วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันวิสาขบูชา

ความเป็นมาและความสำคัญของวันวิสาขบูชา

  วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน โดยคำว่า "วิสาขบูชา" ซึ่งย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ อย่าง เกิดขึ้นในวันเดียวกันคือ ประสูติ ตรัสรู้ธรรม และปรินิพพาน วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ ๘0 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ ๑ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา  โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ หรือเดือนวิสาขะทั้งสิ้น

ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน ๖ นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ ๕๔/๑๑๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

กิจกรรมวันวิสาขบูชา

  1. ทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
  2. จัดสำรับคาวหวานถวายภัตตาหารที่วัด
  3. ฟังพระธรรมเทศนา และปฎิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
  4. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญกุศล
  5. บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เช่น ล้างห้องน้ำวัด กวาดลานวัด เป็นต้น
  6. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  7. จัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชา เพื่อให้ความรู้และรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

ที่มา: http://goo.gl/fxxidM

หลักธรรมที่ควรนำมาปฎิบัติ

  1. ความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว่ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณ บิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นต้น
  2. อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคนมี ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  3. ความไม่ประมาท  คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูดและขณะคิด

Bibliography

dhammathai.org. (NA). วันวิสาขบูชา. Retrieved from http://www.dhammathai.org/: http://www.dhammathai.org/day/visaka.php

th.wikipedia.org. (2016, March 7). วันวิสาขบูชา. Retrieved from https://th.wikipedia.org: https://goo.gl/cTjkrk

tlcthai.com. (NA, NA NA). วันวิสาขบูชา 2558 ประวัติวันวิสาขบูชา. Retrieved from www.tlcthai.com: http://goo.gl/5LW1vD

tlcthai.com. (NA). วันวิสาขบูชา 2559 ประวัติวันวิสาขบูชา. Retrieved from http://www.tlcthai.com/: http://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4473.html


iEnergyGuru-Blue

วันวิสาขบูชา

๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *