ISO 50006:2014 แนวคิดการวัดสมรรถนะด้านพลังงาน
ISO 50006:2014
แนวคิดการวัดสมรรถนะด้านพลังงาน
เมื่อช่วงปลายปี 2014 คณะทำงานด้านเทคนิค ISO/TC 242 Energy Management ขององค์กรว่าด้วยการมาตรฐาน(ISO) ได้ออกประกาศใช้มาตรฐานด้านการจัดการพลังงาน ISO 50006 “ว่าด้วยการวัดสมรรถนะด้านพลังงานโดยใช้ข้อมูลฐานด้านพลังงาน (EnBs) และตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน(EnPIs)-หลักการทั่วไปและคำแนะนำ” เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2014 (Energy management systems — Measuring energy performance using energy baselines (EnB) and energy performance indicators (EnPI) — General principles and guidance, First edition 2014-12-15) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อแนะนำแก่องค์กรในการให้บรรลุความต้องการของมาตรฐานการจัดการ ISO 50001 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ การใช้งาน และการคงรักษาไว้ ของดัชนีวัดสมรรถนะด้านพลังงาน(Energy Performance Indicators; EnPIs) และข้อมูลฐานด้านพลังงาน (Energy Baseline ; EnBs) ในการใช้วัดสมรรถนะด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสมรรถนะพลังงาน
องค์กรที่ดำเนินการจัดการพลังงานตามมาตรฐาน ISO 50001 ต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการด้านสมรรถนะด้านพลังงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการวางแผนด้านพลังงาน(Energy planning) ในระบบการจัดการพลังงาน องค์กรควรจะพิจารณาเป้าหมายด้านสมรรถนะพลังงานที่มีความเฉพาะ ขณะเดียวกันได้ดำเนินการบ่งชี้และออกแบบค่า EnPIs และ EnBs โดยความสัมพันธ์ของ EnPIs, EnBs และ เป้าหมายด้านพลังงาน แสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่าง EnPIs, EnBs และเป้าหมายด้านพลังงาน
การทำความเข้าใจมาตรฐาน ISO 50006 มีความสำคัญอย่างมากต่อการนำไปใช้เป็นเครื่องในการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานขององค์กรให้ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยในข้อกำหนดของระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001:2011 ข้อที่ 4.4.5 ดัชนีชี้วัดสมรรถนะพลังงาน (Energy Performance Indicators) ได้กำหนดให้สถานประกอบการที่จัดทำระบบการจัดการพลังงานจะต้องกำหนดตัวชี้วัดสมรรถนะพลังงานขององค์ซึ่งต้องเป็นค่าที่แสดงปริมาณได้ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบสมรรถนะด้านพลังงานขององค์กร โดยได้มีข้อแนะนำในการดำเนินการกำหนดดัชนีชี้วัดสมรรถนะพลังงานไว้ใน ISO 50006:2014 (ระบบการจัดการพลังงาน-การวัดสมรรถนะด้านพลังงานโดยใช้ข้อมูลฐานด้านพลังงาน (EnBs) และดัชนีชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน (EnPIs-หลักการทั่วไปและคำแนะนำ) ซึ่งมีรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติในส่วนที่สำคัญ 2 เรื่องดังนี้
1.การวัดสมรรถนะด้านพลังงาน (Measurement of energy performance)
1.1 ข้อมูลทั่วไป (General overview)
สมรรถนะด้านพลังงานคือปริมาณที่ได้จากผลของการวัดที่สัมพันธ์กับปริมาณการใช้พลังงาน ลักษณะการใช้พลังงานและประสิทธิภาพพลังงานตามแนบคิดของสมรรถนะด้านพลังงาน ในรูปที่ 2 และในการที่จะให้การวัดและการแสดงปริมาณอย่างมีประสิทธิผลองค์กรต้องจัดทำ EnPI และ EnB เพื่อใช้ในการวัดสมรรถนะพลังงานของทั้งองค์กร หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่ง EnB คือค่าเชิงปริมาณที่ใช้อ้างอิงในการเปรียบเทียบกับค่า EnPI ตลอดช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของสมรรถนะด้านพลังงาน
รูปที่ 2 แสดงแนวคิดสมรรถนะด้านพลังงาน
ผลของสมรรถนะพลังงานสามารถแสดงในรูปของหน่วยของปริมาณการใช้พลังงาน ( GJ, kWh) ดัชนีการใช้พลังงาน (SEC, kWh/kg) หรือ ความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด(kW) ความสัมพันธ์ระหว่าง EnPIs, EnBs และเป้าหมายด้านพลังงานแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่าง EnPIs, EnBs และเป้าหมายด้านพลังงาน
สมรรถนะด้านพลังงานอาจมีผลกระทบซึ่งเกิดจากปัจจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องเช่น ระดับของการใช้งาน อัตราผลลิต หรือ สภาพอากาศ ปัจจัยเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ เช่น คุณภาพของการผลิตและความน่าเชื่อถือของระบบ
ภาพรวมของกระบวนการในการพัฒนา การใช้งาน และการปรับปรุงให้มีความเป็นปัจจุบันของ EnPIs และ EnB แสดงในรูปที่ 4
รูปที่ 4 ภาพรวมการวัดสมรรถนะด้านพลังงาน
1.2 แสดงปริมาณการเปลี่ยนแปลงของสมรรถนะพลังงาน
การเปลี่ยนแปลงของสมรรถนะพลังงานสามาถคำนวณได้จาก หน่วยงาน ระบบ กระบวนการ และเครื่องจักรที่ได้กำหนด EnPIไว้แล้ว
การเปรียบเทียบสมรรถนะพลังงานระหว่างช่วงเวลาฐานและช่วงเวลารายงานผลเกี่ยวข้องกับการคำนวณผลต่างในการวัดค่าของ EnPI ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว รูปที่ 5 แสดงแนวคิดผลการเปรียบเทียบของ EnPI ในช่วงของเวลาฐานกับช่วงเวลารายงานผล
รูปที่ 5 แสดงแนวคิดของการเปรียเทียบของ EnPI ในช่วงของเวลาปีฐานกับช่วงเวลารายงานผล
ช่วงเวลาฐานและช่วงเวลารายงานผลควรจะมีความยาวนานเพียงพอเพื่อให้มั่นใจได้ว่าความแปรปรวนของการดำเนินการได้ถูกนับรวมเข้ามาไว้ในการกำหนด EnB และ EnPI โดยทั่วไปช่วงเวลาดังกล่าวควรมีระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งครอบคลุมฤดูกาลที่มีผลต่อการผลิตและตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
องค์กรอาจตัดสินใจจัดทำช่วงเวลาฐานขึ้นมาใหม่ได้หากพบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสมรรถนะพลังงาน เช่น การดำเนินการปรับปรุงด้านสมรรถนะพลังงานซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานในการพิสูจน์ผล องค์กรควรจะต้องแสดงปริมาณของสมรรถนะพลังงานในปัจจุบันอย่างต่อเนื่องหรือเป็นช่วงเวลาซึ่งสามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงของสมรรถนะพลังงาน ในช่วงของการรายงานผลกับช่วงเวลาฐาน
ในกรณีที่องค์กรได้ประเมินว่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องเช่น สภาพอากาศ ปริมาณการผลิต ชั่วโมงการใช้งานของอาคาร เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะด้านพลังงานอย่างมีนัยสำคัญ องค์กรจะต้องดำเนินการปรับปรุงข้อมูลฐานด้านพลังงานให้เป็นค่ามาตรฐาน(nomarization) เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบสมรรถนะด้านพลังงานภายใต้เงื่อนไขที่เท่าเทียมกัน และองค์กรควรจะกำหนดว่าจะวัดสมรรถนะด้านพลังงานอย่างไรดีที่สุด เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์
แปลและเรียบเรียงโดย วิชาญ นาคทอง (ทีมงาน iEnergyGuru)
Bibliography
Internal Standard, ISO 50006 Energy management systems — Measuring energy performance using energy baselines (EnB) and energy performance indicators (EnPI) — General principles and guidance, First edition 2014-12-15
Internal Standard, ISO 50001 Energy management systems — Requirements with Guidance for Use, First edition 2011-06-15
เป็นบทความที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการด้านพลังงานในโรงงานควบคุมมากครับ ขอบคุณผู้แปลและผู้เรียบเรียงมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ