6 ประเทศ มุ่งสู่พลังงานหมุนเวียน และการลดการปลดปล่อย CO2

6 ประเทศ มุ่งสู่พลังงานหมุนเวียน และการลดการปลดปล่อย CO2

พลังงานหมุนเวียน

 

ในปี 2015 โลกได้แสดงให้เห็นแรงขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยข้อตกลงเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ และกลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (a global sustainable development goal) มุ่งเน้นด้านพลังงาน ทำให้หลายประเทศได้เบนเข็มทิศมุ่งสู่พลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต ได้แก่ พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ และแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ มาดูกันว่า 6 ประเทศนี้เค้าพัฒนาพลังงานแบบยั่งยืนอย่างไรกันบ้าง

1. ประเทศโมรอคโค ได้สร้างการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่จากพลังงานแสงอาทิตย์ “solar superpower”ในแถบทะเลซาฮาร่า โดยสร้างสถานีผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก “the world’s largest concentrated solar power plants” ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้สำหรับประชาชนราว 1 ล้านคน ทำให้สามารถลดการพึ่งพาการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิสได้ถึง 2.5 ล้านตันน้ำมันดิบ

2. ประเทศบลังคลาเทศ จำนวนของบ้านที่ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์(Solar cell) ในบลังคลาเทศพุ่งสูงขึ้นกว่า 3.5 ล้านหลังคาเรือน ครอบคลุมผู้ใช้งานกว่า 18 ล้านคนในปัจจุบัน

3. ประเทศจีน จีนได้ปรับเปลี่ยนโรงเรียนกว่า 800 แห่ง ในกรุงปักกิ่งให้มาใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยการติดตั้ง Solar rooftop ครอบคลุมการใช้งานของกิจกรรมในการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ขนาด 100 เมกกะวัตต์ โครงการดังกล่าวนี้ยังมีส่วนส่งเสริมความตระหนักด้านพลังงานหมุนเวียนให้แก่เยาวชนของประเทศ และเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะนำจีนไปสู่เป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนตามข้อตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ COP 21

4. ประเทศแมกซิโก แมกซิโกได้มีความพยายามในการส่งเสริมด้านประสิทธิภาพพลังงานของแสงสว่างในครัวเรือนทั่วประเทศ โดยการส่งเสริมให้มีการใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงฟรีกว่า 23 ล้านหลอด จำนวนมากกว่า 5.5 ล้านครัวเรือน ทำให้ในแต่ละครอบครัวสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 18 % และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 1.4 ล้านตันต่อปี

5. ประเทศแทนซาเนีย แทนซาเนียในทวีปแอฟริกาตะวันออก เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม จากผลการศึกษาพบว่าศักยภาพด้านแหล่งพลังงานจากแสงอาทิตย์มีศักยภาพสูงเทียบเท่ากับประเทศสเปน และมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมสูงกว่ารัฐแคลิฟอร์เนียร์ของสหรัฐอเมริกา หนึ่งในโครงการที่ประสบผลสำเร็จแล้วคือ การสูบน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในชนบทกว่าร้อยแห่ง ซึ่งทำให้พื้นที่ชนบทของแทนซาเนียมีแหล่งน้ำใช้อย่างทั่วถึง

6. ประเทศตุรกี ตุรกีประสบความสำเร็จด้านการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน เริ่มตั้งแต่ปี 2001 ถึงปัจจุบัน ประเทศตุรกีมีการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้แล้วกว่า 16,000 เมกกะวัตต์ จากการลงทุนของภาคเอกชนทั้งพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน จากพลังงานลม จากพลังงานความร้อนใต้พิภพ และแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ

นอกจาก 6 ประเทศตัวอย่างนี้แล้วยังมีประเทศอื่น ๆ อีกที่ได้ดำเนินการส่งเสริมโครงการด้านการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีวัตุประสงค์เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานและลดการปลดปล่อย CO2 เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศเคนย่า และประเทศมองโกเลีย เป็นต้น

แหล่งที่มาของข้อมูล
Author: Andy Shuai Liu is an online communications producer with the World Bank focusing on issues related to the environment, energy and natural resources.

http://blogs.worldbank.org/energy/six-stories-show-renewable-energy-underpins-climate-friendly-future

https://www.weforum.org/agenda/2016/01/6-countries-leading-the-charge-towards-renewable-energy/

Image: A worker inspects solar panels at a solar Dunhuang, 950km (590 miles) northwest of Lanzhou, Gansu Province, China. REUTERS/Carlos Barria.

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *