ kVAr
  กระแสคาปาซิเตอร์ 240 V 400 V 415 V
ตัวนำไฟฟ้า 1.35 3.25 1.95 1.88
ตัดตอนอัตโนมัติ 1.35 3.25 1.95 1.88
คอนแทคเตอร์ 1.5 3.61 2.17 2.09
เครื่องปลดวงจร 1.35 3.25 1.95 1.88
เซฟตี้สวิตซ์ (ฟิวส์) 1.65 3.98 2.38 2.30

ตัวอย่างที่ 6 จากตัวอย่างที่ 9 และ 10  ขนาดคาปาซิเตอร์ 500 kVAr 10 ชุด ชุดละ  50 kVAr  3 เฟส  400 V จงหาขนาดสาย อุปกรณ์ตัดตอนอัตโนมัติ และคอนแทคเตอร์ ดังรูปที่ 1.44

วิธีทำ

ขนาดตัวนำไฟฟ้า

คาปาซิเตอร์แต่ละชุด  50  kVAr

ขนาดตัวนำ            =              1.95 x 50               =              97.5        A

ในตารางเทียบขนาดสายไฟ เลือกใช้สายขนาด  35  mm2  75 ํC

คาปาซิเตอร์ทั้งระบบ  500 kVAr

ขนาดตัวนำ            =              1.95 x 500             =              975         A

ในตารางเทียบขนาดสายไฟ เลือกใช้สายขนาด  240  mm2  จำนวน  3  ชุด (325 x 3 = 975 A)

capture-20151112-134220รูปที่  17  ขนาดสายและตัดตอนอัตโนมัติป้องกันคาปาซิเตอร์

อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน

คาปาซิเตอร์แต่ละชุด  500 kVAr

ขนาดฟิวส์                                        =              2.38 x 50               =              119         A

เลือกฟิวส์ขนาด  125  A

คาปาซิเตอร์ทั้งระบบ   500 kVAr

ขนาด CB                                           =              1.95 x 500             =              975         A

เลือกขนาด CB  1000 AT

ขนาดแมกเนติกคอนแทคเตอร์

ขนาดคอนแทคเตอร์แต่ละชุด             =              2.17 x 50               =              109         A             ตอบ

เรโซแนนซ์และฮาร์โมนิก  ในกรณีปัญาของฮาร์โมนิกไม่ค่อยมีผลต่อคาปาซิเตอร์   เนื่องมาจากคาปาซิเตอร์ที่ผลิตสามารถทนแรงดันไฟฟ้าที่เกินและรับกำลังเกินอัตราพิกัดได้บ้าง  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากฮาร์โมนิกและมีผลเสียต่อระบบอย่างมากก็ต่อเมื่อมีเรโซแนนซ์เกิดขึ้น  สำหรับแหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดฮาร์โมนิกได้แก่ อุปกรณ์ที่มีการอิ่มตัวของแกนเหล็กวงจรเรียงกระแส และเตาเผาแบบอาร์ก และฮาร์โมนิกที่จะทำให้เกิดเรโซแนนซ์ขึ้นคือฮาร์โมนิกที่  5  7  11  13  17  19  23  25 ... แหล่งกำเนิด   ดังกล่าวนี้จะไม่ทำให้เกิดฮาร์โมนิกคู่คือ   2  4  6  8  10  12  14 ...  จึงไม่ทำให้เกิดเรโซแนนซ์

สำหรับระบบที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเรโซแนนซ์และฮาร์โมนิกควรต้องปรึกษาวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ปัญหาได้ถูกต้อง เหมาะสมกับระบบและมีความปลอดภัยในการทำงาน

ข้อควรระวังในการใช้คาปาซิเตอร์

-  อย่าลืมว่าเมื่อติดตั้งคาปาซิเตอร์เข้าไปที่จุดใดแล้ว แรงดันไฟฟ้าที่จุดนั้นจะมีค่าสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการเลือกขนาดพิกัดแรงดันของคาปาซิเตอร์จะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย

-  จุดที่จะติดตั้งคาปาซิเตอร์ควรจะมีการระบายความร้อนดีพอสมควร เพราะความร้อนยิ่งสูงจะทำให้อายุใช้งานของคาปาซิเตอร์ยิ่งสั้นลง

-  การติดตั้งคาปาซิเตอร์เข้ากับมอเตอร์โดยตรง  ต้องเลือกคาปาซิเตอร์ให้มีขนาด      เหมาะสม และต้องดำเนินการติดตั้งให้ถูกวิธี  มิฉะนั้นมอเตอร์จะเสียหายได้

-  ถ้าจะติดตั้งคาปาซิเตอร์แบงค์ควรใช้แบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อป้องกันอันตรายจากแรงดันเกินที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการต่อคาปาซิเตอร์เข้าไปในระบบมากเกินไป

-  อุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่าง เช่น วงจรเรียงกระแสและเตาเผาแบบอาร์กจะสร้างฮาร์โมนิกเข้าไปในระบบ ดังรูปที่ 18   เมื่อต้องการติดตั้งคาปาซิเตอร์ก็ต้องระวังปัญหาที่อาจจะเกิดจากฮาร์โมนิกเรโซแนนซ์จะทำให้คาปาซิเตอร์เสียหายทันที   ในกรณีนี้ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญช่วยออกแบบชุด    คาปาซิเตอร์พร้อมอุปกรณ์ป้องกันขึ้นเป็นพิเศษสำหรับระบบนั้น

capture-20151112-134309รูปที่ 18 การเกิดฮาร์โมนิกทั้งแรงดันและกระแสปะปนอยู่ในรูปคลื่นไซน์

 

การวิเคราะห์ทางการเงินสำหรับการปรับปรุงค่า PF

การคำนวณหาผลของการประหยัดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจในการลงทุนติดตั้งคาปาซิเตอร์ในระบบไฟฟ้าของโรงงาน/ อาคาร  วิธีการนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์ถึงผลกำไรที่โรงงาน/ อาคารจะได้รับ  ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากวิธีที่ปรากฏในตำราเศรษฐศาสตร์บางเล่มบ้าง  แต่ก็ได้ยึดหลักปฏิบัติที่นิยมใช้อยู่ในกิจการไฟฟ้าต่างๆ

capture-20151112-134419

ตัวอย่างที่ 7   โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งจ่ายโหลด 3 เฟส ต่อแบบ Y  มีโหลดทั้งสิ้น 2,000 kW มี PF เป็น 0.65 ล้าหลัง  ถ้าต้องการแก้ไข PF เป็น 0.90 ล้าหลัง โรงงานจะต้องลงทุนเท่าไร และจะประหยัดเงินในการซื้อพลังงานไฟฟ้าเท่าไร   ถ้าราคาคาปาซิเตอร์บวกค่าติดตั้งกิโลวาร์ ละ 350 บาท เสียดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 7   อายุการใช้งานของคาปาซิเตอร์ 20 ปี

วิธีทำ

การคำนวณหาค่ากิโลวาร์ ที่จะต้องนำมาต่อเข้ากับระบบสามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

capture-20151111-114816

ดังนั้นผลต่างก็คือค่าของคาปาซิเตอร์ที่จะต้องใช้ เท่ากับ 2338. 2-968. 64 = 1369. 6 kVAr ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ในรูปที่ 19

 

powerfacter

รูปที่ 19  ความสัมพันธ์ของระบบที่ค่า PF = 0.65 และ ค่า PF = 0.9

 

capture-20151112-141015

2999999

 


ที่มา : คู่มือการฝึกอบรมผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาสุโส. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

 

ienergyguru.com

การปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์

(Power factor improvement)

2 Reviews

1
5

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *