งานวิจัยเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัม(Quantum Computing)ที่กำลังเป็นที่สนใจไปทั่วโลก

งานวิจัยเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัม(Quantum Computing)ที่กำลังเป็นที่สนใจไปทั่วโลก

คอมพิวเตอร์ควอนตัม

โครงการวิจัยคอมพิวเตอร์ควอนตัม QUANTOX โดยทีมนักวิจัย QUANTOX ใช้โปรแกรมกราฟฟิค 2D ที่มีการใช้ออกไซด์เป็นส่วนประกอบเพื่อพัฒนาระบบควอนตัมเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงกับเทคโนโลยียุคปัจจุบันได้อย่างไม่มีปัญหา

(ที่มาของรูปภาพ website : tek-think)

เราต่างเคยเห็นระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมในภาพยนต์วิทยาศาสตร์หลายต่อหลายปีที่ผ่าน ทว่าในปัจจุบันมีการคิดค้นวิทยาการคอมพิวเตอร์ควอนตัมขึ้นมาจริง ๆ โดยทุกเดือนจะมีการพัฒนาวิทยาการใหม่ ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้ต้นแบบของคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้ถูกสร้างขึ้นและได้รับการทดสอบซึ่งมีข้อมูลงานวิจัยล่าสุดดังนี้

Dr. Beena Kalisky จากภาควิชาฟิสิกส์ แห่ง Bar-Ilan University และสถาบันนาโนเทคโนโลยีและวัสดุขั้นสูง ได้ร่วมมือกับนักวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน และสวีเดน พวกเขากำลังดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมโดยใช้โปรแกรมกราฟฟิค 2D ที่มีการใช้ออกไซด์เป็นส่วนประกอบในการพัฒนา การวิจัยในครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก QuantERA ซึ่งเป็นกองทุนวิจัยยุโรปที่รวบรวม 31 หน่วยงานด้านเงินทุนวิจัยจาก 26 ประเทศและได้รับการประสานงานโดยศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งชาติของประเทศโปแลนด์และสำนักงานนวัตกรรมแห่งอิสราเอล การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทั่วโลกกำลังจับตามองและเป็นที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งมีหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ให้การสนับสนุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาโครงการ เช่น Microsoft, Bell Labs, IBM และ Google เป็นต้น ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสมรรถนะของคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ ดังนั้นการพัฒนาจึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่ระบบหน่วยความจำพื้นฐาน ข้อมูลคิวบิต และการใช้เทคโนโลยีความปลอดภัย การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างมาก ทว่าประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแสนจะคุ้มค่า นั่นเพราะระบบการประมวลผลที่มีความเร็วมากขึ้นมหาศาลและยังสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ด้วย ส่งผลให้มีผู้สนับสนุนและลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้จำนวนมาก

กระบวนการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายและมีความซับซ้อนมาก ซึ่งความท้าทายที่ทีมผู้วิจัยพบคือข้อจำกัดทางเทคโนโลยีด้านการวัดและประเมินผลระบบการวิ่งของกระแสไฟฟ้าแบบ 2D ที่มีความละเอียดสูง โดย Dr. Beena Kalisky ได้พัฒนาระบบเซ็นเซอร์ความไวสูงเพื่อวัดค่าของสนามแม่เหล็กและนำมาใช้หาจุดพิกัดในสนามแม่เหล็กขนาดเล็กที่สร้างขึ้นจากอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งหรือจากกระแสไฟฟ้าปริมาณต่ำ ซึ่งการพัฒนาในครั้งนี้ดำเนินการในห้องปฏิบัติการเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีความทันสมัยเลยของ Dr. Beena และทางทีมผู้วิจัยยินดีอย่างยิ่งที่จะรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์หรือคำแนะนำเพื่อการพัฒนาต่อไป แม้กระบวนการพัฒนายังไม่ดำเนินไปถึงขั้นตอนที่ซับซ้อนที่สุดคือ การเชื่อมโยงเซลล์ความจำกับระบบต่าง ๆ ดังนั้น กระบวนการวิจัยและพัฒนายังคงต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเกิดขึ้นได้จริงในเร็ววัน

นอกจากนี้ Dr. Beena Kalisky ยังกล่าวเสริมอีกว่า “เครื่องมือถ่ายภาพความเร็วสูงที่เราใช้ในห้องปฏิบัติการนั้นมีประโยชน์มากในการวิจัยและพัฒนาในแต่ละขั้นตอน โดยเฉพาะการวิจัยที่ดำเนินการในห้องที่มีอุณหภูมิเย็นยะเยือก ซึ่งการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมให้ใช้งานได้จะต้องดำเนินการในห้องที่มีอุณหภูมิเท่ากับศูนย์และอุปกรณ์ดังกล่าวก็ถูกนำมาใช้ในขั้นตอนนี้”

โดยข้อตกลงในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ซึ่งปฏิบัติการโดยบริษัท Birad – Research & Development จำกัด แห่งมหาวิทยาลัย Bar-Ilan นั่นเอง

คอมพิวเตอร์ควอนตัม

ที่มาของรูปภาพ website : tek-think

เรียบเรียงโดย นาย ศาสตร์ณุพล วิเชียรกัลยารัตย์ ทีมงาน iEnergy Guru

เอกสารอ้างอิง

https://tek-think.com/quantum-computing-research-expanding-around-the-world/1442

https://www.sciencedaily.com/terms/quantum_computer.htm

http://news.mit.edu/2017/toward-optical-quantum-computing-0616

งานวิจัยเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัม(Quantum Computing)ที่กำลังเป็นที่สนใจไปทั่วโลก

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *