วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา

๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓)

วันมาฆะบูชา

ที่มา: www.aecnews.co.th

วันมาฆบูชามาจากคำว่า "มาฆปุรณมี" หมายถึงการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ยังถือว่าเป็น “วันจาตุรงคสันนิบาต” แปลว่า การประชุมประกอบด้วยองค์ ๔  คือ

๑. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปที่จาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยไม่ได้นัดหมาย

๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปเหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา ๖

๓. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็น เอหิภิกขุ ที่พระพุทธเจ้าอุปสมบทให้โดยตรง เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา มาประชุม

๔. ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนาอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์

เนื้อหาสำคัญของโอวาทปาติโมกข์

เพื่อกำหนดจุดหมาย หลักการ และวิธีการ การเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันต์สาวกและพุทธศาสนิกชน

๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน

๒. การไม่ทำความชั่วทุกประการ ทั้งทางกายวาจาและทางใจ ทำความดีทั้งทางกายวาจาและใจ  ชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ

๓. การที่จะบรรลุเป้าหมาย ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริยมรรคองค์ ๘ คือ  พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ และ ราคะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่

กิจกรรมวันมาฆบูชา

- ทำบุญตักบาตรไหว้พระสวดมนต์ทำจิตใจให้สะอาด ผ่องใส

- เข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ เดินจงกลม ฟังพระธรรมเทศนา  พัฒนาวัดให้สะอาดถือว่าท่านได้บำรุงพระพุทธศาสนา

- นำดอกไม้ ธูปเทียนไปวัดเพื่อประกอบพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ รอบเจดีย์ เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าหลักธรรมคำสอน

- ประดับธงชาติและธงเสมาธรรมจักรที่หน่วยงานต่างๆ และบ้านเรือน

หลักธรรมที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปควรประพฤติปฏิบัติ

หลักการ ๓

๑. การไม่ทำบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ เป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ

๒. การสร้างกุศลให้พร้อม ได้แก่ การทำความดี ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐  อย่าง เป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ

๓. การทำจิตของตนให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ขัดขวางจิต ไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่

  • ๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
  • ๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
  • ๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
  • ๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ)
  • ๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา)

อุดมการณ์ ๔

๑. ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจาใจ

๒. การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น

๓. ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

๔. การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคองค์ ๘

วิธีการ ๖

๑. ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร

๒. ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

๓. ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม    ประเพณีอันดีของสังคม

๔. รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ

๕. อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

๖. ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพที่ดี

วันมาฆะบูชา

ที่มา: www.news.hunsa.com, www.innnews.co.th,  www.baanpootmontha.com,

www.weekendhobby.com, www.med.cmu.ac.th

 

เรียบเรียงโดย: เข็มราช อินทร์ชน (ทีมงาน iEnergyGuru)

 

Bibliography

blog.eduzones.com. (NA). หลักธรรมวันมาฆบูชาที่ควรนำไปปฏิบัติ. Retrieved from https://blog.eduzones.com/racchachoengsao/17847: https://blog.eduzones.com/racchachoengsao/17847

dhammathai.org. (NA). วันมาฆบูชา. Retrieved from http://www.dhammathai.org/: http://www.dhammathai.org/day/maka.php

larnbuddhism.com. (NA). วันสำคัญทางพุทธศาสนา. Retrieved from www.larnbuddhism.com: http://www.larnbuddhism.com/puttaprawat/day/maka.html

learntripitaka.com. (NA). มาฆบูชา. Retrieved from http://www.learntripitaka.com/: http://www.learntripitaka.com/History/MakhaBucha.html#Meeting

lib.ru.ac.th. (2011, July 05). ประวัติวันมาฆบูชา. Retrieved from http://www.lib.ru.ac.th/: http://www.lib.ru.ac.th/journal/mar/mar_maka01.html

wikipedia.org. (2015, June 21). วันมาฆบูชา. Retrieved from https://th.wikipedia.org: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2

iEnergyGuru-Blue

วันมาฆบูชา ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓)

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *