13-15 เมษายน: วันสงกรานต์

วันสงกรานต์

13-15 เมษายน

วันสงกรานต์

พอเรานึกถึงวันสงกรานต์ เราจะก็นึกถึงการสาดน้ำ เล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน แต่จริงๆ แล้ววันสงกรานต์มีประวัติความเป็นมา และกิจกรรมต่างๆ นอกจากการเล่นน้ำอีกมากมาย วันนี้ iEnergyGuru จะพาทุกท่าน ไปรู้ถึงประวัติ และกิจกรรมต่างๆ ในวันสงกรานต์กันครับ

ประวัติความเป็นมาของวันสงกรานต์

คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า “สํ-กรานต” แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการเคลื่อนที่ย้ายที่ ซึ่งหมายถึงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุก ๆ เดือน เรียกว่า สงกรานต์เดือน ยกเว้นเมื่อย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นสงกรานต์ปี จะเรียกชื่อพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่โดยวิธีนับทางสุริยคติ (วิธีนับวันและเดือนโดยถือกำหนดตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก) ดังนั้นการกำหนดนับวันสงกรานต์จึงตกอยู่ในระหว่างวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ซึ่งทั้ง 3 วันจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้ คือ

  • วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า มหาสงกรานต์ หมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ผ่านการเข้าสู่ราศีอื่นๆ แล้ว ครบ ๑๒ เดือน
  • วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา หมายถึง การที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าอยู่ราศีเมษประจำที่เรียบร้อยแล้ว
  • วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก หรือวันขึ้นศกคือวันที่เริ่มเปลี่ยนจุลศักราชใหม่การที่ กำหนดให้ อยู่ในวันนี้นั้นเพื่อให้แน่ใจได้ว่าดวงอาทิตย์ โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษแน่นอนแล้วอย่างน้อย 1 องศา

ประเพณีสงกรานต์ได้สืบทอดมาแต่สมัยโบราณคู่กับประเพณีตรุษ (ปีใหม่ไทย) หรือในอดีตเรียกว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของคนไทยในอดีต แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ จนต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นสากลคือวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี แต่ถึงอย่างไร ก็ยังมีคนที่คุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยร่วมด้วย

 

ความสำคัญของวันสงกรานต์

วันสงกรานต์ ถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย เพราะวันนี้ เป็นวันฉลองการขึ้นปีใหม่ไทย ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน และ ยังเป็นวันที่ครอบครัวจะได้อยู่พร้อมหน้า เนื่องจากหลายๆ ครอบครัว ที่มีลูกหลานที่ไปทำงานในต่างจังหวัด ก็จะได้ใช้โอกาสนี้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง และร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งกิจกรรมในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการเล่นน้ำสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หรือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม ทั้งการขนทรายเข้าวัด ทำบุญ ทำทาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ได้เสริมสร้างคุณค่า และความสำคัญของวันสงกรานต์ ให้ทวีคูณยิ่งขึ้น และส่งผลให้วันสงกรานต์ เป็นวันที่มีคุณค่า และความหมายต่อหลาย ๆ คน

 

กิจกรรมในวันสงกรานต์

ทำบุญตักบาตร วันมหาสงกรานต์ ประชาชนจะลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อที่จะจัดเตรียมอาหาร ไปตักบาตรถวายพระ พอจัดเตรียมอาหารเสร็จก็จะ บรรจงลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามที่สวยงาม แล้วเอาวางเรียงลงในถาด เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน เรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงามมิดชิดเหมาะแก่การไปวัดของชาวบ้าน

ก่อพระเจดีย์ทราย ในสมัยก่อนทีเรื่องเล่าขานกันว่าทุกคนเมื่อเข้าวัดมาแล้วเวลาเดินออกจากวัดจะ มีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วยเพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการเติมเต็มจึงมีการขนทราย เข้าวัดหรือการก่อพระเจดีย์ทรายนั้นเองแต่ถึงอย่างไรแล้วการก่อพระเจดีย์ ทรายก็เป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำเพราะตอน เย็นๆชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำแล้วขนทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อ เป็นพระเจดีย์นั่นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านมีความสามัคคี กรมเกลียวเพราะเมื่อขนทรายเข้าวัดแล้วทรายก็จะล้นวัดพระสงฆ์ก็จะนำทรายที่ ชาวบ้านขนมานำไปคืนสู่แม่น้ำดังเดิมเพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไรเพราะฉะนั้น แล้วเวลาขนทรายเข้าวัดควรจะขนเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นพอเพราะจะสร้างความ ลำบากให้พระเณรในภายหลัง

สรงน้ำ รดน้ำ และเล่นน้ำ การสรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปี ใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำ มาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี

13-15-เมษายน-วันสงกรานต์

และนี้ก็คือประวัติความเป็นมาและกิจกรรมต่างๆ ที่ทำกันในช่วงวันสงกรานต์ ดังนั้นใครที่จะเดินทางกลับบ้านในช่วงวันสงกรานต์ พวกเราทีมงาน iEnergyGuru ก็ขอให้เดินทางปลอดภัย สนุกกับการเล่นน้ำ และอย่าลืมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ตามประเพณีไทยกันด้วยนะครับ


 

Bibliography

culture.go.th. (NA). 13-15 เมษายน - วันสงกรานต์. Retrieved from http://www.culture.go.th: http://goo.gl/QYVVdA
myhora.com. (2014, April 14). การแต่งกายของวัยรุ่นในวันสงกรานต์. Retrieved from http://www.myhora.com: http://goo.gl/eFuzOR
prapayneethai.com. (NA). ประเพณีสงกรานต์. Retrieved from http://www.prapayneethai.com: http://goo.gl/ODWuud
rd.go.th. (NA). กิจกรรมวันสงกรานต์. Retrieved from http://www.rd.go.th: http://goo.gl/Y43q4K
thaihealth.or.th. (2014, March 28). 5 สิ่งที่คนไทย ‘ควร-ไม่ควรทำ’ วันสงกรานต์. Retrieved from http://www.thaihealth.or.th: http://goo.gl/pZaM1W
vcharkarn.com. (2008, APRIL 13). ประวัติ ตำนานวันสงกรานต์. Retrieved from www.vcharkarn.com: http://www.vcharkarn.com/varticle/36247
wikipedia.org. (2007, January 11). สงกรานต์. Retrieved from https://th.wikipedia.org: https://goo.gl/GzJHTd

iEnergyGuru-Blue

วันสงกรานต์ 13-15 เมษายน

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *